สวัสดีค่ะ ผู้อ่านที่กำลังมองหาบ้านหรือคอนโดกันอยู่ ในบทความนี้เราจะขอรวบรวมทุกบทความรวมคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสถานีต่างๆที่ทาง ThinkofLiving เคยเขียน รวมเอาไว้ที่โพสนี้โพสเดียว โดยเราจะขอ Focus ที่คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายที่เปิดใช้บริการอยู่ในปัจจุบันเป็นหลักนะคะ ซึ่งบางสถานีอาจจะเป็นบทความที่เก่าสักหน่อย แต่ถ้าใครอยากให้เข้าไปอัปเดตที่สถานีไหน หรือสถานีไหนที่ทางเรายังไม่ได้ทำบทความก็ comment บอกกันเอาไว้ได้เลยค่ะ ใครสนใจหาคอนโดสถานีไหน คลิกที่ชื่อสถานีด้านล่างได้เลยค่ะ
คอนโดใกล้รถไฟฟ้าที่เรารวมเอาไว้ให้ในบทความนี้ เราจะขอแยกตามสายรถไฟฟ้าที่เปิดใช้งานในปัจจุบันแล้วเป็นหลักนะคะ มีทั้ง BTS (สายสีเขียว,สายสีทอง) MRT (สายสีม่วง,สายสีน้ำเงิน) และ Airport Rail Link (สายสีแดง)
ถ้าดูจากแนวรถไฟฟ้าต่างๆจะเห็นได้ว่าปัจจุบันก็เริ่มมีการขยายตัวของแนวรถไฟฟ้าไปยังแถบชานเมืองมากขึ้น ทั้งบางนา-สุวรรณภูมิ , ปากน้ำ-สมุทรปราการ , บางแค-พระราม 2 , บางใหญ่-นนทบุรี หรือว่า รังสิต-ปทุมธานี ปัจจุบันรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวก็เปิดใช้บริการไปถึงคูคตแล้ว ทำให้คนที่เดิมอยู่แถวชานเมือง ก็สามารถเดินทางมาทำงานในเมืองได้สะดวกขึ้น เวลาเลือกซื้อบ้านหรือคอนโด ก็มองหาที่อยู่อาศัยที่ใกล้กับรถไฟฟ้า ก็ถือว่าเป็นทำเลที่มีศักยภาพในการพัฒนาที่ดีกว่าโซนที่ห่างไกลรถไฟฟ้านั่นเองค่ะ และในอนาคตก็ยังมีแผนการเปิดใช้งานรถไฟฟ้าอีกหลายสายเพิ่มเติมอีกนะ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับรถไฟฟ้าเพิ่มเติม > รวมรถไฟฟ้า 13 สาย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รถไฟฟ้า BTS
BTS ถือว่าเป็นบริษัทแรกที่เริ่มดำเนินงานการให้บริการเกี่ยวกับรถไฟฟ้าของไทยก็ว่าได้ค่ะ โดยเปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ใน 2 เส้นทาง รวมทั้งสิ้น 23 สถานี และมีการทยอยขยายเส้นทางต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีทั้งหมด 2 เส้นทางหลัก 60 สถานีแล้วค่ะ
โดยรถไฟฟ้า BTS ที่เรามักจะเห็นส่วนใหญ่จะใช้เส้นสีเขียวเป็นหลักนะคะ แบ่งเรียกเป็น 2 สายหรือ 2 เส้นทางหลัก คือสายสุขุมวิท(สีเขียวอ่อน) และ สายสีลม(สีเขียวเข้ม) ซึ่งสายสุขุมวิทเองก็จะเปิดใช้งานตั้งแต่โซนคูคต(ฝั่งรังสิต) ผ่านสยาม ยาวลงมาถึงโซนปากน้ำ (ฝั่งสมุทรปราการ)เลย ส่วนสายสีลม จะเริ่มจากใจกลางเมืองอย่างสนามกีฬาแห่งชาติ(ใกล้สยาม) ผ่านสีลมและข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดยังบางหว้า รองรับการใช้งานของชาวฝั่งธนฯได้เป็นอย่างดีค่ะ
รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท สถานีหมอชิต – แบริ่ง
โซนแรกจะเป็นสถานีแรกเริ่มที่เปิดให้บริการเลยค่ะ เป็นเส้นที่เรามองว่ามีคอนโดเกิดขึ้นเยอะมาก และคอนโดที่เกาะถนนสุขุมวิทโซนในเมืองนี้ก็เรียกได้ว่าราคาที่ดินขึ้นแรงมาตลอดในรอบหลายปีที่ผ่านมาค่ะ
- สถานีหมอชิต (สถานี interchange) (update 2021)
- สถานีสะพานควาย (update 2019)
