Untitled_Panorama11

ถึงเวลาที่ผู้เกี่ยวข้องอย่าง สำนักงานการโยธาจะคุมเข้มมาตรฐานการตรวจสอบอาคารที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายมากขึ้น เพราะล่าสุดเร่งเช็กบิลตึกสูงกว่า 5,000 อาคาร ทั่วทั้งกรุงเทพฯ ที่เสี่ยงเกิดอันตราย  แต่เบี้ยวการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอาคารทั้งระบบอุปกรณ์ โครงสร้างความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งหลังจากวันที่ 25 ต.ค. 56 นี้ ก็จะครบ 1  ปี และเตรียมจะกระจายการตรวจสอบเพิ่มอีก 50 เขต และหากรายใดเบี้ยวก็เตรียมโดนปรับ จับหรือทั้งจำทั้งปรับได้เลย

195360

ภาพ: กรณีตึกเอียงหลังห้าง Zeer รังสิต เมื่อช่วงเมษายน 2556 ที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้ นายพินิต เลิศอุดมธนา  ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร  สำนักงานการโยธา เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินคดีกับเจ้าของอาคารประเภทอยู่อาศัยรวมคอนโดฯ หอพัก อพาร์ตเมนต์ ขนาดตั้งแต่ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป แต่ไม่เกิน

5 ,000 ตร.ม. ซึ่งมีทั้งหมด 10,000 อาคาร ที่อยู่ในข่ายต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548 และมีผลบังคับใช้จริง พ.ศ. 2550 ที่ออกตามความใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งอาคาร

ดังกล่าวกำหนดต้องยื่นรายงานผลการตรวจสอบความปลอดภัยในอาคาร ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. 55  ตามที่กฎหมายกำหนด คือ

1.ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

2.ระบบและอุปกรณ์ประกอบอาคาร

3.ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร

4.ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร

โดยจะต้องจ้างนิติบุคคลหรือบุคคลเพื่อรับตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง แต่ปรากฎว่า ใกล้ครบ 1 ปี วันที่ 25 ต.ค. 56 มีรายงานยื่นผลการตรวจสอบมาเพืยง ครึ่งเดียวคือ 5,000 อาคารเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้สำนักโยธา กทม. ต้องทำหนังสือแจ้งเตือนและเตรียมดำเนินคดีกับเจ้าของอาคารดังกล่าว หากใครไม่ส่งรายงานการตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน วันละ 10,000 บาท จนกว่าจะจ้างนิติบุคคลรับตรวจสอบอาคารดำเนินการ

ขณะเดียวกันในช่วงที่ยังไม่จัดหาที่ปรึกษารับตรวจสอบอาคาร ในเวลาต่อมาหากตรวจพบว่า  อุปกรณ์ในอาคารเกิดชำรุดหรือเกิดไฟไหม้ กทม. ก็จะสั่งระงับใช้อุปกรณ์และอาคารบางส่วนจนถึงขั้นระงับการใช้อาคารและเจ้าของอาคารจะต้องถูกดำเนินคดี

ทั้งนี้การตรวจสอบจะแบ่งเป็นการตรวจใหญ่และการตรวจย่อย โดยการตรวจใหญ่กฎหมายกำหนดให้ตรวจในครั้งแรกและทำการตรวจทุกๆ 5 ปี  และระหว่าง5 ปีนั้น ๆ ให้ทำการตรวจย่อย  ซึ่งผู้ตวจสอบอาคารต้องทำคู่มือ การตรวจให้เจ้าของอาคารสำหรับการตรวจย่อย โดยอาคารที่อยู่ในข่ายการตรวจสอบ คือ

1.อาคารสูง 23 ม.ขึ้นไป

2. อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ ตั้งแต่ 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป

3.อาคารชุมชนคนตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป

4. โรงมหรสพ

5.โรงแรมที่มีห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป

6.อาคารชุด ไม่เกิน 5,000 ตร.ม. ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ต.ค. 55

7.ส่วนพื้นที่เกิน 5,000 ตร.ม. กำหนดส่งผลตรวจสอบวันที่ 25 ต.ค. 53

นอกจากนี้  ยังมีอาคารโรงงานที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตร.ม. ขึ้นไป

8.ป้ายสูงตั้งแต่ 15 ม. ขึ้นไป

9.สถานบริการ 200 ตร.ม. ขึ้นไป

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