ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะเดือนเมษายน – พฤษภาคม ถือว่าเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในรอบปี Living Idea วันนี้เลยจะมาบอก “วิธีคลายร้อนให้กับบ้าน” ของเรากัน ถ้าใครอยากอ่านรายละเอียด สามารถเลื่อนลงไปอ่านด้านล่างได้เลยนะคะ > <

ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้อยู่บ้านกันตลอด แต่เมื่อถึงเวลากลับบ้านแล้ว บางคนก็รู้สึกถึงความอบอ้าวภายในบ้าน เนื่องจากว่าบ้านได้ถูกแสงแดดส่องตลอดทั้งวัน จึงทำให้มีความร้อนสะสมอยู่ภายในบ้าน ดังนั้นวิธีคลายร้อนให้บ้านนั้นจึงแบ่งออกมา 2 แบบด้วยกัน

  • กันความร้อนไม่ให้เข้าบ้าน
  • การระบายความร้อนออกจากบ้าน

วิธีที่ 1 : กันความร้อนไม่ให้เข้าบ้าน

เรียกว่าเป็นวิธีพื้นฐานกันเลยก็ว่าได้ ถ้านอกบ้านอากาศร้อน ต้องหาวิธีไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน โดยการป้องกันหรือทำเกราะกันความร้อนในส่วนของตัวบ้านที่มีพื้นที่ที่จะรับความร้อนจากภายนอกที่สุด คือ ผนัง และหลังคาบ้าน

” ผนัง “

ผนังถือเป็นส่วนที่สำคัญตั้งแต่เริ่มสร้างบ้าน โดยจะต้องเลือกวัสดุแต่ละประเภทก็จะได้ผลในการป้องกันความร้อนตากภายนอกได้ต่างกัน เพราะผนังแต่ละชนิดจะมีค่ากันความร้อนที่แตกต่งกันไป หรือที่เรียกว่า ค่ากันความร้อน [R] (Resistivity) โดยค่า R ยิ่งมากเท่าไหร่ก็จะสามารถกันความร้อนได้มีประสิทธิภาพมากตามไปด้วย ซึ่งวัสดุที่บ้านเรานิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างผนัง ได้แก่ อิฐแดง อิฐมวลเบา Precast และ Smart board ซึ่งถ้านำวัสดุมาเรียงค่ากันความร้อน [R] จะพบว่า ผนังที่ก่อด้วยอิฐมวลเบาจะมีค่ากันความร้อน ที่สูงที่สุด ส่วนผนัง Precast จะมี ค่ากันความร้อนน้อยที่สุด

แต่ถ้าในกรณีที่เลือกใช้ผนังที่มีค่ากันความร้อน สูงในระดับหนึ่งแล้ว บ้านยังคงร้อนอยู่ จริงๆแล้วก็สามารถเพิ่มตัวช่วยให้กับผนังได้เช่นกัน โดยใช้วิธีการ

เพิ่มผนังอีกชั้น และติดฉนวนกันความร้อนเพิ่ม

เริ่มจากพิจารณาผนังฝั่งที่ได้รับความร้อนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผนังทางฝั่งทิศตะวันตก แดดบ่ายที่ส่องมาที่ผนังทำให้เกิดการสะสมความร้อนไว้ภายในบ้านได้ ดังนั้น เราจะทำการเพิ่มผนังในฝั่งนี้ โดยใช้วิธีการติดโครงคร่าว แล้วติดแผ่น Smart board เพื่อไม่ให้แดดส่องมาโดนผนังบ้านโดยตรง หรือจะเพิ่มฉนวนกันความร้อนเพิ่มอีกชั้น ก็จะสามารถป้องกันและลดความร้อนได้มากขึ้น

