ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นเคยและรู้จักกับรูปแบบการก่อสร้างแบบ Precast Concrete กันเป็นอย่างดีนะครับ เพราะมีให้เห็นทั้งในโครงการรูปแบบแนวราบและคอนโดสูงกันอยู่ถมเถไป ทั้งใน Developer เจ้าใหญ่หรือเจ้าเล็กก็เริ่มหันมานิยมใช้รูปแบบนี้กันให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ  และที่สำคัญคือเป็นรูปแบบการก่อสร้างที่ได้รับการยอมรับและมีความนิยมอย่างสูงในต่างประเทศด้วย

โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง CPAC Low-rise Building Solution จาก CPAC Green Solution ที่เป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารจากชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ Precast Concrete ที่ “ครบและจบในที่เดียว” โดยจะผลิตจากโรงงาน แล้วนำมาประกอบหรือติดตั้งที่หน้างาน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการก่อสร้าง โดยจะมีจุดเด่นในการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เน้นเรื่องการลดเศษวัสดุเหลือใช้ที่หน้างาน ไม่มีฝุ่นและมลภาวะ แถมยังเข้ามาช่วยพัฒนาโครงการทุกขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบ, ผลิต, ขนส่ง, ติดตั้ง, และบริหารโครงการ โดยจะมีการควมคุมคุณภาพตลอดทุกขั้นตอน ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย และใช้เทคโนโลยีการผลิตจากประเทศเยอรมันนี และบริการติดตั้งโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ (ปัญหาที่มักจะมีให้เห็นจากรูปแบบการก่อสร้างแบบ Precast Concrete ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะฝีมือช่างที่ทำการประกอบหน้างาน ดังนั้นในขั้นตอนนี้ก็ถือว่าหายห่วงไปได้เลยครับ) โดย Product ของ CPAC Low-rise Building Solution จะมีทั้งแนวราบและอาคารสูงเลยครับ แต่ก่อนจะเข้าไปชมแบบบ้าน มาดูมาตรฐานและขั้นตอนการผลิตของ CPAC Low-rise Building Solution จาก CPAC Green Solution กันก่อนครับ

ขั้นตอนการออกแบบ

CPAC Low Rise Building Solution จาก CPAC Green Solution จะมีทีมงานวิศวกรที่มีความรู้ความชํานาญร่วมออกแบบงานก่อสร้าง Precast Concrete ให้อย่างมืออาชีพ โดยใช้โปรแกรมการเขียนแบบและออกแบบในระบบ BIM (Building Information Modeling) แสดงผลในรูปแบบโครงสร้าง 3 มิติ ให้ความรวดเร็วและผลลัพธ์ที่แม่นยํา จึงมั่นใจได้ในความแข็งแรงของโครงสร้างที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม (โดยอ้างอิงมาตรฐาน ACI 318-08) ทำให้เราสามารถเลือกปรับแบบและรายละเอียดได้เองด้วย

Image 1/10
Pallet : คือแบบเหล็กสําหรับหล่อคอนกรีตที่มีขนาดใหญ่ถึง 4.0x12.5 เมตร สําหรับการผลิตในระบบ Circulating Line โดยแบบเหล็กจะเคลื่อนที่ไปยัง Station ต่าง ๆ ภายในโรงงาน *แบบเหล็กนี้เป็นแผ่นเหล็กชิ้นเดียว (Single Sheet) ผลิตจากประเทศเยอรมนี ไร้รอยต่อ ซึ่งส่งผลให้ ชิ้นงานแต่ละชิ้นมีความเรียบสม่ำเสมอ

Pallet : คือแบบเหล็กสําหรับหล่อคอนกรีตที่มีขนาดใหญ่ถึง 4.0x12.5 เมตร สําหรับการผลิตในระบบ Circulating Line โดยแบบเหล็กจะเคลื่อนที่ไปยัง Station ต่าง ๆ ภายในโรงงาน *แบบเหล็กนี้เป็นแผ่นเหล็กชิ้นเดียว (Single Sheet) ผลิตจากประเทศเยอรมนี ไร้รอยต่อ ซึ่งส่งผลให้ ชิ้นงานแต่ละชิ้นมีความเรียบสม่ำเสมอ

