เมื่อช่วงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ทาง AP (Thailand) ได้ประชาสัมพันธ์ คอนโด 3 โครงการ คือ Rhythm สุขุมวิท 36-38, Rhythm อโศก 2, Aspire รัชดา-วงศ์สว่าง ที่ร่วมผนึกกำลังออกแบบกับ Mitsubishi Estate Group ของญี่ปุ่น และประมาณกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง AP ได้จัดงานสัมมนา “Every Inch Matters: Principles of Japanese Design” บรรยายโดย Mr. Tetsuya Okusa (คนซ้าย) และ Mr. Soichiro Toba (คนซ้าย) สถาปนิก จาก Mitsubishi Jisho Sekkei (ในเครือ Mitsubishi Estate Group) พร้อมเปิดภาพแรกของ Rhythm Asoke II หนึ่งในสาม โครงการที่ออกแบบร่วมกัน
โดยมี คุณ ญารินดา บุนนาค เป็นผู้ดำเนินรายการ
Mr. Tetsuya Okusa และ Mr. Soichiro Toba คือ 2 หัวเรือใหญ่แห่ง Mitsubishi Jisho Sekkei ทั้งคู่พยายามศึกษาในวิถีชีวิตที่แตกต่างของแต่ละชาติ และนำมาผสมผสานกับดีไซน์ของญี่ปุ่นได้อย่างลงตัว
Mr. Soichiro Toba เล่าถึง ประวัติศาสตร์ของย่าน Marunouchi ที่ปัจจุบันถูกพัฒนาโดย Mitsubishi Group และกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น อีกทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อคมนาคมที่สำคัญเพราะมีรถไฟฟ้าถึง 13 สายและใต้ดินอีก 7 สาย นอกจากนี้ในย่าน Marunouchi ยังมีสถานที่สำคัญตั้งอยู่ด้วยนั่นคือ Imperial Palace ทำให้การวางผังเมืองในบริเวณนี้จึงมีกฎระเบียบมากมายเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมเก่าแก่และธรรมาชาติรอบๆเอาไว้ ในช่วงแรกของการบรรยายจะเป็นการเล่าถึงการออกแบบจุดเชื่อมต่อรถทางเดินใต้ดินและอาคารต่างๆที่เน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน พร้อมทั้งยกตัวอย่างอาคารที่ได้ออกแบบไว้ในย่านนี้ด้วย ต่อมาทั้งคู่ได้บอกเล่าถึง “สุนทรียภาพในการออกแบบของญี่ปุ่น” ซึ่งมีหลักอยู่ 9 ข้อที่ใช้ในการออกแบบ ในช่วงนี้สำหรับคนทั่วไปอาจจะเข้าใจยากสักหน่อยค่ะ
1. Beauty of Transmission การเว้นความกำกวมไว้และไม่ได้รับรู้ถึง Space ทั้งหมด ทำให้ผู้ที่ใช้พื้นที่สามารถจินตนาการกต่อเองได้
2. Intermediate Region การจัดสรรพื้นที่ภายในให้เป็นส่วนเดียวกับภายนอกโดยเน้นทีการเชื่อมต่อกับธรรมชาติ
3. Light & Shadow เทคนิคการให้แสงและเงา เพื่อชวนค้นหา ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นแรงดึงดูดที่สำคัญในการดึงผู้คนให้สนใจและอยากเข้าไปค้นหาคำตอบในตัวงานว่ามีความสวยงามมากน้อยเพียงใด
4. Beauty of Asymmetry การจัดวางองค์ประกอบต่างๆแบบไม่สมมาตร การออกแบบจะเน้นให้เกิดความสมดุลย์และใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดถึงแม้ว่าจะดูไม่สมมาตรกันก็ตาม
5. Sequence of Alternative Turns เน้นความมีมิติและความลึกลับ เปรียบเสมือนการดูหนัง ที่เราไม่มีทางคาดเดาได้ว่าตอนจบของเรื่องจะเป็นอย่างไร เน้นเรื่องประสบการณ์ในการเข้าถึง Space ต่างๆ
6. Beauty of Deflected Line เป็นการใช้เส้นโค้งเพื่อให้ความรู้สึกถึงความน่าค้นหาและการรอคอยเพื่อค้นพบอะไรบ้างอย่าง
7. Beauty of Indented Space การสร้างความเหลื่อมล้ำของพื้นที่ เพื่อให้เกิดความซับซ้อนและสร้างความน่าสนใจให้เกิดขึ้นกับงานสถาปัตยกรรม
