สวัสดีครับ ชาวเครื่องครัวทุกท่าน วันวาเลนไทน์ไปฉลองกันที่ไหนมาครับ คนมีคู่ก็ขอให้มีความสุขมากๆ คนยังไม่มีคู่ก็ขอให้พบเจอเนื้อคู่ในเร็ววันนะครับ คราวนี้เจาะลึกเครื่องครัวหายไปนานทีเดียว พอดีข่วงนี้ได้เลื่อนตำแหน่ง(แต่เงินเดือนเท่าเดิม T-T) งานเลยยุ่งเป็นทวีคูณ แต่ก็จะพยายามหาเวลามาอัพเดทเรื่องเครื่องครัวต่างๆให้เพื่อนๆทราบกันนะครับ
บทความวันนี้จะออกนอกห้องครัวไปทั่วบ้านบ้าง เพราะช่วงนี้มีงานร่วมกับทางกระทรวงพลังงาน เลยได้ ข้อมูลค่าไฟฟ้าของแต่ละอุปกรณ์ จากศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงาน หอการค้าไทย มาฝากกันครับ ^^
1. การเลือกหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง (ค่าไฟฟ้าต่อ 10ชั่วโมงที่ความสว่างใกล้เคียงกัน)
ดังนั้น Fluorescent T5 จะประหยัดสุด แต่ค่าติดตั้งจะแพงสักนิดครับ เพราะต้องใช้บัลลาสต์อิเล็คทรอนิค ซึ่งราคาค่อนข้างสูง แต่ระยะยาวคุ้มครับ ผมเพิ่งเปลี่ยนหลอดไฟในบริษัทจาก T8 เป็น T5 ไป 300กว่าหลอด J
ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหลายชนิด อ่านต่อกันได้เลยครับ!
2. การเลือกใช้พัดลม (เทียบที่ขนาด 12 นิ้ว ราคาค่าไฟฟ้าต่อ 10ชั่วโมง)
3. การเลือกใช้เครื่องปรับอากาศ (ค่าไฟฟ้าต่อ 10 ชั่วโมง) ควรแบ่งและกั้นห้องที่อยู่ใช้งานอย่างชัดเจน ให้เหมาะสมกับขนาดของเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีค่าสูงสุดในชีวิตประจำวันครับ
9000BTU |
ค่าไฟฟ้า 24.64บาท |
12000BTU |
ค่าไฟฟ้า 28.00บาท |
18000BTU |
ค่าไฟฟ้า 56.44บาท |
24000BTU |
ค่าไฟฟ้า 70.00บาท |
4. การเลือกใช้กระติกต้มน้ำร้อน (ค่าไฟฟ้าต่อ 10ชั่วโมง)
ขนาด
ค่าไฟฟ้า
2 ลิตร
24 บาท
2.5 ลิตร
26 บาท
3.2 ลิตร
28.80 บาท
ควรเลือกใช้กระติกต้มน้ำแบบร้อนแล้วตัดไฟฟ้าทันทีเมื่อได้น้ำร้อนในระดับน้ำเดือด แทนการใช้กระติกน้ำร้อนที่มีระบบอุ่นน้ำไว้ตลอดเวลา เพราะค่าไฟฟ้าต่อการใช้ไฟฟ้า 10ชั่วโมงนั้นสูงมาก ในปัจจุบันจะเห็นบางที่จำหน่ายเครื่องทำน้ำร้อนแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะประหยัดไฟที่สุดและร้อนเร็วมาก แต่ทางกระทรวงยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนครับ
5. การเลือกหม้อหุงข้าวไฟฟ้า (ค่าไฟฟ้าต่อ 1 วัน วันละ 3มื้อ มื้อละ 20นาที)
ขนาด
ค่าไฟฟ้า
0.5 ลิตร
1.20 บาท
1.0 ลิตร
1.80 บาท
1.5 ลิตร
2.12 บาท
2.5 ลิตร
4.20 บาท
4.0 ลิตร
4.20 บาท
6. การเลือกใช้เตารีด (ค่าไฟฟ้าต่อ 1 ชั่วโมง)
เตารีดธรรมดา
ค่าไฟฟ้า 4.00 บาท
เตารีดไอน้ำขนาดเล็ก
ค่าไฟฟ้า 5.32 บาท
เตารีดไอน้ำขนาดใหญ่
ค่าไฟฟ้า 7.20 บาท
7. การเลือกใช้โทรทัศน์ (ค่าไฟฟ้าต่อ 10 ชั่วโมง)
จอแบน 20นิ้ว
2.80 บาท
จอแบน 25นิ้ว
6.72 บาท
จอ LCD 26นิ้ว
3.48 บาท
จอ LCD 46นิ้ว
7.64 บาท
จอ LED 26นิ้ว
1.96 บาท
จอ LED 46นิ้ว
4.00 บาท
8. การเลือกใช้ตู้เย็น ค่าไฟฟ้า 4.00บาทต่อวัน ที่ความจุขนาด 5คิว
- ควรตั้งห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 15 cm
- ควรตั้งตู้เย็นหลีกเลี่ยงแหล่งที่จะเกิดความร้อน เช่น แสงแดด เตาแก๊ส
- ไม่ควรเปิดตู้เย็นบ่อย และหมั่นตรวจสอบยางขอบประตูที่ป้องกันความเย็นไม่ให้รั่วไหล
- ควรใส่ของในตู้เย็นไม่เกิน 90%ของความจุตู้เย็น
- หลีกเลี่ยงการนำอาหารร้อนเข้าตู้เย็นทันที
- สมาชิกคนแรกของบ้านใช้ตู้เย็นขนาด 2.5คิว ถ้ามีสมาชิกมาเพิ่ม ให้เพิ่ม 1คิวต่อคน จะกำลังพอดี
9. การเลือกใช้เครื่องซักผ้า (ค่าไฟฟ้าต่อ 1 ชั่วโมง) ควรเลือกใช้เครื่องซักผ้าที่ไม่มีเครื่องอบแห้ง เพราะประเทศไทยภูมิอากาศร้อน และยังมีค่าไฟฟ้าถูกกว่าชนิดมีเครื่องอบแห้งมาก
ขนาด 6.0 กิโลกรัม ไม่มีเครื่องอบแห้ง | ค่าไฟฟ้า 1.52 บาท |
ขนาด 5.0 กิโลกรัม มีเครื่องอบแห้ง | ค่าไฟฟ้า 12.00 บาท |
10. การเลือกใช้เครื่องเป่าผม (ค่าไฟฟ้าต่อ 10นาที)
11. การเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่น (ค่าไฟฟ้าต่อ 1 ชั่วโมง)
เครื่องทำน้ำอุ่นขนาดเล็ก
ค่าไฟฟ้า 13.20 บาท
เครื่องทำน้ำอุ่นขนาดกลาง
ค่าไฟฟ้า 18.00 บาท
เครื่องทำน้ำอุ่นขนาดใหญ่
ค่าไฟฟ้า 24.00 บาท
นอกจากเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า ในตลาดเริ่มมีขายเครื่องทำน้ำอุ่นแก๊ส ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าไฟฟ้าประมาณครึ่งนึงด้วยครับ
ใครที่กำลังสร้างบ้านใหม่หรือตกแต่งปรับปรุงบ้านก็อย่าลืมพิจารณาการใช้พลังงานในระยะยาวด้วยนะครับ จะได้ช่วยกันลดโลกร้อน แล้วพบกันครั้งหน้าครับ ^^
Credits: ศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงาน หอการค้าไทย, รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต