เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วนะคะ ที่มีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นครั้งแรกในกรุงเทพ ซึ่งได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบัน สาเหตุหลักคงหนีไม่พ้น ปัจจัยในการควบคุมเวลาในการเดินทาง ได้ค่อนข้างแม่นยำนั้นเอง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ส่วนตัว แต่ที่ยังเห็นรถติดในปัจจุบัน เนื่องจากรถไฟฟ้ายังมีไปไม่ถึงทุกพื้นที่ แต่อย่าเพิ่งน้อยใจไปค่ะ เพราะปัจจุบันเส้นทางรถไฟฟ้าถูกขยายไปในหลายเส้นทาง ไม่เฉพาะภายในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังกระจายออกไปในเขตปริมณฑลอีกด้วย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนตัวมองว่านอกจากเราจะสะดวกสบายในการเดินทางแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีให้เราสามารถเตรียมความพร้อมดูทำเลต่างๆ เพราะถ้าจะซื้อที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นคอนโดหรือบ้านตอนที่รถไฟฟ้ายังสร้างไม่เสร็จ มักราคาถูกกว่าสร้างเสร็จแล้วแน่นอน วันนี้เราเลยขอมาอัพเดตข้อมูลรถไฟฟ้าที่ทางรัฐเตรียมเปิดทั้งหมด 13 เส้นทาง ว่าจะมีที่ไหนบ้าง และแต่ละเส้นมีความคืบหน้าถึงไหนแล้ว พร้อมปีที่ตั้งใจจะเปิดใช้งาน มาอัพเดตข้อมูลกันเลยค่ะ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 เมษายน 2563)
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมรถไฟฟ้าบ้านเราถึงยังใช้ร่วมกันไม่ได้ ?? สาเหตุก็เพราะระบบขนส่งในเมืองไทยมีเจ้าของต่างกันนะสิ แล้วแต่ละสายใครเป็นเจ้าของบ้านไปดูกันค่ะ
- BTS เจ้าของโครงการ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ <กทม.> รับผิดชอบดูแลก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 สาย
- สายสีเขียวเข้ม + รถไฟฟ้าสีเขียวเข้มส่วนตัวขยาย
- สายสีเขียวอ่อน
- สายสีเทา
- สายสีทอง
- สายสีเหลือง
- สายสีชมพู
- สายสีน้ำเงิน
- สายสีม่วง
- สายสีส้ม
- Airport Rail Link
- สายสีแดงเข้ม
- สายสีแดงอ่อน
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจรถไฟฟ้าสายสีแดงกันก่อน ซึ่งเส้นนี้ แบ่งแยกออกเป็นเส้นทางย่อยๆ ทั้งหมด 3 เส้นทาง
- เริ่มต้นที่ สีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย) ที่เชื่อมต่อคนทางทิศเหนือ-ใต้ของกรุงเทพ
- สาย สีแดงอ่อน(ศาลายา-หัวหมาก) ที่เชื่อมต่อคนทางทิศตะวันตก-ตะวันออกของกรุงเทพ
- สุดท้ายคือ Airport Rail Link เชื่อมเส้นทางสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง
เพื่อให้เดินทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ไปดูกันต่อค่ะ
1. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย)
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม จุดมุ่งหมายหลักของรถไฟฟ้าสายนี้คือ ต้องการทำเส้นทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพ และปริมณฑล จากทางทิศเหนือ (ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี อยุธยา) และทิศใต้ (บางบอน มหาชัย) ที่น่าสนใจคือ รถไฟฟ้าช่วง บางซื่อ-รังสิต ถูกออกแบบมาเป็นเส้นขนานเดียวกับ Airport Rail Link และมีการเดินรถแยก 2 แบบ คือ การเดินรถธรรมดา (จอดทุกสถานี) และ การเดินรถด่วน (จอดบางสถานี) ช่วยกระจายคนใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอใช้ Airport Rail Link เพียงอย่างเดียว
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต
- ความคืบหน้า : เกือบ 100% มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2564
- ระยะทาง : ทั้งหมด 10 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 5 สาย 4 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน/ Airport Rail link /สายสีน้ำเงิน ที่สถานีกลางบางซื่อ
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำตาล ที่สถานีบางเขน
- เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู ที่สถานีหลักสี่
- เชื่อมต่อกับ Airport Rail link ที่สถานีดอนเมือง
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์
- ความคืบหน้า : ระหว่างก่อสร้าง มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2565
- ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง, สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สถานีเชียงราก และสิ้นสุดที่สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง
- ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : ทั้งหมด 22 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 6 สาย 7 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานีประดิพัทธ์
- เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานียมราช
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานียศเส
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีหัวลำโพง
- เชื่อมต่อกับ สายสีทอง ที่สถานีคลองสาน
- เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีวงเวียนใหญ่
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีตากสิน(อีกครั้ง)
2.รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก)
สำหรับเส้นทางนี้เป็นโครงการเชื่อมโยงฝั่งพระนครและธนบุรี หรือชานเมืองทางทิศตะวันออก(หัวลำโพง-ชุมทางฉะเชิงเทรา) – ชานเมืองทิศตะวันตก (หัวลำโพง-นครปฐม) ปัจจุบัน โครงการส่วนแรก (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ พ.ศ. 2554 แต่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้เนื่องจากต้องรอการก่อสร้างอาคารสถานีกลางบางซื่อ ที่จะเปิดให้บริการได้ในปี 2564
- รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
- ความคืบหน้า : 100% มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2563
- ระยะทาง : ทั้งหมด 5 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 6 สาย 7 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน / สายสีแดงเข้ม ที่สถานีกลางบางซื่อ
- เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีบางซ่อน
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีตลิ่งชัน
- ความคืบหน้า : ระหว่างก่อสร้าง มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2565
- ระยะทาง : ทั้งหมด 3 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 6 สาย 7 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีตลิ่งชัน
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน / สายสีส้ม ที่สถานีบางขุนนนท์
- เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีศิริราช
- ความคืบหน้า : ผ่านการอนุมัติ อยู่ในช่วงประกวดราคาโครงการ
- ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี
- ไม่มีสถานี Interchange
- ความคืบหน้า : ผ่านการอนุมัติ อยู่ในช่วงประกวดราคาโครงการ
- ระยะทาง : ทั้งหมด 5 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 5 สาย 5 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม / Airport Rail Link ที่สถานีพญาไท
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน / Airport Rail Link ที่สถานีมักกะสัน
- เชื่อมต่อกับ สายสีเทา ที่สถานีศูนย์วิจัย
- เชื่อมต่อกับ Airport Rail Link ที่สถานีรามคำแหง
- เชื่อมต่อกับ สายสีเหลือง / Airport Rail Link ที่สถานีหัวหมาก
3.Airport Rail Link (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ)
รถไฟฟ้าสายท่าอากาศยาน หรือ Airport Rail Link สร้างเพื่อให้คนเดินทางเข้ากรุงเทพได้ง่าย ทั้งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยช่วงแรกเป็นการเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ-พญาไท ต่อมาภายหลังได้มีการศึกษาในการเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง เพื่อให้เชื่อมโยงกัน โดยมีระยะทางทั้งหมด 50.3 กม. แต่ปัจจุบันช่วงที่ 2 อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะเปิดให้ใช้งานปี 2564 พร้อมกับสถานีกลางบางซื่อค่ะ
Airport Rail Link สถานีพญาไท – สนามบินสุวรรณภูมิ
- ความคืบหน้า : 100% เปิดให้ใช้บริการเรียบร้อย
- ระยะทาง : ยกระดับ 8 สถานี ใต้ดิน 1 สถานี (สถานีสุวรรณภูมิ)
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 5 สาย 4 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม /สายสีแดงอ่อน ที่สถานีพญาไท
- เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีราชปรารถ
- เชื่อมต่อกับ สายน้ำเงิน /สายสีแดงอ่อน ที่สถานีมักกะสัน
- เชื่อมต่อกับ สายเหลือง /สายสีแดงอ่อน ที่สถานีหัวหมาก
Airport Rail Link สถานีพญาไท – สนามบินดอนเมือง
- ความคืบหน้า : ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้ใช้งานปี 2564
- ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่ สถานีราชวิถี, สถานีกลางบางซื่อ,สถานีบางเขน และสิ้นสุดที่สถานีดอนเมือง
4.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยาย
รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) เป็นการเชื่อมต่อพื้นที่ตอนเหนือของกรุงเทพเข้ากับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี โดยเป็นแนวเส้นทางที่เริ่มตั้งแต่ BTS หมอชิตเดิม ขึ้นไปทางเหนือบนเส้นถนนพหลโยธินยาวไปเลย จนไปถึงแถวธูปะเตมีย์ แล้วจะเบี่ยงขวาไปโผล่แถวสถานีตำรวจภูธรคูคต และสิ้นสุดที่นี่ / แถมในอนาคตยังมีแผนส่วนต่อขยายจากคูคตไปจนถึงลำลูกกาเลย แอบเล่าความเป็นมานิดนึง… หลายๆคนมักเข้าใจผิดว่ารถไฟสายใหม่เส้นนี้ เรียกกันติดปากว่า BTS เปิดใหม่ทางกรุงเทพฯตอนเหนือ แต่จริงๆแล้วผู้ได้รับการดูแลจริงๆนั้นเป็น รฟม. นะคะ โดยได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 ซึ่งได้รับเงินทุนจากรัฐบาลมาสนับสนุน แต่ปัจจุบันหลังจากผ่านการประชุมโดย ครม. มีการปรับเปลี่ยนความต้องการให้ กทม. เป็นเจ้าของนั่นเอง
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
- ความคืบหน้า : สร้างเสร็จเกือบ 100% เริ่มเปิดให้บริการในบางสถานีแล้ว
- ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 16 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายน้ำเงิน ที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำตาล ที่สถานีม.เกษตรศาสตร์
- เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายเหนือ ช่วงคูคต-ลำลูกกา
- ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี คือ สถานีคลอง 3 , สถานีคลอง 4 , สถานีคลอง 5 และสถานีวงแหวนตะวันออก
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายใต้ (แบริ่ง-การเคหะสมุทรปราการ) เป็นการเชื่อมจาก BTS เส้นเดิมทางทิศใต้ในเขตกรุงเทพ ก่อนจะเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ และเพิ่งมีการเปิดรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสถานีสำโรง – สถานีเคหะสมุทรปราการ ที่เปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2561 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ชาวสมุทรปราการสามารถใช้รถไฟฟ้าเข้าเมืองได้สะดวก แถมในอนาคตยังมีส่วนต่อขยายที่เชื่อมถึง สถานตากอากาศบางปูด้วยนะคะ
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายใต้ ช่วงแบริ่ง-การเคหะสมุทรปราการ
- ความคืบหน้า : เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อย
- ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 9 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 1 สาย 1 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีเหลือง ที่สถานีสำโรง
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายใต้ ช่วงเคหะสมุทรปราการ – บางปู
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่ สถานีสวางคนิวาส, สถานีเมืองโบราณ, สถานีศรีจันทร์ประดิษฐ์ และสิ้นสุดสถานีบางปู
สนใจคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายเขียวเข้ม คลิกอ่านเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
- เจาะลึกคอนโดใหม่ใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย คอนโดไหนเหมาะกับคุณ! (ช่วงสถานีห้าแยกลาดพร้าว-พหลโยธิน 24-รัชโยธิน-เสนานิคม)
- UPDATE วิเคราะห์คอนโดแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ สีเขียวเหนือ “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” เปิดใช้ปี 2562-2563
- มองหาคอนโดใกล้รถไฟฟ้า ตอนที่ 5 “ลาซาล-แบริ่ง”
- งบไม่เกิน 2 ล้าน ซื้อคอนโด “ใกล้รถไฟฟ้าสถานีปุณณวิถี-แบริ่ง” ที่ไหนได้บ้าง?