8. Horizontal of Eaves การนำความลึกของชายคาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่สภาพภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่นและช่วยให้ตัวอาคารดูมีความต่อเนื่องเป็นอนึ่งอันเดียวกัน
9. Borrowed Landscape การออกแบบให้ดึงหรือยืมเอาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่
หลังจากจบการบรรยาย “9 สุนทรียภาพในการออกแบบของญี่ปุ่น” ทั้งคู่ก็ได้เปิดเผยภาพไฮไลท์ของงานนี้ นั่นก็คือ ภาพโครงการ Rhythm Asoke II ค่ะ
คอนโดมิเนียมที่ออกแบบร่วมกับ AP (Thailand) โดยนำหลักการออกแบบข้างต้นมาปรับใช้กับตัวอาคาร ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัวอาคารที่เน้นความเรียบง่ายเป็นหลัก
ด้านหน้าของอาคารจะใช้หลัก Kohji&Shoji หมายถึงการใช้เส้นต่างๆ มาประยุกต์ในการออกแบบบ้าน คำว่า Kohji คือ การนำเอาระแนงไม้มาตกแต่งบริเวณด้านหน้าอาคาร ส่วน Shoji คือการนำเอาลักษณะโปร่งแสงจากประตูบานเลื่อนของญี่ปุ่นมาประยุกต์กับการออกแบบหน้าต่างของอาคาร ทำให้สามารถเล่นในเรื่องแสงและเงาได้
ภาพจำลองบริเวณด้านหน้าอาคาร จะใช้หลักในการดึงเอาธรรมชาติมาเป็นส่วนนึงของ Lobby สวนที่ตกแต่งก็จะเป็นสไตล์ญี่ปุ่นค่ะ
นอกจากนั้นยังมีการให้ความสำคัญกับ origami หรือวการพับโดยที่ได้แรงบันดาลใจจากการพับกระดาษมาพับผนัง สังเกตได้จากผนังภายใน
ภาพจำลองบริเวณ Lobby ในเวลากลางคืนจะใช้แนวคิด Light and Shadow มาเพิ่มความน่าสนใจและน่าค้นหาให้กับพื้นที่
ภาพจำลองบริเวณ Lobby ในเวลากลางวัน จะเห็นว่าการออกแบบจะเน้นไปที่ความเรียบง่ายตามสไตล์ญี่ปุ่นและใช้กระจกบานใหญ่ไร้ขอบเพื่อเข้าถึงธรรมชาติให้มากที่สุด ส่วนรายละเอียดภายในห้องพักอาศัยและผังตัวอาคารยังไม่มีการเปิดเเผยออกมาให้เห็นแต่สปานิกทั้ง 2 ท่านก็ได้บอกว่าจะมีการใช้แนวคิด Engawa (เฉลียงหรือระเบียงแบบญี่ปุ่น) มาใช้ในการออกแบบด้วยก็ต้องรอดูว่าจะมีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไรนค่ะ
ในช่วงตอบคำถามจะผู้ฟัง มีคำถามอยู่คำถามนึงที่น่าสนใจดีค่ะ เค้าถามว่า ได้มาดูงานออกแบบคอนโดที่เมืองไทยแล้วคิดว่าสื่งที่แตกต่างกับที่ญี่ปุ่นคืออะไร? คุณ Tetsuya Okusa ได้ตอบว่า “Pantry ครัว” คือส่วนที่แตกต่างกันมาก เพราะที่ญี่ปุ่นสมาชิกภายในบ้านจะให้ความสำคัญกับคนที่เป็นแม่มากที่สุด ดังนั้นเค้าจะไม่ทำ Pantry ครัวติดกำแพงและไม่เห็นวิว แต่จะหันหน้าออกข้างนอกเพื่อให้ได้วิวที่สวยที่สุดขณะที่ทำอาหารให้สมาชิกภายในบ้าน นอกจากนั้นยังวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเห็นและพูดคุยกับสมาชิกภายในบ้านได้ด้วย ทำให้สมาชิกภายในบ้านเกิดความสัมพันธ์กันที่ดียิ่งขึ้นค่ะ ก็ต้องรอดูแล้วหละค่ะว่า AP จะเอา Pantry ครัวได้ติดระเบียงหรือติดทางเดินหน้าห้องพัก
หลังจบการนำเสนอแล้วทาง AP ได้จัดกิจกรรมให้ผู้ร่วมฟังสัมมนาถ่ายรูปงานลง instagram เพื่อชิงรางวัลหนังสือดีไซน์ของญุี่ปุ่น และในรูปคือผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลค่ะ
สำหรับผู้สนใจทาง AP ฝากข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมว่า สามารถไปพบกันได้ในงาน Rethink Space ณ ชั้น 1 สยามพารากอน วันที่ 15-18 พฤษภาคมนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.apthai.com