ที่มาภาพ : vertikal.com.au

การทำสวนแนวตั้ง

การทำสวนแนวตั้งจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดทอนความร้อนไม่ส่องมายังผนังบ้านโดยตรง โดยต้นไม้จากการทำสวนแนวตั้งจะดูดซับความร้อนจากแดดที่ส่องเข้ามา ก่อนจะถึงแนวกำแพงบ้าน อีกทั้งเรายังได้พื้นที่สีเขียวเพิ่มภายในบริเวณบ้าน โดยไม่ต้องเปลืองพื้นที่จัดสวนเหมือนการจัดสวนปกติ บ้านที่มีบริเวณไม่มาก เช่น บ้านทาวน์โฮม บ้านแฝด ก็สามารถทำได้ เพราะใช้พื้นที่ในแนวตั้งแทน ทำให้บรรยากาศภายบริเวณในบ้านดูร่มรื่นขึ้น สร้างมุมมองและวิวโดยรอบตัวบ้านได้อีกด้วย

การติดกันสาด ตรงช่องแสง-หน้าต่าง-ประตู  : การติดแนวกันสาดนอกจากช่วยในการกันฝนแล้วที่จะสาดเข้ามาแล้ว ก็ยังช่วย]ลดทอนไม่ให้แดดส่องเข้ามายังตัวบ้าน หรือประตูหน้าต่างบ้านได้ ทำให้ลดการสะสมความร้อน การติดพื้นที่กันสาดสรมารถสร้างพื้นที่แบบ Semi outdoor รอบตัวบ้านใช้งานเป็นที่นั่งพักผ่อน ระบายอากาศได้ดี

สำหรับการติดแนวกันสาดนั้น เราสามารถเลือกรูปแบบตามการใช้งานได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง  การติดแนวกันสาดที่เสมือนเป็นหลังคาในตัวสามารถบังแดดและกันฝนได้ อาจจะเลือกวัสดุที่ปิดทึบอย่าง เมทัลชีท ไวนิล หรือ UPVC หรือ ต้องการหลังคาที่กันฝนได้แต่ได้แสงธรรมชาติเต็มที่ก็อาจเลือกเป็นวัสดุกระจกหรืออะคริลิคใส แต่ถ้าต้องการหลังคาลักษณะโปร่งแสงสามารถให้แสงสว่างลอดผ่านได้บางส่วน ให้แสงที่นุ่มนวลสบายตา ก็อาจเลือกใช้วัสดุประเภท ไฟเบอร์กลาส , โพลีคาร์บอเนต เป็นต้น

ที่มาภาพ : habitusliving.com

แนวระแนงไม้ ตรงช่องแสง-หน้าต่าง-ประตู : การติดแนวระแนงไม้เพื่อลดทอนแสงแดดที่จะส่องเข้ามาภายในตัวบ้าน แต่ก็ต้องออกแบบโดยกางวางความถี่ของแนวระแนงไม้ให้เหมาะสมด้วย ถ้าวางแนวระแนงไม้มีความห่างมากเกินไปก็จะกันความร้อนได้น้อย แต่ถ้าวางแนวระแนงถี่จนเกินไปก็อาจจะทำให้ดูอึดอัด และระบายอากาศได้ไม่ดีนัก รวมไปถึงการวางองศาของแนวระแนงไม้ โดยปกติจะเอียงองศากันที่ 45 องศา ซึ่งเราสามารถปรับตามพื้นที่การใช้งานและความเหมาะสมจากทิศทางแดดที่ส่องเข้ามาเป็นประจำได้

หรืออาจปรับเปลี่ยนวัสดุทำเป็นแนวระแนงได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และรูปแบบโดยรวมของตัวบ้าน

” หลังคา “

เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของตัวบ้าน เรียกว่ารับแสงแดดแบบโดยตรง โดนแสงแดดมากที่สุด ดังนั้นชนิดของหลังคาบ้านจึงมีความสำคัญว่าจะสามารถช่วยในการป้องกันความร้อนได้มากน้อยเพียงใด โดยปกติแล้วบ้านทั่วไปจะนิยมใช้กระเบื้องเซรามิค เพราะสามารถทนความร้อนได้ดี แต่เราก็สามารถเพิ่มการป้องกันความร้อนให้กับหลังคาเข้าไปได้อีกเช่นกัน โดยทั่วไปจะใช้จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

