เข้าสู่ฤดูกาลแถลงผลประกอบการของตลาดหลักทรัพย์ ตัวเลขที่เราเห็นในช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือชี้วัดสภาวะตลาด ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่า…แทบจะไม่มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เลย
อสังหาริมทรัพย์ เคยโตสูงสุดในปี 2561 โดยมีโครงการเปิดใหม่ 244 แห่ง
มูลค่ากว่า 360,000 ลบ. กลายเป็น Red Ocean ให้ผู้ประกอบการหลายรายตบเท้ากันเข้ามา เติม supply จนเกือบล้น ก่อนที่จะได้รับสัญญาณเดือน ผ่านมาตรการ LTV ส่งผลให้ตลาดอสังหาชะลอตัวลงในช่วง 2 ปีหลัง
สำหรับปี 2563 ผลกระทบของ Covid-19 ลุกลามไปทุกภาคส่วน ธุรกิจอสังหาฯ ก็หนีไม่พ้นวิกฤตนี้ นับว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 หลายบริษัทชะลอการเปิดโครงการใหม่ และหันไปอัดโปรโมชั่นเพื่อระบาย Stock แต่ก็ยังไม่สามารถดึงความต้องการของลูกค้าออกมาได้ ปัจจุบันมีจำนวนยูนิตเหลือขาย 207,344 ยูนิต โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 3-4 ปี ถึงจะสามารถขายได้หมด
ถ้าใครอยากรู้ว่า…ทิศทางอสังหาในอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้น ให้ตัวเลขผลประกอบการ 9 เดือนของ 10 บริษัททำนายแล้วกัน
5 ประเด็นที่ต้องจับตามองสำหรับอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า จาก SCB: EIC
- ภาพการฟื้นตัวของตลาดจาก COVID-19 โดยภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่างมากส่งผลให้แนวโน้มการฟื้นตัวของภาคอสังหาฯ จะเป็นไปอย่างช้า ๆ กว่าที่ยอดขายจะกลับมาสู่ระดับก่อนเกิด COVID-19 ได้อย่างเร็วที่สุดในปี 2565 โดยตลาดกลุ่มระดับกลางถึงบนจะเป็นตัวนำการฟื้นตัวของตลาด
- ภาวะ Suply ส่วนเกินและการลดลงของราคาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านที่มีหน่วยเหลือขายสะสมค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการยังต้องเน้นการระบาย Stock และทำให้การแข่งขันด้านราคารุนแรงมากขึ้น
- ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค (housing affordability) มีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับลดราคาลงและเน้นพัฒนาที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลงเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น
- การที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันมาเน้นเจาะตลาดแนวราบมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันในตลาดแนวราบมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดระดับราคาปานกลางอย่างเช่น ทาวน์เฮาส์
- ยอดขายใหม่มีแนวโน้มจะกระจุกตัวในโครงการของผู้ประกอบการขนาดใหญ่มากขึ้นจากการแข่งขันทำ promotion อย่างต่อเนื่องเพื่อระบายสต็อกรวมถึงการแข่งขันเปิดตัวโครงการแนวราบ ประกอบกับชื่อเสียงของแบรนด์ที่ได้รับความไว้วางใจ ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันที่ได้เปรียบมากกว่า
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในปี 2564
REIC คาดว่าจะมีหน่วยขายได้ใหม่ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 94,072 หน่วย (ครึ่งแรก 44,251 หน่วย และครึ่งหลัง 49,821 หน่วย) มีมูลค่าขายได้ใหม่ 408,476 ล้านบาท (ครึ่งแรก 192,145 ล้านบาท และครึ่งหลัง 216,331 ล้านบาท) เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจและความมั่นใจในการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง โดยทิศทางของที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงมีความโดดเด่นกว่าอาคารชุด
โดยที่อยู่อาศัยในระดับราคา 2 – 3 ลบ. และระดับราคา 3-5 ลบ. เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตในส่วนของหน่วยขายได้ใหม่มากที่สุด โดยอาคารชุดขายได้ใหม่ในระดับราคา 2-3 ลบ. มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็น 34% บ้านเดี่ยวขายได้ใหม่ในระดับราคา 3-5 ลบ. มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็น 36% ทาวน์เฮ้าส์ขายได้ใหม่ในระดับราคา 2-3 ลบ. มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็น 42% บ้านแฝด ขายได้ใหม่ในระดับราคา 3-5 ลบ. มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็น 51% และอาคารพาณิชย์ขายได้ใหม่ในระดับราคา 3-5 ลบ. ขายได้มากที่สุดคิดเป็น 56%
ThinkofLiving มี LINE Official Account แล้วนะคะ
ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสารก็ Add เลย > https://lin.ee/svACOxc