Skyscrapper หรือ ตึกระฟ้า หมายถึงตึกที่มีความสูงเริ่มต้น 150 เมตร ส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า High Rise ปัจจุบันเริ่มใช้คำว่า “Supertall” สำหรับตึกที่สูงกว่า 300 เมตร และ “Megatall” สำหรับตึกที่สูงกว่า 600 เมตร
ต้นกำเนิดของ Skyscrapper เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังจากความสำเร็จในการพัฒนาเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และปั๊มน้ำ รวมถึงการสร้างลิฟท์ ตึกแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือ Equitable Life Building ในนิวยอร์ค แม้ว่าจะสูงแค่ 40 เมตร หลายคนก็พร้อมใจยกตำแหน่ง The First Skyscrapper ให้ เนื่องจากเป็นตึกแรกที่ติดตั้งลิฟท์ไว้ในอาคาร และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตึกสูงในยุคต่อๆ มา
จุดเด่นอีกประการของ Equitable Life Building คือหลังคากันไฟ แต่ในปี 1912 เกิดไฟไหม้ในตึก วันนั้นลมค่อนข้างแรง ทำให้ไฟลุกลามเร็วมาก รถดับเพลิงหลายคันก็เอาไม่อยู่ และระหว่างที่ฉีดน้ำเข้าไปในตึก อุณหภูมิที่ลดลงกะทันหันทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง เกาะอยู่ตามตึก โครงสร้างบางส่วนพังลง เจ้าของตึกตัดสินใจสร้าง Equitable Life Buildingใหม่แทนที่ตึกเดิม คราวนี้เพิ่มความสูงเป็น 40 ชั้น
เมื่อกาลเวลาผ่านไป วิวัฒนาการก่อสร้างพัฒนาขึ้น Skyscrapper รูปทรงแปลกๆ ก็เริ่มเกิดขึ้น สร้างสีสันให้เส้นขอบฟ้าตามเมืองใหญ่ๆ และ…วันนี้เราจะขอพาไปชม The Top 10 Most Impactful Skylines จากการจัดอันดับของ Emporis เว็บไซต์ที่รวบรวมสถิติของตึกสูงทั่วโลก ส่วนจะมีประเทศไหนบ้าง…ตามมาเลยค่ะ
เกร็ดเล็กอสังหาฯ: ว่าด้วยเรื่องของ Air Right
เคยสงสัยกันบ้างมั้ยคะ ว่าทำไมตึกสูงในนิวยอร์คถึงสร้างได้เรื่อยๆ บางตึกว่าสูงแล้ว ก็ยังมีตึกที่สูงกว่าขึ้นมาอีก ไม่รู้ว่าทำแบบนี้ไม่ผิดกฏหมายรึยังไงนะ?
Air Right คือ สิทธิ์บนอากาศเหนือที่ดินของเรา จริงแล้วคำนี้มีที่มาจากกฏหมายโรมันในศตวรรษที่ 13 ที่แปลเป็นภาษาโบราณได้ว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินผืนนั้น ก็ยอมครอบครองอากาศเหนือผืนดินนั้นด้วย” แต่หลังจากเริ่มมีเครื่องบิน ก็เริ่มเกิดการถกเถียงกันเรื่องนี้ จนนำไปสู่ข้อสรุปว่า นับจากตึกขึ้นไปประมาณ 300 เมตร ถือเป็นพื้นที่สาธารณะ เครื่องบินสามารถบินผ่านได้
เนื่องจากความแออัดของนิวยอร์คทำให้เริ่มมีการหยิบ Air Right มาพิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่ง คือ…ตามหลักของผังเมืองบริเวณนี้จะสามารถสร้างตึกสูง 30 ชั้น แต่เจ้าของที่ดินตัดสินใจสร้างแค่ 3 ชั้น อีก 27 ชั้นที่เหลือเขาสามารถขาย Air Right ให้กับที่ดินบริเวณเดียวกันได้ ซึ่งคนที่ซื้อไปจะสามารถสร้างตึกสูงได้ถึง 57 ชั้น
ในปี 2005 มีคนขาย Air Right ของโบสถ์แห่งหนึ่งในนิวยอร์ค ด้วยราคา 430$/ ตร.ฟ โดยทั้งหมดคิดเป็นเงิน 30 ล้านดอลลาร์ แต่…ไม่ใช่ว่าที่ดินทุกผืนในนิวยอร์คจะสามารถขายได้ มีการระบุในผังเมืองอยู่ว่าพื้นที่ตรงไหนขายได้และขายไม่ได้ และก่อนที่เราจะทำเรื่องซื้อ-ขาย ผู้ซื้อต้องเสนอโครงการพัฒนาที่ดินให้ทางการพิจารณาก่อน ถ้าพิจารณาแล้วเกิดโทษต่อชุมชนมากกว่า โครงการนี้ก็เป็นอันตกไป
ในอนาคต หลังจากการพัฒนาที่ดินเริ่มถึงจุดอิ่มตัว Air Right น่าจะเริ่มถูกนำมาใช้ในหลายๆ ประเทศ ถึงเวลานั้น ผังเมืองจะเปลี่ยนไปแค่ไหน เราก็คงต้องดูกันต่อไป 😉