การติดแผ่นสะท้อนความร้อน : เพิ่มจากการมุงหลังคาปกติ จะทำให้แสงแดดที่ส่องเข้ามายังหลังคา โดยแผ่นสะท้อนแผ่นความร้อนที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นฟอยล์ จะทำหน้าที่สะท้องความร้อนที่ผ่านเข้ามาจากหลังคาออกไปไม่ให้เข้าไปยังใต้หลังคาของตัวบ้าน และความร้อนที่สะสมอยู่ใต้หลังคาก็จะถูกฉนวนกันความร้อนดูดซับความร้อน ไม่ให้ระบายลงไปสู่ในตัวบ้าน ซึ่งถ้าติดทั้ง 2 อย่างนี้ ภายในตัวบ้านก็จะไม่ร้อน

การติดฉนวนกันความร้อน : ถัดจากหลังคาลงมาจะเป็นฝ้าเพดานและพื้นใต้หลังคา บริเวณนี้เราสามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ ซึ่งจะมีหน้าที่ดูดซับความร้อนจากความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคาหรือความร้อนที่สะสมอยู่ในใต้หลังคาบ้านของเรา ส่วนลักษณะของฉนวนมีลักษณะเป็นแผ่น หรือเป็นม้วน ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น สามารถหาซื้อมาติดตั้งเองได้ง่าย โดยการติดตั้งสามารถติดตั้งได้ทั้งปูบนฝ้าเพดาน ติดในโครงผนังเบา ติดบนแป หรือติดใต้จันทัน  แบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามวัสดุ ได้แก่

  • อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)
  • โพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE
  • Air Bubble Insulation
  • ใยแก้ว (Fiber Glass)

กรณีต้องหารป้องกันความร้อนจากหลังคาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ความป้องกันทั้งผนังและหลังคาของตัวบ้านไปพร้อมกัน

วิธีที่ 2 : การระบายความร้อนออกจากบ้าน

คือการทำช่องเปิดต่างๆในบ้าน ให้มีอากาศถ่ายเท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทิศทางของลมด้วยว่าลมมาจากทิศทางไหน หลักการคือทำอย่างไรให้ลมสามารถพัดผ่านเข้ามาในบ้านของเรราให้ได้มากที่สุด และจะต้องมีช่องทางหรือหาวิธีการให้ลมออกได้ควบคู่กันไปจึงจะเกิดการถ่ายเทไหลเวียนของอากาศภายในตัวบ้าน เมื่อมีอากาศไหลเวียนตลอดเวลาก็จะทำให้บ้านไม่อบอ้าว อุณภูมิภายในบ้านลดลงนั้นเอง ซึ่งก็มีอยู่หลายหลายวิธี เช่น

การวางแนวบ้าน : วิธีนี้ต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนการสร้างบ้าน หรือต้องดูตำแหน่งของตัวบ้านในโครงการที่กำลังจะเลือกซื้อ โดยพิจารณาควบคู่ไปกับทิศทางลมและทิศทางแดด โดยการวางแนวบ้านที่ดีที่จะสามารถรับลมได้ดีคืออยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเปิดช่องเปิดในทางทิศเหนือและทอศใต้ โดยการติดประตู-หน้าต่าง ในทิศที่ลมไหลผ่าน ก็จะช่วยทำให้อากาศถ่ายเทและหมุนเวียน ช่วยลดความร้อนภายในตัวบ้านได้

กรณีถ้าเราไม่สามารถเลือกบ้านจากการวางแนวบ้าน หรือมีข้อจำกัดของผังและที่ดินอยู่ อาจจะต้องใช้วิธีอื่นมาเป็นตัวช่วยในการทำให้อากาศภายในบ้านเกิดการถ่ายเทไหลเวียน  ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก แม้กระทั้งการทำให้บ้านไม่ร้อนนั้นก็ยังมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Active AIRFlow System หรือ บ้านหายใจได้ จาก SCG ที่เข้ามาช่วยทำให้บ้านเราคลายร้อนได้

ซึ่งก็จะมีขั้นตอนของการสร้างระบบไหลเวียนอากาศ ให้อากาศถ่ายเท เกิดสภาวะอากาศที่เหมาะสมหรือสภาวะสบายภายในบ้านได้ด้วยเทคโนโลยีหลักๆ 4 ชิ้น ได้แก่

  • Intake Air Grille  ช่องเติมอากาศติดผนัง
  • Ceiling Ventilator (CV) ชุดระบายอากาศฝ้าเพดาน
  • Solar Roof Tile Ventilator (SRTV) 
  • Smart Control Box & Smart Display