ขั้นตอนการผลิตแบบ Fully Automatic และติดตั้ง

เป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตจากประเทศเยอรมันนี ได้คุณภาพสม่ำเสมอตามมาตรฐาน PCI Code จากประเทศสหรัฐอเมริกา การผลิตด้วยเทคโนโลยีระบบ Fully Automatic จะช่วยลดปัญหาความผิดพลาดที่เกิดจากแรงงานคนและความบกพร่องของอุปกรณ์ ทําให้ได้ชิ้นส่วนคอนกรีตสําเร็จรูปที่มีความถูกต้อง แม่นยํา ทั้งในเรื่องขนาด ตําแหน่งของช่องเปิดและวัสดุฝังต่าง ๆ รวมทั้งได้ผิวคอนกรีตที่เรียบเนียนสม่ำเสมอ อีกทั้งยังจัดการการก่อสร้างที่แคร์สิ่งแวดล้อมด้วยการลดข้อผิดพลาดในการสร้าง ช่วยลดขยะและเศษวัสดุเหลือใช้ในการก่อสร้าง

นอกจากนั้นยังมีการสำรวจเส้นทาง, ขนส่ง และนำมาติดตั้งหน้างานด้วยอุปกรณ์และวัสดุคุณภาพสูงมาตรฐานยุโรปจาก CPAC Green Solution สําหรับยกและเชื่อมต่อชิ้นงาน

ขั้นตอนการบริหารโครงการ

งานบริหารโครงการมีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่กระบวนการ สํารวจเส้นทาง การขนส่ง และติดตั้ง รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพการติดตั้งที่หน้างาน โดยทีมงาน CPAC Green Solution ที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างระบบโครงสร้าง Precast Concrete ทั้งงานบ้านและอาคาร และผ่านการอบรมระบบงานติดตั้งและความปลอดภัยในการทํางานตามมาตรฐาน ของ CPAC Green Solution Training Center และระหว่างการทำงานก็จะมีระบบการตรวจสอบคุณภาพงาน ตามมาตรฐาน CPAC Green Solution ด้วยซอฟต์แวร์อันทันสมัยในการบริหารโครงการ และควบคุมงานอย่างมีประสิทธิภาพ

หลังจากดูขั้นตอนในการผลิตและก่อสร้างกันแล้ว ลองมาดูแบบของทาง CPAC Low Rise Building Solution จาก CPAC Green Solution กันบ้างครับ ซึ่งอย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าที่นี่จะเป็น One Stop Service คือเสร็จทุกอย่างได้จากที่นี่เลย โดยมีขั้นต่ำไม่เยอะเลยครับ ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยก็สามารถเลือกลงทุนก่อสร้างโครงการได้ง่าย ๆ เลย ไปดูรูปต่าง ๆ กัน

ประเภทแนวราบ

แนวราบจะมีแบบบ้านให้เลือก 3 แบบ โดยจะแบ่งออกเป็น บ้านเดี่ยว 1 ชั้น, บ้านเดี่ยว 2 ชั้น และทาวน์โฮม 2 ชั้น เริ่มต้นรับงานขั้นต่ำเพียง 8 ยูนิตเท่านั้น ลองไปชมรายละเอียดของบ้านแต่ละแบบกันครับ

บ้านเดี่ยว 1 ชั้น

แบบบ้านชั้นเดียวจะมีพื้นที่ใช้สอย 105 ตร.ม. ฟังก์ชัน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำขนาดตัวบ้านกว้าง 15 x 17 เมตร เป็นบ้านขนาดที่เหมาะกับครอบครัวขนาดเล็กที่อยู่กันแบบอบอุ่น ได้พื้นที่โถงกลางเพดานสูงสำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน ส่วนห้องนอนก็แยกออกไปได้ความเป็นส่วนตัว

