บ้านอยู่สบาย

เคล็ดลับแต่งบ้านให้อยู่สบาย By Mr.Oe ตอนที่1 พื้นฐานอยู่สบายครับ
เคย งง งง มั้ยเอ่ย ว่าใครเป็นคนกำหนดขนาดมาตรฐานของสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เช่น ทำไมเก้าอี้ต้องสูงเท่านี้ ทำไมโต๊ะต้องสูงเท่านี้ ทำไมเตียงต้องขนาดเท่านี้ ขนาดของห้องต่างๆมีที่มาอย่างไร

และเคยสงสัยมั้ยครับเวลาอยู่บางที่ หรือบางห้องรู้สึกอยู่สบายมากๆ อยู่ได้นานๆ แต่บางห้องรู้สึกอึดอัดคับแคบไม่สะดวก ไม่สบายตัว ไม่สบายใจ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติ มิติพิศวงหรือไสยศาสตร์แต่อย่างใดครับ

เรื่องนี้มีหลักการที่ศึกษามาแล้วกันเป็นเวลานานปี มันคือหลักการง่ายๆ ที่ควรยึดถือเป็นกฎเกณฑ์ฝังใจ เพราะเราจะได้หยิบเอามาใช้เยอะมาก หากเราต้องการสร้างความสบายในการอยู่อาศัย

มันคือหลักการอยู่สบายด้วยการออกแบบและเลือกสรร จัดวาง สิ่งต่างๆภายในห้อง ด้วยความเข้าใจในระยะครับ ซึ่งจะทำได้เราต้องเข้าใจกติกาพื้นฐานของ Anthropometric หรือสัดส่วนระยะของร่างกายมนุษย์เสียก่อน

บ้านอยู่สบาย

น่าเสียดายที่การวัดระยะสัดส่วนเฉลี่ยของมนุษย์นั้น ถูกศึกษาอย่างจริงจังเฉพาะทางชาวตะวันตก มาตรฐานที่เราหยิบยกมาใช้ เลยเป็นมาตรฐานตะวันตก ซึ่งบางทีอาจจะสูง หรือขนาดใหญ่กว่าระยะมาตรฐานของคนไทย แต่ก็ยังดีกว่าหยิบเอามาตรฐานที่เล็กกว่ามาใช้ (จริงๆแล้ว มาตรฐานของญี่ปุ่นก็มีนะ แต่ผมว่าของญี่ปุ่นน่าจะเล็กกว่าของไทยนะ) หรือดีกว่าไม่มีมาตรฐานเอาซะเลย

ความรู้และความเข้าใจในขนาดและระยะมาตรฐานของมนุษย์ คือจุดเริ่มต้น คือส่วนสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มีขนาดที่เหมาะสม และใช้งานสบายได้

นอกจากนี้ ยังสำคัญมากต่อการกำหนดระยะต่างๆ และตำแหน่งการจัดวางสิ่งต่างๆในห้อง ให้เหมาะสม ลงตัว ใช้สบาย และแน่นอน ระยะนี้มีผลมากต่อการกำหนดขนาดห้อง และตำแหน่งการวาง lay out ของห้องด้วย

บ้านอยู่สบายสีสันที่ดึงดูด ควรต้องมีระยะที่สบายด้วย

ถ้าเรารักที่จะแต่งบ้านเอง ชอบที่จะลงทุนในอสังหา หรือจำเป็นต้องเลือกซื้อบ้านหรือคอนโด อย่าดูแค่ความสีสรรและสวยงามครับ เพราะความสวยเปนเพียงมายา ขนาดสิ คือสิ่งสำคัญ 🙂
วันนี้ Mr.Oe เลยจะขอ share เรื่องขนาด – สัดส่วน – ระยะต่างๆ พอ เป็นพื้นฐานนะครับ ดูเรื่องนี้จบแล้ว อย่างน้อยจะไม่ถูกห้องตัวอย่างที่สวยงามหลอกเอาได้ สวยแต่ใช้งานไม่ได้ นี่อยู่ไปก็ช้ำใจครับ อิอิ

ตอนที่ 1 นี้เอาแบบระยะที่เกี่ยวกะในบ้านก่อนนะครับ หลักๆเลยก็มีแค่ระยะ นั่ง ยืน เอื้อม และเดิน ครับ