- สถานีอารีย์
- สถานีสนามเป้า
- สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (update 2021)
- สถานีพญาไท (สถานี interchange) (update 2021)
- สถานีราชเทวี (update 2020)
- สถานีสยาม (สถานี interchange)
- สถานีชิดลม
- สถานีเพลินจิต (update 2021)
- สถานีนานา (update 2021)
- สถานีอโศก (สถานี interchange) (update 2021)
- สถานีพร้อมพงษ์ (update 2020)
- สถานีทองหล่อ (update 2020)
- สถานีเอกมัย (update 2020)
- สถานีพระโขนง
- สถานีอ่อนนุช
– รวมคอนโดใกล้สถานีอ่อนนุช Part 1 ฝั่งสุขุมวิทเลขคี่ (ซอยอ่อนนุช) (update 2021)
– รวมคอนโดใกล้สถานีอ่อนนุช Part 2 ฝั่งสุขุมวิทเลขคู่ (ซอยสุขุมวิท 50) (update 2021) - สถานีบางจาก
- สถานีปุณณวิถี (update 2018)
- สถานีอุดมสุข (update 2018)
- สถานีบางนา (update 2019)
- สถานีแบริ่ง (update 2019)
อื่นๆ
รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท (ส่วนต่อขยาย) สถานีสำโรง – เคหะฯ
สำหรับส่วนต่อขยายนี้จะต่อเนื่องมาจากโซนบางนา โดยวิ่งเลียบถนนสุขุมวิทเป็นหลักเข้ามายังโซนสมุทรปราการ ทำให้ชาวสมุทรปราการหรือชาวปากน้ำ สามารถเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพฯได้ง่าย
- สถานีสำโรง (update 2018)
- สถานีปู่เจ้า (update 2018)
- สถานีช้างเอราวัณ (update 2018)
- สถานีโรงเรียนนายเรือ (update 2018)
- สถานีปากน้ำ
- สถานีศรีนครินทร์
- สถานีแพรกษา (update 2018)
- สถานีสายสวด
- สถานีเคหะฯ
รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท (ส่วนต่อขยาย) สถานีห้าแยกลาดพร้าว – คูคต
รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่เพิ่งเปิดใช้บริการเมื่อช่วงที่ผ่านมาจะเป็นโซนขึ้นไปทางเหนือหรือว่าไปทางฝั่งรังสิตนะคะ โดยรถไฟฟ้าสายนี้จะวิ่งเลียบไปกับถนนพหลโยธินเป็นหลักและไปสิ้นสุดที่สถานีคูคต (ส่วนอนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีแดงที่กำลังจะเปิดใช้งานเพิ่ม ซึ่งวิ่งไปทางตอนเหนือของกรุงเทพฯเช่นกัน แต่จะวิ่งเลียบถนนวิภาวดี-รังสิตเป็นหลักค่ะ)
ในโซนนี้ส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยที่เป็นคอนโดจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯตอนในอย่างสถานีห้าแยกลาดพร้าว หรือว่าสถานีใกล้มหาลัยอย่างม.เกษตรฯ ส่วนปลายสายอย่างสถานีคปอ. หรือสถานีคูคตพื้นที่แถบนี้ยังเป็นโซนที่มองหาบ้านที่ใกล้รถไฟฟ้าได้อยู่ค่ะ (ถ้าใครอยากอ่านบทความตามหาบ้าน อดใจรอกันอีกซักครู่นะคะ)
- สถานีห้าแยกลาดพร้าว (สถานี interchange) (update 2019)
- สถานีพหลโยธิน 24 (update 2019)
- สถานีรัชโยธิน (update 2019)
- สถานีเสนานิคม (update 2019)
- สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (update 2019)
- สถานีกรมป่าไม้
- สถานีบางบัว
- สถานีกรมทหารราบที่ 11
- สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
- สถานีพหลโยธิน 59
- สถานีสายหยุด
- สถานีสะพานใหม่
- สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
- สถานีแยกคปอ.