ผังภายในตัวบ้านแยกสัดส่วนออกมาได้ดีทีเดียวครับ โดยจะมีทางเข้าหลักของบ้านอยู่ทางฝั่งหน้าบ้าน 1 จุด เข้ามาจะเจอกับพื้นที่ Common Area ขนาดใหญ่ยาวไปถึงหลังบ้าน ระกอบไปด้วยพื้นที่ห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหาร พื้นที่เตรียมอาคาร และครัวปิดด้านในที่ช่วยให้เราสามารถประกอบอาหารได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลกลิ่นและควันจะไปรบกวนพื้นที่อื่น ๆ ภายในบ้าน ส่วนตัวบ้านด้านข้างจะแยกออกไปเป็นส่วน Living Area ที่ประกอบไปด้วยห้องนอน 3 ห้อง โดยจะมีห้องนอน Master Bedroom ที่ได้ห้องน้ำในตัวอยู่ตรงกลาง ส่วนห้องนอนอีก 2 ห้อง จะใช้ห้องน้ำร่วมกันกับพื้นที่ด้านนอกครับ

บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

หรือสำหรับใครที่อยากได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่ม ก็ลองมาชมบ้านเดี่ยว 2 ชั้นหลังนี้ดูครับ จะมีพื้นที่ใช้สอย 157 ตร.ม. ประกอบไปด้วย 4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ และมีขนาดตัวบ้านที่กว้าง 12 x 16.5 เมตร จัดออกเป็นทรง 4 เหลี่ยมเกือบ ๆ จะจัตุรัส โดยบ้านหลังนี้จะเป็นบ้านที่รองรับผู้สูงอายุได้ด้วย เพราะมีห้องนอนที่ชั้นล่าง ไม่ต้องเดินขึ้นลงบันไดเลย

ผังของตัวบ้านแยกสัดส่วนของพื้นที่ค่อนข้างชัดเจน โดยชั้น 1 จะเป็นโซนของ Common Area ซะเป็นส่วนใหญ่ ประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหาร และได้ครัวปิดมาเช่นเดิม สามารถประกอบอาหารได้เต็มที่ ที่ผมชอบคือมีส่วนของห้องนอนชั้น 1 มาให้ที่อยู่ติดกับห้องน้ำ เข้าใช้งานได้ง่าย และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างได้ความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่อื่น ๆ ส่วนชั้น 2 มาจะเป็น Living Area ทั้งหมดครับ ประกอบไปด้วยห้องนอนอีก 3 ห้อง ที่ได้ห้องน้ำในตัวทุกห้อง ทำให้ได้ความเป็นส่วนตัวสูงเลย

ทาวน์โฮม 2 ชั้น

เป็นทาวน์โฮม 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 101 ตร.ม. ประกอบไปด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ หน้ากว้าง 6 เมตร และยาว 16.5 เมตร ซึ่งจะมีจุดเด่นตรงที่แบ่งสัดส่วนพื้นที่ภายในได้เป็นอย่างดี ชั้น 1 จะเป็นพื้นที่ Common Area ทั้งหมด ประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหาร และครัวปิดด้านใน โดยจะมีพื้นที่ห้องทำงานที่บริเวณชานพักบันไดให้ด้วย ส่วนห้องน้ำจะอยู่ใต้บันไดครับ ขึ้นมาที่ชั้น 2 จะเป็นพื้นที่ Living Area ทั้งหมด แบ่งออกเป็นห้อง Master Bedroom ที่มีห้องน้ำในตัวทางฝั่งหน้าบ้าน และห้องนอนรอง 2 ห้อง ที่ใช้ห้องน้ำร่วมกันอีกห้องทางฝั่งหลังบ้าน