ระยะอยู่สบายชื่อเรียกระยะ และสัดส่วนต่างๆ ทั้งของชายและหญิง

มีเกือบครบทุกระยะครับ ยืน นั่ง เอื้อม เดี๋ยวดูระยะละเอียดกันต่อไป

ระยะอยู่สบายระยะเอื้อมหยิบของ ผู้ใหญ่และเด็กต่างกัน สำคัญต่อการออกแบบมาก

A-B-C… โูตามตารางนะครับ

ระยะนั่งระยะนั่ง ดูระยะตามตารางข้างล่างนะครับ

ดูตารางข้างล่างตามหมายเลข A-B-C ไปเรื่อยๆนะครับ นี่คือระยะสบายๆ โดยเฉลี่ย ถ้าเราสูงใหญ่ อ้วน หรือตัวเล็กกว่าปกติ ก็ต้องไป บวกลบเอานะครับ ขนาดความสูงของเก้าอี้ พนักพิง ที่วางแขน ก็มีพื้นฐานมาจากระยะเหล่านี้ครับ ใช้กันเป็นมาตรฐาน

ตารางแสดงระยะนั่งตารางแสดงระยะนั่ง มีทั้งหน่วย นิ้ว และ เซนติเมตร ทั้งชายและหญิง

เก้าอี้คนละแบบ แบบนี้มันปรับเอนและเลื่อนได้ จึงมีระยะที่แตกต่าง

ระยะนั่งทำงานสำหรับสาวๆที่นั่งทำงานที่บ้าน หรือเล่นคอม ใช้ระยะนี้ครับ

 

ดูตารางละเอียดข้างล่างครับ

ตารางแสดงระยะนั่งทำงานตารางแสดงระยะนั่งทำงาน หรือเล่นคอม ตัวเล็กอ่านยากไปนิด

ถ้านอนเล่นคอม ก้อข้ามไปนะ 🙂

ระยะนั่งอันนี้เป็นเก้าอี้ปรับเอนได้ executive มีระยะวางเท้าด้วย

ละเอียดเชียว

ระยะนั่งทานข้าวระยะนั่งทานอาหาร ทั้งแบบสบายๆ และแบบเบียดๆ

นั่งสบายๆ ต้องมีระยะเผื่อกางศอกครับ ใช้ระยะต่อคนประมาณ 76 ซม. แต่ถ้านั่งเบียดๆ 61 ซม ก้อพอ น้อยกว่านี้ ก้อคงนั่งตักกันอ่ะครับ

ระยะนั่งระยะนั่งอาร์มแชร์ และระยะเดินผ่าน ระยะเดินสวนกัน

ดูยากนิดนึง ระยะอาร์มแชร์ นี่บอกขนาดที่เหมาะสมนั่งสบายของอาร์มแชร์ แยกรายละเอียดว่าที่วางแขนและพนักพิงขนาดเท่าไรด้วย ส่วนโซฟานั่งกี่คนก็ใช้ระยะ ไหล่สบายๆ หรือประมาณ 75 ซม. ต่อคน ระยะเดินผ่าน ดูระยะไหล่เป็นสำคัญครับ

ระยะหยิบของระยะหยิบของ ทั้งแบบเอื้อมและแบบก้มหยิบ ดูตารางข้างล่างร่วมด้วย ภาพมันต้องถูกหั่นเป็นสองตอนเพราะขนาดมันบังคับครับระยะหยิบของต่อจากข้างบน

มีทั้งระยะของผู้หญิงผู้ชาย และ % activity ที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น

ระยะหยิบของระยะหยิบของต่อจากข้างบน

 

ต่อมาเป็นการจัดโต๊ะทานอาหารนะครับ

ระยะจัดโต๊ะระยะจัดโต๊ะ สำหรับสามคนด้านเดียว จะนั่งหกคนก็เอามาประกบกัน

 

ระยะจัดโต๊ะระยะนั่งหัวโต๊ะแบบสบาย ต้องมีพื้นที่เผื่อ รายละเอียดดูในตารางต่อจากรูปข้างล่าง

นั่งแบบฝรั่งนะครับ นั่งกินมาม่าแบบเราๆ ตรงไหนก้อได้ อิอิ

 

ระยะจัดโต๊ะโต๊ะนั่งหกคนแบบนั่งหัวโต๊ะ ถ้าเอาโต๊ะชนิดนั่งสี่คนมาแล้วเพิ่มนั่งหัวโต๊ะด้วย จะวางจานยาก

ตารางแสดงระยะของสองรูปบน

ระยะจัดโต๊ะตารางแสดงระยะ สำหรับสองรูปข้างบน

 

 

ยังไม่จบนะครับ เดี๋ยวมีต่อ เรื่องระยะอย่างอื่นอีก มีเวลาจะมาอัพเดท ตอนต่อไปครับ 🙂