- ส่องทำเลรถไฟฟ้าเปิดใหม่สายสีเขียว (สำโรง-เคหะสมุทรปราการ)
5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยาย
รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สายสีลม) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดินตลอดโครงการ และเป็นเส้นทางที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งธนบุรีได้เป็นสายแรกของประเทศไทย โดยมีแนวเส้นทางเป็นแนวตะวันตก-ใต้ เน้นขนส่งผู้โดยสารจากบริเวณใจกลางฝั่งธนบุรีให้เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพได้อย่างรวดเร็ว
รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า – ตลิ่งชัน
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก, สถานีบางเชือกหนัง, สถานีบางพรม, สถานีอินทราวาส, สถานีบรมราชชนนี และสิ้นสุดสถานีตลิ่งชัน
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 2 สาย 2 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีบางหว้า
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานีตลิ่งชัน
รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 1 สถานี ได้แก่ สถานียศเส ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง โดยมีจุดหมายเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานียศเสเท่านั้น
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 1 สาย 1 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม ที่สถานียศเส
สนใจคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายเขียวอ่อน คลิกอ่านเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
6.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่หลายๆคนคงคุ้นเคยเนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าที่เปิดมาให้ใช้ตั้งแต่แรกๆ ปัจจุบันเปิดใช้งานครบวงจรทั้งหมดแล้ว โดยส่วนต่อขยายแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ “บางซื่อ-ท่าพระ” และ “หัวลำโพง-เตาปูน” เส้นทางการเดินรถจะวิ่งวนครอบคลุมพื้นที่ใจกลางเมืองที่สำคัญๆ เชื่อมฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนครเข้าด้วยกัน เน้นอำนวยความสะดวกให้กับคนในเมือง ถือว่าเป็นรถไฟฟ้าสายเดียวในประเทศไทยในตอนนี้ที่วิ่งเป็นวงกลม ซึ่งจะต่างกับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายอื่นๆที่เป็นเส้นยาวเน้นขนส่งคนจากนอกเมืองเข้าสู่ในตัวเมือง
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ
- ความคืบหน้า : เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อย
- ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 10 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม / สายสีแดงอ่อน ที่สถานีบางซื่อ
- เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีท่าพระ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค
- ความคืบหน้า : เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อย
- ระยะทาง : ใต้ดิน 4 สถานี ยกระดับ 7 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 4 สาย 4 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายแดงเข้ม ที่สถานีหัวลำโพง
- เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีท่าพระ
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีบางหว้า
สนใจคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน คลิกอ่านเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
- มองหาคอนโดใหม่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สถานีบางอ้อ-ท่าพระ
- มองหาคอนโดใกล้รถไฟฟ้า ตอนที่ 6 “ท่าพระ-หลักสอง” (สายสีน้ำเงิน ช่วงปี 2560-2563)
- มองหาคอนโดใกล้รถไฟฟ้า ตอนที่ 7 “บางขุนนนท์ – จรัญฯ 13” (สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย)
- มองหาคอนโดใกล้รถไฟฟ้า ตอนที่ 8 “สถานีบางอ้อ – บางยี่ขัน” (สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย)
7.รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)
รถไฟฟ้าสายสีม่วง จุดมุ่งหมายหลักของรถไฟฟ้าสายนี้คือ ต้องการเชื่อมต่อการเดินทางจากทางทิศตะวันออก (บางใหญ่ นนทบุรี) และทิศใต้ (ราษฎร์บูรณะ-พระประแดง) ซึ่งเส้นทางนี้จะหันคนละทิศกับเส้นสีแดงเข้มนะคะ
รถไฟฟ้าสายม่วง ช่วงเตาปูน – บางใหญ่(สถานีคลองบางไผ่)
- ความคืบหน้า : เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อย
- ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 15 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 4 สาย 3 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู / สายสีน้ำตาล ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานีบางซ่อน