ประเภทอาคารสูง

ส่วนอาคารสูงจะเป็น Low Rise ไม่เกิน 8 ชั้น ขนาดโฉนดที่ดินประมาณ 180 ตร.วา จำนวนห้องจะอยู่ที่ 63-72 ยูนิต ขนาดห้องแบบ Studio ประมาณ 22.10 ตร.ม. เป็นอาคารแนวสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ออกแบบมาให้มีพื้นที่ส่วนกลางด้านหน้า ทำหน้าที่เป็นทั้ง Lobby และโถงลิฟต์ไปในตัว มีบันไดหนีไฟทางฝั่งตรงข้าม จากนั้นจึงเป็นแนวทางเดินยาวเข้าไปแบบ Double Corridor มีห้องพักอาศัยประกบทั้งสองฝั่งของแนวทางเดิน ส่วนด้านในสุดจะมีช่องแสงให้ด้วยครับ


และหากใครที่เคยได้ยินแต่ไม่ทราบว่า Precast Concrete นั้นคืออะไร หรือที่พอจะทราบแต่ยังมีคำถามและยังไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ อยากให้ตามผมเข้ามาทำความรู้จักกันเพิ่มสักนิดนึงครับ

Precast Concrete คืออะไร ?

เช่นเดียวกันกับนวัตกรรมใหม่ ๆ บนโลกใบนี้ที่ถูกคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเดิม ๆ และอำนวยความสะดวกให้ง่ายยิ่งขึ้น… ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นกันก่อนสักนิดนะครับ ว่ารูปแบบการก่อสร้างเดิมอย่างก่ออิฐฉาบปูนนั้นจะใช้หลักการของ “เสาและคาน” ในการรับน้ำหนัก จากนั้นก็ก่อและฉาบผนังเพื่อกั้นและแบ่งสัดส่วนพื้นภายใน ซ่อนงานระบบต่าง ๆ ไว้ทั้งในผนังและฝ้า โดยการก่อสร้างลักษณะนี้นั้นจัดเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ มีขั้นตอนที่เยอะและใช้เวลานาน ดังนั้นรูปแบบการก่อสร้างแบบ Precast Concrete นั้นจึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อลดข้อผิดพลาดของรูปแบบการก่อสร้างเดิม และช่วยเพิ่มความสะดวกในการก่อสร้างให้มากยิ่งขึ้น

Precast Concrete นั้นก็คือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักไปในตัว โดยจะถูกออกแบบและหล่อแต่ละชิ้นที่โรงงาน จากนั้นจึงนำมาประกอบกันหน้างาน มีทั้งพื้น ผนัง บันได และส่วนที่อยากให้มีภายในบ้าน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการก่อสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนแล้ว จะเห็นว่าการก่อสร้างรูปแบบ Precast Concrete นั้นจะลดขั้นตอนหน้างาน, ระยะเวลา, จำนวนคนและความชำนาญของช่างในหลาย ๆ ส่วน อีกทั้งยังสามารถควมคุมคุณภาพในการก่อสร้าง, คาดการณ์ระยะเวลาการทำงานและจบงานได้ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดเรื่องชวนปวดหัวอีกหลายเรื่องเลยล่ะครับ

เราเปรียบเทียบข้อได้เปรียบในแง่ของการก่อสร้างกันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูในแง่ของการใช้งานในพื้นที่พักอาศัยกันบ้าง ว่ารูปแบบ Precast Concrete นั้นมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างจากรูปแบบการก่อสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนอย่างไร