- สถานีคูคต
รถไฟฟ้า BTS สายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – บางหว้า
สำหรับ BTS สายสีลมนี้จะพาคุณเริ่มจากบริเวณสยาม(สนามกีฬาแห่งชาติ) วิ่งผ่านโซน CBD อย่างสีลมสาทร และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งธนฯค่ะ ทำให้รถไฟฟ้าแถวนี้มักจะมีคอนโดเกิดขึ้นเยอะเลย นอกจากรองรับชาวฝั่งธนฯที่อยากได้คอนโดใกล้รถไฟฟ้าแล้ว ก็ยังเป็นโซนที่คนทำงานย่านสีลม-สาทรมองหาคอนโดอยู่เพื่อเดินทางไปทำงานแบบสะดวกสบายค่ะ ซึ่งสถานียอดนิยมก็จะเป็นสถานีตลาดพลูที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างห้างและตลาดหนาแน่นกว่าสถานีอื่นๆ แต่ว่าในช่วงหลังๆมาก็จะมีสถานีอย่างกรุงธนบุรี ที่เรา interchange ไปเดิน icon siam ได้ง่าย หรือว่าสุดสายอย่างสถานีบางหว้า ที่ราคาคอนโดก็ยังไม่แรงมาก แถมเป็นสถานี interchange กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เผื่อจะเดินทางด้วย MRT ก็สะดวกดีค่ะ
- สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
- สถานีสยาม (สถานี interchange)
- สถานีราชดำริ
- สถานีศาลาแดง (สถานี interchange)
- สถานีช่องนนทรี
- สถานีเซนต์หลุยส์
- สถานีสุรศักดิ์
- สถานีสะพานตากสิน
- สถานีกรุงธนบุรี (สถานี interchange) (update 2020)
- สถานีวงเวียนใหญ่ (update 2020)
- สถานีโพธิ์นิมิตร (update 2020)
- สถานีตลาดพลู (update 2020)
- สถานีวุฒากาศ (update 2020)
- สถานีบางหว้า (สถานี interchange) (update 2020)
อื่นๆ
รถไฟฟ้า BTS สายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี – ประชาธิปก
สำหรับรถไฟฟ้า BTS สายสีทองนี้เป็นสายสั้นๆ เชื่อมจากสายสีเขียวหลักไปยังโซนเมืองเก่า ย่านคลองสาน – เจริญนคร ตรงนี้จะเป็นถนนที่เลียบไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีห้างใหญ่อย่าง icon siam ตั้งอยู่ค่ะ ส่วนคอนโดที่เกาะรถไฟฟ้าโซนนี้มักจะเป็นคอนโดที่มีความพิเศษคือได้วิวแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ดังนั้นคอนโดจึงมักจะอยู่ในระดับ luxury กันเยอะนะ
- สถานีกรุงธนบุรี (สถานี interchange) (update 2020)
- สถานีเจริญนคร (ไอคอนสยาม) (update 2020)
- สถานีคลองสาน (update 2020)
- สถานีประชาธิปก (อนาคต) (update 2020)
รถไฟฟ้า MRT
รถไฟฟ้า MRT (Metropolitan Rapid Transit) เป็นรถไฟฟ้าที่ดำเนินงานโดย BEM บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับรถไฟฟ้าและทางด่วนอีกเจ้าค่ะ เริ่มเปิดให้ใช้บริการตั้งแต่ปี 2004 โดยในช่วงแรกนั้นตัวสถานีมักจะอยู่ใต้ดินเป็นหลัก ส่วนใหญ่เราจึงเรียกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินค่ะ แต่ในช่วงหลังนั้นสถานีที่เป็นส่วนต่อขยายหรือว่าสายที่อยู่แถบชานเมืองตัวสถานีก็จะยกระดับลอยฟ้ามากขึ้นแล้วค่ะ