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีเตาปูน
รถไฟฟ้าสายม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : ทั้งหมด 17 สถานี สถานีใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 7 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 4 สาย 4 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีผ่านฟ้า
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีสามยอด
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีสะพานพุทธ
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม ที่สถานีวงเวียนใหญ่
สนใจคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายม่วง คลิกอ่านเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
- พาชมทำเลรถไฟฟ้าสายสีม่วง 2016 (ตอนปลาย) ไทรม้า – บางพลู – คลองบางไผ่
- พาชมทำเลรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ตอนต้น) เตาปูน – ติวานนท์ – สะพานพระนั่งเกล้า
- มองหาทำเลน่าอยู่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง EP.2 สถานีไทรม้า – คลองบางไผ่
- มองหาคอนโดใกล้รถไฟฟ้า ตอนที่ 2 “ถนนรัตนาธิเบศร์” Part 1
- มองหาคอนโดใกล้รถไฟฟ้า ตอนที่ 2 “ถนนรัตนาธิเบศร์” Part 2
8.รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – แยกร่มเกล้า)
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.mrta-orangelineeast.com
รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นโครงการที่เชื่อมกรุงเทพฝั่งตะวันออกกับกรุงเทพฝั่งตะวันตกเข้าด้วยกัน โดยเส้นทางจะเชื่อมต่อตั้งแต่มีนบุรี-ตลิ่งชันเลยค่ะ โดยปัจจุบันก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและแบบยกระดับ มีระยะทางประมาณ 22.57 กิโลเมตร และหลังจากนั้นจะเป็นช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชันค่ะ
รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างเวนคืนที่ดิน และเชิญชวนเอกชนมาร่วมลงทุน
- ระยะทาง : ทั้งหมด 16 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู ที่สถานีมีนบุรี
- เชื่อมต่อกับ สายสีเหลือง ที่สถานีลำสาลี
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมเเห่งประเทศไทย
รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – ตลิ่งชัน
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดในปี 2567
- ระยะทาง : ทั้งหมด 12 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 5 สาย 6 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ Airport Rail link ที่สถานีราชปรารภ
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม (BTS) ที่สถานีราชเทวี
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานียมราช
- เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีสนามหลวง
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีบางขุนนนท์
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน (อีกครั้ง) ที่สถานีตลิ่งชัน
สนใจคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีส้ม คลิกอ่านเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
9.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง)
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นสถานีแบบยกระดับ ซึ่งจะมีระดับความสูงแตกต่างกันไป ตามแนวเส้นทางและข้อจำกัดของบริเวณสถานีนั้นๆ โดยจุดมุ่งหมายหลักๆ คือเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว ที่มีปัญหาการจราจรมาอย่างยาวนาน เป็นลักษณะวงรอบนอกพาคนจากทิศตะวันออกของกรุงเทพ และสิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรปราการ
รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงลาดพร้าว – สำโรง
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดในปี 2564 (บางส่วน)
- ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 25 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 7 สาย 5 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีรัชดา
- เชื่อมต่อกับ สายสีเทา ที่สถานีลาดพร้าว 83
- เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม / สายสีน้ำตาล ที่สถานีแยกลำสาลี
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน / Airport Rail Link ที่สถานีหัวหมาก
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน (อีกครั้ง) ที่สถานีสำโรง
10.รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเขตมีนบุรีและจังหวัดนนทบุรี โดยเริ่มที่บนถนนรัตนาธิเบศร์ และสิ้นสุดที่แยกร่มเกล้า มีความยาวของแนวเส้นทางทั้งสิ้นประมาณ 34.5 กม.
