ถ้าใครตามเรื่องร่างพรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับ… (ฉบับใหม่) ก็คงจะได้ยินมาบ้างว่าอาจมีการประกาศเลื่อนอีกรอบเพราะยังมีความไม่ชัดเจนอยู่หลายประการ
วันนี้เราขอรวบรวมบางประเด็น “ขบไม่แตก” จากงานสัมมนา “เจาะลึกภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยสมาคมหอการค้าไทย” ถือเป็นการโยนโจทย์จากบรรดาผู้ประกอบการที่มีต่อความไม่ชัดเจนของร่างพรบ.ภาษีที่ดินฯฉบับนี้
ควรได้รับการ… | ลักษณะที่ดิน |
ยกเว้น | ที่ดินตาบอด ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและถูกรดรอนสิทธิ์ ที่ดินที่ต้องรับภาระทางน้ำที่ไหลผ่าน |
ลดหย่อน | โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ระหว่างพิจารณา หรือก่อสร้าง |
ไม่ควรจัดเก็บภาษี | ทรัพย์สินส่วนกลางนิติบุคคล อาคารชุด และสาธารณูปโภคในโครงการบ้านจัดสรร |
คำถามอื่นๆ
- ที่ดิน “เช่า” เพื่อเกษตรกรรม คิดอัตราแบบไหน?
- ที่ตินที่มีเจ้าของ แต่พอมีการบังคับใช้พรบ. ภาษีที่ดินฯ เจ้าของเริ่มทำเกษตรบางส่วน ควรจัดเก็บอัตราแบบไหน?
ข้อแนะนำ
- แต่เดิมภาษีที่ดินโรงเรือน และภาษีบำรุงท้องที่ คำนวณจัดเก็บจากฐาน “ค่าเช่า” ที่ผู้ประกอบการได้รับ ซึ่งค่าเช่านั้นมีขึ้น–ลง ตามสถานการณ์ ดังนั้นเงินเสียภาษีจึงจ่ายตามความเป็นจริง จากผลประกอบการที่หาได้ แต่ร่างพรบ.ภาษีที่ดินฉบับนี้ จะจัดเก็บจากฐานตัวเลขมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กรมธนารักษ์เป็นผู้จัดทำ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเสียภาษีสูงทุกปี และไม่สอดคล้องกับหลักความสามารถในการจ่าย (ability to pay)
- ควรมีการจัดเก็บอัตราที่เป็น fixed rate เพื่อความสะดวกและลดอัตราภาษี โดยเฉพาะลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อป้องกันการทุจริต
- ไม่ควรมีบทลงโทษจำคุก กรณีหรือการกระทำที่ไม่มีเจตนา