มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ ครองตำแหน่งผู้นำตลาดลิฟต์และบันไดเลื่อนยาวนานกว่า 40 ยึดมั่นนโยบายความปลอดภัยบนมาตรฐานระดับโลก ภูมิใจได้มาตรฐานทั้ง ISO 9001, ISO 18001 และล่าสุดได้รับ ISO 14000  พร้อมเปิดศูนย์ฝึกอบรมลิฟต์และบันไดเลื่อนแห่งใหญ่ ผลิตวิศวกรและช่างเทคนิคระดับมืออาชีพสู่ตลาด อีกทั้ง ฝีกอบรมการขนส่งแนวดิ่งแห่งแรกในไทย มั่นใจ ปัจจัยบวกในการพัฒนาระบบการขนส่งคมนาคมสู่ปริมณฑล, การขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ และ “ประเทศไทย” เป็นศูนย์การรักษาพยาบาลของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่งเสริมให้ตลาดลิฟต์และบันไดเลื่อน เติบโตปีละ 5-7 % จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 7 พันล้านบาท

มร.มุเนอิสะ โอกาโมโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ เอลเลเวอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้แทนจำหน่าย ติดตั้งและให้บริการผลิตภัณฑ์ลิฟต์บันไดเลื่อนมิตซูบิชิ เปิดเผยว่า มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคและประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า40 ปี โดยในปีนี้ จะก้าวสู่ปีที่ 40 อย่างภาคภูมิใจ ซึ่งจะยังคงนโยบายในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการยึดมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพเป็นหลัก เพื่อมอบความมั่นใจในการบริการทุกขั้นตอน ทั้งในด้านคุณภาพของการติดตั้งและการให้บริการ จากทีมวิศวกรและช่างผู้ชำนาญ จำนวนมากกว่า 350คน  รวมถึงศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินทั่วประเทศตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ได้ใช้งบลงทุน จำนวนกว่า 40 ล้านบาท สร้างศูนย์ฝึกอบรมการขนส่งแนวดิ่ง (Vertical Transportation) แห่งใหม่บนพื้นที่ 1,200 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนถนนบางนา-ตราด กม.7 โดยเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่ทันสมัยและสมบูรณ์แบบที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ประกอบด้วยห้องฝึกอบรมหลัก 4 ห้อง ลิฟต์จำนวน 7 เครื่อง บันไดเลื่อน 2 เครื่อง นอกจากนั้นยังมีห้องแสดงตัวอย่างสินค้า เช่น แผงปุ่มกด ผนังลิฟต์ เพดานลิฟต์ต่างๆ ซึ่งลูกค้าสามารถเข้ามาชมสินค้าขนาด รวมทั้งระบบ Access Control พร้อมรองรับการเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมด้านการขนส่งแนวดิ่ง (Vertical Transportation) ในภูมิภาค”      

ศูนย์ฝึกอบรม “มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพทั้งในงานติดตั้งลิฟต์ใหม่และการบริการหลังการขายบนมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก ซึ่งกลุ่มผู้เข้ามาใช้ศูนย์ฝึกอบรม ได้แก่ กลุ่มวิศวกรและช่างบริการสำหรับลิฟต์และบันไดเลื่อน ซึ่งทุกคนจะต้องผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร เป็นระยะเวลา 1 ปี รวมไปถึงกลุ่มวิศวกรและช่างจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจาก ศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น วางใจให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมการติดตั้งและการบริการในระดับภูมิภาคอาเซียน (Training Hub)นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม วิศวกร ช่างอาคาร และองค์กรสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ติดต่อเข้ามาใช้บริการ เพื่อเรียนรู้ในหลักสูตรเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลิฟต์และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น   ยิ่งไปกว่านั้น  ในโอกาสครบรอบ 40 ปี ยังจะสานต่อกิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ โครงการสำนึกรักบ้านเกิด, โครงการแคร์ฟอร์คิดส์, มอบทุนการศึกษา, และโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระยาวอย่างต่อเนื่อง 

นายสันติพงษ์ บูรณกฤตยากรณ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท มิตซูบิชิ เอลเลเวอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ ปีที่ผ่านมาตลาดลิฟต์และบันไดเลื่อนมีการขยายตัวในช่วงปลายปี  ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการที่รัฐบาล เร่งพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ทั้งระบบรถไฟฟ้าบนดินและใต้ดิน โครงการอาคารผู้โดยสารอาคารที่ 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างมีความคึกคัก ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายเดินหน้าโครงการต่างๆ กระจายไปยังปริมณฑลอย่างต่อเนื่อง ได้แก่  นนทบุรี,สมุทรปราการ, มีนบุรี และ กรุงธนบุรี  ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ๆ ได้เริ่มจับกลุ่มลูกค้าระดับ ไฮเอ็นเซ็กเมนท์ มากขึ้น ทำให้ ผลิตภัณฑ์ลิฟต์และบันไดเลื่อน “มิตซูบิชิ” ที่สามารถตอบโจทย์ตลาด ไฮเอ็นเซ็กเมนท์ ได้อย่างเหมาะสม จึงได้รับความสนใจและมียอดขายเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โครงการใหญ่ที่เลือกใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนมิตซูบิชิ อาทิ โครงการมหานคร อาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยย่านสีลม-สาทร, โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง, โครงการบันไดเลื่อนในศูนย์การค้าที่ยาวที่สุดภายในศูนย์การค้า Terminal 21, สนามบินสุวรรณภูมิ, โครงการจาก Q.House Group , Ananda Development , Central Group, Siam Paragon, Icon Siam และ LPN เป็นต้น 

ในปีที่ผ่านมา มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ มีการจำหน่ายลิฟต์และบันไดเลื่อน มากกว่า 1,700 เครื่อง สำหรับในปี 2560 นี้ ตั้งเป้ายอดขายไว้ประมาณ 1,800 เครื่อง  และคาดว่าตลาดลิฟต์และบันไดเลื่อนยังคงเติบโต ระหว่าง 5-7 % ในส่วนของที่อยู่อาศัย ที่ผู้บริโภคคำนึงถึงความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่าราคา สัดส่วนความต้องการในกรุงเทพฯเทียบกับต่างจังหวัดประมาณ 50:50 โดยสัดส่วนในกรุงเทพฯเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชน สำหรับมูลค่าตลาดลิฟต์และบันไดเลื่อนในประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านบา

เชื่อมั่นว่า ในช่วง 1-2 ปีนี้ ความต้องการในส่วนของอาคารสำนักงานจะกลับมาเพิ่มมากขึ้น อันเกิดมาจากการพัฒนาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี อีกทั้ง ส่วนของภาคสาธารณสุข เช่นสถานพยาบาลและสถานพักฟื้นประเภทต่างๆจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการที่ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางด้านการรักษาพยาบาลในภูมิภาค อีกทั้ง อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุภายในประเทศ ในส่วนของปริมาณความต้องการ ของตลาดลิฟต์ โดยรวม จะอยู่ที่ประมาณ 5,500 ตัว และคาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 5-7% สำหรับส่วนแบ่งตลาด เรามุ่งมั่นที่จะรักษาแชมป์อันดับ 1 ต่อไป โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 30% นายสันติพงษ์ กล่าวสรุปในที่สุด