สำหรับรถไฟฟ้า MRT นั้น ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการ 2 สายหลักคือสายสีน้ำเงิน วิ่งบรรจบกันเป็นลูป(แต่ไม่ได้วิ่งวนกันนะ) และรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ขนส่งชาวนนทบุรีให้เดินทางเข้าใจกลางเมืองกรุงเทพฯได้ง่ายขึ้นค่ะ
รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีหัวลำโพง – บางซื่อ
ในโซนแรกเราขอเริ่มจาก Original MRT ที่เปิดใช้บริการก่อนเลยนะคะ เป็นช่วงที่ตัวสถานีอยู่ใต้ดินทั้งหมด เริ่มจากหัวลำโพงไปยังบางซื่อ โดยโซนนี้จะอยู่ค่อนไปในตัวเมืองเป็นหลักเลยค่ะ จึงมีหลายสถานีที่เป็นสถานี interchange ด้วย
- สถานีหัวลำโพง
- สถานีสามย่าน (update 2019)
- สถานีสีลม (สถานี interchange)
- สถานีลุมพินี
- สถานีคลองเตย
- สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- สถานีสุขุมวิท (สถานี interchange) (update 2021)
- สถานีเพชรบุรี (update 2019)
- สถานีพระราม 9 (update 2019)
- สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- สถานีห้วยขวาง (update 2021)
- สถานีสุทธิสาร (update 2021)
- สถานีรัชดาภิเษก (update 2021)
- สถานีลาดพร้าว (update 2021)
- สถานีพหลโยธิน (สถานี interchange) (update 2019)
- สถานีสวนจตุจักร (สถานี interchange) (update 2021)
- สถานีกำแพงเพชร (update 2019)
- สถานีบางซื่อ
บทความเพิ่มเติมอื่นๆ
รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน (ส่วนต่อขยาย) สถานีเตาปูน – ท่าพระ
สำหรับ MRT ส่วนต่อขยายนี้จะมาทางฝั่งเตาปูนซึ่งเป็นสถานีที่เปิดใช้ก่อน เพื่อรองรับการเปิดใช้งานกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงของชาวนนทบุรีค่ะ หลังจากนั้นก็เปิดใช้สถานีต่อๆมาที่วิ่งเลียบกับถนนจรัญสนิทวงศ์เป็นหลักแล้วไปสิ้นสุดที่ท่าพระ รถไฟฟ้าช่วงนี้เรามองว่ามีประโยชน์สำหรับชาวจรัญฯที่ต้องเดินทางไปเรียนหรือทำงานในเมืองเลยนะคะ ทำให้เดินทางได้ง่ายขึ้น เลี่ยงรถติด ประหยัดเวลาได้เยอะเลยค่ะ
- สถานีเตาปูน (สถานี interchange) (update 2019)
- สถานีบางโพ (update 2019)
- สถานีบางอ้อ (update 2019)
- สถานีบางพลัด (update 2019)
- สถานีสิรินธร (update 2019)
- สถานีบางยี่ขัน (update 2020)
- สถานีบางขุนนนท์ (update 2020)
- สถานีไฟฉาย (update 2019)
- สถานีจรัญฯ13 (update 2019)
- สถานีท่าพระ (update 2019)
รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน (ส่วนต่อขยาย) สถานีวัดมังกร – หลักสอง
อีกฝั่งหนึ่งต่อเนื่องมาจากสถานีหัวลำโพงก็จะมีส่วนต่อขยายจากวัดมังกรไปยังสถานีหลักสองค่ะ รถไฟฟ้าเส้นนี้วิ่งไปยังทางฝั่งบางแคเลย ช่วยให้ชาวบางแค หรือคนที่อยู่แถวพระราม 2 สามารถมาใช้งานรถไฟฟ้าได้ โดยจะมีจุด interchange อยู่ 2 สถานีคือบางหว้า ที่จะ interchange กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว นั่งเข้าไปยังโซนสาทรได้ เหมาะกับคนทำงาน และสถานีท่าพระที่เชื่อมกับสายสีน้ำเงินเช่นกัน แต่จะไปยังฝั่งจรัญฯและวิ่งเข้าจตุจักรสะดวกค่ะ