ข้อดี

  • ความแข็งแรง : ผนัง Precast Concrete เป็นผนังที่ออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักไปในตัว เพราะเป็นโครงสร้างที่ไม่มีเสา ดังนั้นจึงมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ โดยจะแข็งแรงกว่าผนังก่ออิฐทั่วไป 3-5 เท่า รับแรงได้ไม่น้อยกว่า 400 ksc ซึ่งนับว่าแข็งแรงที่สุดในระบบการก่อสร้างปัจจุบันเลยก็ว่าได้
  • บ้านไม่มีเหลี่ยมมุมเสา : อย่างที่บอกไปว่าระบบนี้ไม่มีเสา ดังนั้นทำให้ตามมุมห้องจะไม่มีเหลี่ยมมุมออกมา จึงง่ายแก่การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้ลงตัวและใช้พื้นที่ได้คุ้มค่ายิ่งขึ้นครับ
  • ต้านทานไฟสูง : ต้านทานไฟได้สูงไม่น้อยกว่า 2 ชม. และไม่ลามไฟ เนื่องจากผนัง Precast Concrete ผลิตจากคอนกรีตที่มีความหนาแน่นสูง จึงทนไฟและเป็นผนังกันไฟได้
  • ต้านทานการซึมน้ำได้ดี : ป้องกันการซึมนํ้าได้ดี เนื่องจากใช้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติ ในการ
    ชับนํ้าสูง จึงช่วยลดปัญหาการหลุดร่อนของสีที่มีสาเหตุมาจากความชื้นภายนอก
  • ป้องกันเสียงได้ดี : มีควาความทึบเสียงสูง จึงสามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก และเสียงออกจากภายในได้เป็นอย่างดี
  • ไม่ค่อยมีรอยร้าวบนผนัง : ผนังจะถูกออกแบบมาเพื่อวางประตู-หน้าต่าง และตำแหน่งของการเดินท่อน้ำ, ท่อไฟ มาให้เสร็จและจบที่โรงงานเลย ดังนั้นเรื่องของรอยร้าวผิวผนังต่าง ๆ ก็จะแทบไม่เห็นในผนัง Precast เลย

ข้อเสีย

  • การต่อเติมหรือดัดแปลงจะทำได้ยาก : เพราะตัวผนังทำหน้าที่รับน้ำหนักด้วย การเจาะหรือทุบจึงจะทำให้เสียประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักของผนังไป เปรียบได้กับเราทุบเสาบ้านนั่นเอง
  • การระบายอากาศ : ด้วยความที่วัสดุของผนังเป็นคอนกรีตที่มีความทึบตันมากกว่า ย่อมมีข้อเสียคือเรื่องของการระบายอากาศ เมื่อเทียบกับผนังก่ออิฐ (แต่จริง ๆ แล้วหน้าที่หลักในระบายอากาศก็ยังเป็นของหน้าต่าง และพัดลมดูดอากาศอยู่ ดังนั้ ถ้ากังวลก็สามารถติดตั้งพัดลมดูดอากาศเพิ่มได้ครับ)
  • ปัญหาการรั่วซึมตามรอยต่อ : อย่างที่ทราบกันว่าผนัง Precast จะมาจากโรงงานผลิตเป็นแผ่น ๆ แล้วนำมาประกอบที่บริเวณหน้างาน ดังนั้นในขั้นตอนการประกอบนั้นจะต้องพึ่งพาฝีมือของช่าง รวมถึงการฉาบเรียบให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วย ทำให้ปัญหาของ Precast ส่วนใหญ่จะอยู่ที่รอยต่อระหว่างแผ่น Precast นั่นเอง


เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับโครงสร้างแบบ Precast Concrete เราจะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วบ้านที่สร้างด้วยผนัง Precast นั้นก็มีข้อดีมากมายเช่นกัน และในส่วนของข้อเสียหรือข้อจำกัดนั้นก็มีบางข้อที่เราสามารถป้องกันให้ไม่กระทบต่อการอยู่อาศัยได้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลไปว่าการที่เราซื้อบ้านรูปแบบ Precast จะเป็นบ้านที่ไม่ดีเท่าบ้านก่ออิฐฉาบปูนเลย และสำหรับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่ทำความรู้จักกับระบบการก่อสร้างแบบ Precast Concrete เบื้องต้นกันแล้วสนใจจะก่อสร้างเพื่ออยู่อาศัยเองหรือเพื่อลงทุนธุรกิจทางด้านอสังหาริมทรัพย์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ CPAC Contact Center
โทร. 02-555-5555 หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://web.cpac.co.th

สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชนสำหรับคนที่กำลังจะซื้อหรือวางแผนที่จะลงทุนกับบ้านแบบ Precast Concrete ไม่มากก็น้อยนะครับ