Intake Air Grille  เป็นการเพิ่มช่องเติมอากาศติดผนัง ช่วยเติมอากาศใหม่ให้เข้าสู่ภายในตัวบ้าน เพื่อถ่ายเทอากาศของระบบ สามารถติดตั้งในทิศที่มีลมเย็น เช่น บริเวณที่มีต้นไม้ หรือแหล่งน้ำ เพื่อให้อากาศใหม่ที่เติมเข้าสู่ตัวบ้านเป็นอากาศที่เย็น หรือในผนังที่อยู่แนวของลมพัดผ่านอยู่เสมอ  โดยช่องเติมอากาศติดผนังจะมีขนาด 20 x 20 x 14.5 cm.

Ceiling Ventilator (CV) คืออุปกรณ์ชุดระบายอากาศฝ้าเพดาน ช่วยเร่งการระบายอากาศภายในบ้านบริเวฦณที่มีการติดตั้งระบบ และสามารถช่วยเติมอากาศที่เย็นกว่าจากตัวบ้านเข้าสู่พื้นที่โถงหลังคา โดยชุดระบายอากาศฝ้าเพดานจะมีขนาด 38.5 x 38.5 cm.

Solar Roof Tile Ventilator (SRTV) – Powder Coating คืออุปกรณ์ชุดกระเบื้องระบายความร้อนในโถงหลังคา ช่วยเร่งการระบายอากาศภายในโถงหลังคาให้ออกสู่ภายนอกบ้านได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยให้บ้านเกิดการถ่ายเทอากาศและระบายความร้อน ใช้ร่วมกับกระเบื้องปล่องที่ออกแบบเฉพาะกับหลังคาของ SCG เพื่อสะดวกในการติดตั้ง และป้องกันปัญหาหลังคารั่วซึมอย่างมีประสิทธิภาพ

Smart Control Box & Smart Display หรือกล่องประมวลผลอัจฉริยะ และหน้าจอประมวลผลการทำงาน ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลการทำงานแบบอัตโนมัติด้วย Basic Logical Control สามารถควบคุมและแสดงผลการทำงานผ่าน Smart Display ที่ติดตั้งภายในตัวบ้าน แม้เวลาที่เราไม่ได้อยู่บ้านก็ตาม เพราะเทคโนโลยีนี้มีตัวควบคุมที่สามารถทำงานอัตโนมัติ เมื่อในบ้านมีอุณหภูมิสูงถึงค่าที่ตั้งเอาไว้ ระบบก็จะทำการเปิดและทำงาน ทำให้มีอากาศถ่ายเทเข้ามาในบ้าน เมื่อเรากลับถึงบ้านก็จะไม่รู้สึกถึงความอบอ้าว

เราสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพิ่มได้ โดยการอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ในตอนกลางวัน โดยการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้ที่หลังคาบ้าน เมื่อแสงแดดออก มากระทบหลังคาแสดงว่าจะเริ่มมีการสะสมความร้อน แผงโซลาร์เซลล์ก็จะเริ่มทำงานทันที และจะหยุดทำงานเมื่อแสงแดดหมด หรือหมดวันแล้วนั้นเอง

สำหรับในเวลากลางคืนการจ่ายกระแสไฟฟ้าจะถูกปรับการใช้งานโดย Smart Control Box โดยกล่องจะทำการประมวลผลโดยอัตโนมัติ ให้เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าของบ้านแทน

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับวิธีคลายร้อนในแบบต่างๆที่เราเอามาแนะนำกัน เชื่อว่าหลายๆคนจะสามารถนำเอาไปใช้กันได้บ้างนะคะ อาจจะเริ่มจากเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์หรือเริ่มจากการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของเราก่อนโดยการเพิ่มการป้องกันโดยรอบตัวบ้าน แต่หากใครต้องการความสะดวกอาจจะเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็จะช่วยคลายร้อนให้บ้านได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและหากมีข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจทางทีมงาน Think of Living จะรีบเอามาให้ชมกันอีกนะคะ …

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก :

www.scgbuildingmaterials.com
www.vertikal.com.au
www.habitusliving.com
www.pinterest.com