- สถานีวัดมังกร (update 2019)
- สถานีสามยอด
- สถานีสนามไชย
- สถานีอิสรภาพ (update 2019)
- สถานีท่าพระ (update 2019)
- สถานีบางไผ่
- สถานีบางหว้า (สถานี interchange) (update 2020)
- สถานีเพชรเกษม 48 (update 2019)
- สถานีภาษีเจริญ (update 2019)
- สถานีบางแค (update 2019)
- สถานีหลักสอง (update 2019)
รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สถานี เตาปูน – คลองบางไผ่
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงนี้ สร้างมาเพื่อรองรับการใช้งานของชาวนนทบุรีโดยเฉพาะ ให้สามารถเดินทางในย่านตัวเองได้ และเข้ามาในกรุงเทพฯได้อย่างสะดวกสบายเช่นกัน โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูน และไปสิ้นสุดที่คลองบางไผ่ ใกล้ Central Westgate ซึ่งเป็น node ใหม่ที่คึกคักไปด้วยแหล่งความอุดมสมบูรณ์และโครงการบ้านจัดสรรค่ะ ดังนั้น ในโซนนี้ส่วนใหญ่อสังหาฯที่เกิดขึ้นยังจะเป็นบ้านแนวราบมากกว่าคอนโดนะ
- สถานีเตาปูน (สถานี interchange) (update 2019)
- สถานีบางซ่อน
- สถานีวงศ์สว่าง
- สถานีแยกติวานนท์
- สถานีกระทรวงสาธารณสุข
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (update 2016)
- สถานีบางกระสอ (update 2016)
- สถานีแยกนนทบุรี1 (update 2016)
- สถานีสะพานพระนั่งเกล้า (update 2016)
- สถานีไทรม้า
- สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ
- สถานีบางรักใหญ่
- สถานีบางพลู
- สถานีสามแยกบางใหญ่
- สถานีตลาดบางใหญ่
- สถานีคลองบางไผ่
รถไฟฟ้า Airport Rail Link
สำหรับรถไฟฟ้า ARL (Airport Rail Link) จุดประสงค์หลักของรถไฟฟ้าสายนี้คือ ขนส่งคนจากใจกลางเมืองไปยังสนามบินแห่งชาติสุวรรณภูมิได้สะดวก จึงมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่พญาไท และ วิ่งไปยังสุวรรณภูมิโดยตรงค่ะ
ประโยชน์ที่นอกเหนือจากใช้เดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว เรามองว่าคนที่อยู่โซนลาดกระบัง สุวรรณภูมิก็สามารถใช้เดินทางเพื่อเข้ามาทำงานหรือเรียนยังตัวเมืองได้ด้วยค่ะ เพราะว่า ARL นี้ก็จะไป interchange กับอีกรถไฟฟ้าสองสายหลัก คือ เชื่อมกับ MRT สายสีน้ำเงินที่สถานีมักกะสัน และเชื่อมต่อกับ BTS สายสีเขียวที่สถานีพญาไทค่ะ
รถไฟฟ้า Airport rail link สถานีพญาไท – สุวรรณภูมิ
- สถานีพญาไท
- สถานีราชปรารภ
- สถานีมักกะสัน
- สถานีรามคำแหง
- สถานีหัวหมาก
- สถานีบ้านทับช้าง
- สถานีลาดกระบัง
ทิ้งท้าย
เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คนที่กำลังมองหาคอนโดใกล้รถไฟฟ้าอยู่มองหาสถานีที่เหมาะกับตัวเองได้ และก็เห็นตัวเลือกของคอนโดต่างๆที่ใกล้กับสถานี้นั้นๆนะ และถ้าอยากให้เรา update คอนโดที่สถานีไหนเป็นพิเศษ ก็สามารถ Comment ทิ้งท้ายไว้ได้เลยค่ะ