สิ่งที่ถูกนำมาพูดถึงมากในประเด็นภาษีที่ดิน นั่นคือดุลยพินิจในการจัดเก็บ โดยเฉพาะการนำเอาที่ดินทำเลทองบางแห่งมาแปลงให้เป็น สวนผลไม้ขนาดใหญ่ เพื่อบรรเทาภาระภาษีที่ต้องจ่าย ซึ่งแม้จะไม่ผิดกฏหมาย แต่ก็อาจทำให้เกิดคำถามว่าที่ดินใจกลางเมืองถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่าหรือไม่?

นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เคยให้ความเห็นเรื่องดังกล่าวไว้ว่าเป็นสิทธิที่เจ้าของที่ดินจะทำได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ ในส่วนของกระทรวงการคลังมองว่าการปลูกมะนาวบนที่ดินเป็นการสร้างมูลค่าให้ที่ดิน ดีกว่าปล่อยที่ดินให้ทิ้งร้างไว้เฉยๆ ซึ่งในญี่ปุ่นเองพบที่ดินบางแปลงอยู่กลางกรุงโตเกียว หนีภาษีที่ดินด้วยการปลูกข้าว ดังนั้นการปลูกมะนาวในที่ดินดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่กระทรวงการคลังต้องกังวล

แล้วที่ดินว่างเปล่าในกทม. มีมากแค่ไหน?

ข้อมูลจากฐานเศรษฐกิจฯ ในปี 2563 เปิดเผยว่า พื้นที่กทม. 937,500 ไร่ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน มีที่ดินรกร้างว่างเปล่ามากถึง 18% หรือ 168,750 ไร่ แต่หลังจากปรับปรุงผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ มีการยุบรวมแปลงที่ดิน ทำให้พื้นที่รกร้างกลับลดลง จากการยุบเหลือ 6-7% หรือประมาณกว่า 60,000 ไร่

กทม. คาดการณ์เป้าจัดเก็บภาษีที่ดินปีนี้ไม่ได้ เนื่องจากมีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

จักรพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่ภาษีที่ดินเก็บในอัตรา 100% ทำให้คาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเก็บภาษีได้เท่าไร จากเป้าที่ตั้งไว้ 12,000  ลบ. เพราะมีประชาชนขอเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินเปล่าที่มีอยู่ประมาณ 120,000 แปลง ให้เป็นที่ดินเกษตรกรรม 

ปัจจุบัน กทม. อยู่ระหว่างทำข้อมูลเชิงลึกแนวทางจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามแนวคิดของ ผู้ว่าชัชชาติ สิทธิพันธุ์  ที่ต้องการปรับอัตราจัดเก็บใหม่ ซึ่งกทม.มีอำนาจที่จะดำเนินการได้โดยออกเป็นข้อบัญญัติของ กทม. โดยจะเร่งให้ได้ข้อสรุปในเดือนกันยายนนี้

ภาษีที่ดิน ไม่ได้สร้างภาระให้ผู้ประกอบการมากนัก

สิ่งปลูกสร้างเพื่อการพาณิชยกรรมก็ต้องเสียภาษี 0.3-0.7% ตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายกล่าวว่าภาระภาษีที่ดินฯ ที่ต้องเสียนี้ไม่ได้แตกต่างจากที่พวกเขาเสียก่อนหน้านี้เท่าใดนัก เพราะก่อนหน้านี้เสียภาษีโรงเรือนี่อัตรา 12.5% การรายได้พึงประเมิน ซึ่งแน่นอนว่ามีวิธีการในการประเมินที่ไม่ได้มาตรฐานหรือแตกต่างกันไปตามแต่ละเขตแต่การคิดภาษีที่ดินฯ โดยอ้างอิงจากมูลของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบบนี้มีผลให้ผู้ประกอบการเจ้าของโครงการเพื่อการพาณิชยกรรมทั้งหลายไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาระตรงนี้ แต่อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้คือ ภาระภาษีที่ดินฯตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้เพิ่มภาระให้กับพวกเขา ยกเว้นโครงการที่อยู่ในพื้นที่ที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอาจจะสูงเกินกว่าการใช้ประโยชน์ในปัจจุบันก็มีความเป็นไปได้ที่ภาระภาษีที่ดินฯ ของโครงการดังกล่าวอาจจะมากขึ้นเมื่อเทียบกับการประเมินภาษีแบบเดิม

กำหนดการ #จ่ายภาษีที่ดิน ปี 2565 

เมื่อปลายมิ.. ที่ผ่านมา มหาดไทย ขยายเวลาจ่าย #ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากเม.. 2565 เป็น ก.. 2565  โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น 

1.ผู้เสียภาษีสามารถจ่ายภาษีที่ดินได้ภายใน 31 .. 2565

2. หากต้องการผ่อนชำระ สามารถขยายเวลาได้ดังนี้

  • งวดที่ 1 ผ่อนได้ถึง ก.. 2565
  • งวดที่ 2 ผ่อนได้ถึง ส.. 2565
  • งวดที่ 3 ผ่อนได้ถึง ก.. 2565

และขยายเวลา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการออกหนังสือจ่ายภาษีจาก พ.. 2565 เป็น ส.. 2565

3. ขยายเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแจ้งรายการภาษีค้างชำระจาก มิ.. 2565 เป็น ก.. 2565

ถ้าไม่จ่ายภาษีที่ดิน จะต้องเจอกับบทลงโทษ หรือเบี้ยปรับ อะไรบ้าง?

  1. กรณีไม่ได้จ่ายภาษีที่ดินภายในก.ค. แต่มา “จ่ายก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน” จะเสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนเงินภาษีค้างชำระ
  2. กรณีจ่ายภาษีหลังได้รับหนังสือแจ้งเตือน เมื่อทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกหนังสือเตือนมาแล้ว และเราไปชำระภาษี “ภายในระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน” จะต้องเสียเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนเงินภาษีค้างชำระ
  3. กรณีจ่ายภาษีหลังกำหนดเวลาในหนังสือแจ้งเตือน หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีที่ดิน จ่ายภาษีภายหลังจากระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน จะต้องเสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนเงินภาษีค้างชำระ และจะต้องเสียเพิ่มอีก 1% ต่อเดือนของจำนวนเงินภาษีค้างชำระด้วย โดยเริ่มนับตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาชำระภาษีจนถึงวันที่มีการชำระภาษี

ขณะเดียวกัน ถ้าผู้เสียภาษีไม่มาชําระภายในระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะส่งข้อมูลการค้างชำระไปให้สำนักงานที่ดิน ทำให้การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้จะทําไม่ได้ หากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นมีภาษีค้างชำระ และหากพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ค้างชําระภาษีได้รับหนังสือแจ้งเตือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถยึด อายัด ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ค้างชำระภาษีไปขายทอดตลาดได้

สำหรับใครที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่ดินแล้ว ก็ควรรีบไปดำเนินการเสียภาษีให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้ถูกค่าปรับหรืออาจถูกอายัด ยึดที่ไปขายทอดตลาด แต่ถ้าเกิดว่าใครยังไม่ได้รับจดหมายแจ้งการประเมินภาษี ก็จำเป็นต้องรีบติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์

โดยในการติดต่อเพื่อจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมนั้น สามารถไปติดต่อได้ที่ องค์กรปกครองส่วนท้องที่ “ที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของเรานั้นตั้งอยู่” หรือง่ายๆ คือ ถ้าที่ดินของเราตั้งอยู่ใน กทม. จะต้องไปเสียภาษีที่ดินหรือสอบถามข้อมูลที่สำนักงานเขต ถ้าที่ดินของเราตั้งอยู่ที่เขตเมืองพัทยา จะต้องไปเสียภาษีหรือติดต่อสอบถามข้อมูลที่ ศาลาว่าการเมืองพัทยา ถ้าที่ดินของเราตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จะต้องไปเสียภาษีหรือติดต่อที่สำนักงานเทศบาล และหากที่ดินของเราตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ก็ไปติดต่อเสียภาษีและสอบถามได้โดยตรงที่ อบต. นั้นๆ ได้เลย