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดในปี 2564
- ระยะทาง : มีทั้งหมด 30 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 6 สาย 5 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง / สายสีน้ำตาล ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม ที่สถานีหลักสี่
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
- เชื่อมต่อกับ สายสีเทา ที่สถานีวัชรพล
- เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีมีนบุรี
11.รถไฟฟ้าสายสีเทา
รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ) เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เชื่อมต่อภายในกรุงเทพเอง โดยเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว หรือ Monorail แนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองช่วงแยกขาดจากกัน โดยตามแผนคาดว่าจะเปิดประมูลโครงการในระยะแรกได้ปี 2563-2564 และเริ่มก่อสร้างปี 2564 หรือ 2565
รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ
- ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : มีทั้งหมด 15 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล
- เชื่อมต่อกับ สายสีเหลือง ที่สถานีฉลองรัช
- เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีพระราม 9
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีทองหล่อ
รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงพระโขนง-ท่าพระ
- ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : มีทั้งหมด 24 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 4 สาย 4 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีพระราม 4
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีช่องนนทรี
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีตลาดพลู
- เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีท่าพระ
12.รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เป็นสายที่เชื่อมต่อเมืองด้านฝั่งแคราย กับฝั่งเกษตร-นวมินทร์ที่มีอัตราการเติบโตสูงเข้าด้วยกันโดยเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail มีระยะทางทั้งสิ้น 21 กิโลเมตร
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี
- ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
- ระยะทาง : มีทั้งหมด 20 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 7 สาย 5 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู / สายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
- เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม ที่สถานีบางเขน
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- เชื่อมต่อกับ สายสีเทา ที่สถานีฉลองรัช
- เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม / สายสีเหลือง ที่สถานีแยกลำสาลี
13.รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงข่ายรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail ในย่านฝั่งธนบุรีสายสั้นๆเพียง 4 สถานี มีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ศูนย์การค้าไอคอนสยามได้สะดวก โดยนับจากรถไฟฟ้า BTS สายสีลม บริเวณสถานี กรุงธนบุรี แล้วขึ้นเหนือไปตามถนนเจริญนคร ผ่านแยกคลองสาน และไปสิ้นสุดตรงก่อนจะถึงถนนประชาธิปก ระยะทางรวมประมาณ 2.8 กม.
- ช่วงที่ 1 (กรุงธนบุรี – คลองสาน) รวม 3 สถานี คาดการณ์ว่าจะเปิดให้ทดลองนั่งกันประมาณเดือน มิถุนายน 2563 และมีอัตราค่าโดยสารเพียงแค่ 15 บาทตลอดสายเท่านั้น
- ช่วงที่ 2 (สถานีประชาธิปก) ก็คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จและเปิดบริการได้ในปี 2566
รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงกรุงธนบุรี-สถานีประชาธิปก
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างก่อสร้าง ที่คาดว่าจะเปิด 3 สถานีแรก ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน ภายในปี 2563
- ระยะทาง : ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 4 สถานี
- สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 1 สาย 1 สถานี ดังนี้
- เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีกรุงธนบุรี
สนใจคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีทอง คลิกอ่านเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
เพิ่มเติมบทความรถไฟฟ้าที่ควรอ่านจากทางทีมงาน Thinkofliving
สำหรับบทความนี้เป็นข้อมูลที่รวบรวม ณ วันที่ 6 เมษายน 2563 ซึ่งบางเส้นทางอาจจะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ ซึ่งถ้าทางเรามีข้อมูลอัพเดตเมื่อไหร่จะรีบมาบอกทันที ใครกลัวพลาดก็อย่าลืมติดดาวบทความนี้เก็บไว้นะคะ โดยผู้เขียนหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่าน หากผู้เขียนตกหล่นข้อมูลไหนไป หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเป็นพิเศษสามารถคอมเมนต์ มาพูดคุยกันได้เลยค่ะ 🙂