การพัฒนาสังคมเมืองเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงทั่วโลก แต่ละประเทศต่างมีแผนพัฒนาเมืองและชุมชนของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจและชุมชนผู้อยู่อาศัย นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างแรงกดดันให้ผู้นำชุมชนต้องวางแผนระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตต่อไปได้ โครงการต่างๆ จึงก่อให้เกิดคำถามที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และสังคมต้องร่วมกันหาคำตอบโดยเร็วที่สุด
“นิวยอร์ค ไฮ ไลน์” เป็นทางรถไฟยกระดับที่เชื่อมสู่โรงงานและคลังสินค้า
ในยุครุ่งเรืองของการพัฒนาเมืองนิวยอร์คในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 (ปีพ.ศ.2473) เคยได้รับการขนานนามว่าเป็นที่สุดแห่งนวัตกรรมที่ทันสมัย ต่อมา ทางรถไฟสายนี้ได้ถูกยกเลิกและปล่อยให้รกร้าง จนกระทั่งในปี 1999 (ปีพ.ศ.2542)
ชาวนิวยอร์ค 2 คนคือ นายโจชัว เดวิด และนายโรเบิร์ต แฮมมอนด์ เล็งเห็นโอกาสในการนำพื้นที่นี้กลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งกับโปรเจกต์ที่ผสมผสานระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย แผนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน จึงนำไปสู่การก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร นั่นก็คือ องค์กร Friends of The High Line
และเมื่อเร็วๆ นี้ นายโจชัว เดวิด เดินทางมากรุงเทพมหานคร เพื่อแชร์เรื่องราวสุดพิเศษเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ The High Line จากเส้นทางรถไฟลอยฟ้าอันเสื่อมโทรมจนกลายมาเป็นสวนสาธารณะและเส้นทางเดินเท้าที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีความยาวถึง 2.3 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบัน สวนลอยฟ้าแห่งมหานครนิวยอร์คนี้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 5ล้านคนต่อปีให้ก้าวไปสู่สถานที่ยอดฮิตในดวงใจของชาวนิวยอร์คและนักท่องเที่ยว และยังได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาคธุรกิจและบุคคลที่มีชื่อเสียง อาทิ ไมเคิล บลูมเบิร์ค อดีตนายกเทศมนตรีของมหานครนิวยอร์ค รวมทั้งนักแสดงสาว ซาร่า เจสสิกา พาร์คเกอร์
นายโจชัว เดวิด ได้พูดคุยและพบปะกับตัวแทนจากภาครัฐและภาคเอกชนระหว่างการเยี่ยมชมสำนักงานขายโฟร์ซีซั่นส์ ไพรเวทเรสซิเด้นซ์ กรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และได้สังเกตถึงความคล้ายคลึงกันระหว่าง The High Line กับโครงการฟื้นฟูพื้นที่ริมน้ำยานนาวา โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design & Development Centre) หรือ UddC “ความสำเร็จของโครงการอย่าง The High Line หรือโครงการที่ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) กำลังพัฒนาอยู่ ยังคงต้องการความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าปราศจากความร่วมมือเหล่านี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่โครงการต่างๆ จะประสบความสำเร็จอย่างที่เป็นอยู่ ดังนั้น คนทำงานที่มีเป้าหมายร่วมกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในการช่วยเติมเต็มชีวิตให้กับผืนน้ำและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชุมชนริมน้ำ” นายโจชัวกล่าว
นายเดวิด โรบินสัน ผู้อำนวยการ Bangkok Rivers Partners (BRP) หนึ่งในกลุ่มที่มุ่งมั่นพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นจุดหมายปลายทางของชาวไทยและชาวต่างชาติ ดึงดูดความสนใจนักธุรกิจ และเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ริมน้ำ ได้ยกตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวริมน้ำทั่วโลกมากมายที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการชุบชีวิตพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในเมืองให้มีชีวิตใหม่ ซึ่ง Bangkok Rivers Partners (BRP) กำลังส่งต่อแรงบันดาลใจนี้สู่โครงการริมน้ำยานนาวา กรุงเทพมหานครเช่นกัน
บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ หนึ่งในบริษัทเอกชนที่เป็นผู้สนับสนุนหลักในการเดินทางของนายเดวิดสู่กรุงเทพมหานครในครั้งนี้ และเมื่อเร็วนี้ๆ ได้เปิดตัวโครงการเจ้าพระยา เอสเตท โครงการริมน้ำที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มูลค่ากว่า 32,000 ล้านบาท ประกอบด้วยโรงแรม โฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพ ณ แม่น้ำเจ้าพระยา และโฟร์ซีซั่นส์ ไพรเวท เรสซิเด้นซ์ กรุงเทพ ณ แม่น้ำเจ้าพระยา บนพื้นที่ 35-2-68 ไร่ มีพื้นที่ติดริมแม่น้ำยาวตลอดแนว 350 เมตร ซึ่งจะทำให้พื้นที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2561
นางสาวขวัญฤดี มณีวงศ์วัฒนา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร เปิดเผยว่า หนึ่งในองค์ประกอบหลักของการออกแบบโครงการเจ้าพระยา เอสเตทคือ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นระยะยาวของบริษัทที่มีต่อคนไทยทั้งประเทศ จุดประสงค์ของโครงการเจ้าพระยา เอสเตทไม่ใช่แค่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับที่พักอาศัยริมน้ำในกรุงเทพมหานครและเอเชีย แต่ยังทำให้พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแถบนั้นกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง หลังจากที่เรามีโอกาสได้พัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ เรามีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะสร้างประสบการณ์ที่ดีและพิเศษที่สุดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะเราอยากเห็นกรุงเทพมหานคร เมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เป็นหนึ่งในเมืองที่มีพื้นที่ริมน้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก