ช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราจะเห็นข่าวว่า ประเทศไทยเรากำลังโดนปกคลุมด้วยทะเลหมอก แต่จริงๆแล้วเรากำลังเผชิญกับภาวะฝุ่นละอองขนาด 2.5 pm เกินค่ามาตรฐานอยู่เป็นระลอก ทำให้ดูเหมือนมีหมอกปกคลุมไปทั่วบริเวณ และนั่นคือความหนาแน่นของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ลอยอยู่บนอากาศ (มีค่าฝุ่นละออง PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ) ซึ่งส่งผลร้ายกับกลุ่มเสี่ยงอย่างผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ

ทั้งการเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และหืดหอบ แต่กรมควบคุมมลพิษนั้นไม่มีการประกาศเตือน อีกทั้งยังคงรายงานดัชนีคุณภาพอากาศโดยคำนวณเพียงแค่ PM10 เท่านั้น ซึ่งทำให้ประชาชนไม่สามารถรู้ข้อมูลของอากาศที่เราหายใจเข้าไปได้อย่างถูกต้อง

จากการพูดคุยกับ รศ. พญ. พรรณทิพา ฉัตรชาตรี แพทย์เฉพาะทางด้านภูมิแพ้ ทำให้เรารู้ว่า นอกจากมลพิษในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเราทุกคนแล้วนั้น ยังมีสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น ซากแมลงสาบ รังแคสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว เกสรหญ้า เชื้อรา พวกไรฝุ่นมักอยู่ในห้องนอน เช่นที่นอน หมอน พรม โซฟา ไรฝุ่นจะกินเศษรังแคและสะเก็ดผิวหนังมนุษย์เป็นอาหาร ทำให้กำจัดยาก สิ่งเหล่านี้เป็นอันตรายกับคนที่แพ้ ทำให้เกิดอาการทั้งเรื้อรังและฉับพลัน เช่น จาม คันจมูก คันตา ตาแดง และอาจรุนแรงถึงทำให้อาการหอบกำเริบได้

ไม่เพียงแต่เฉพาะทางเดินหายใจเท่านั้น มีข้อมูลว่า มลพิษในอากาศทำให้เกิดโรคและกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง ทำให้มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นและยังมีผลเสียกับระบบประสาท และระบบทางเดินอาหารด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคปอด โรคหัวใจ จะมีความไวและเกิดอาการได้ง่ายกว่าบุคคลอื่นๆ

มลพิษในอากาศ กับโรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบบ่อย โดยมีอุบัติการณ์ร้อยละ 30-40 ทั่วโลก ซึ่งมีผู้ป่วยถึง 400 ล้านคนที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ และมีผู้ป่วยถึง 300 ล้านคนที่เป็นโรคหืด  อุบัติการณ์ของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยผู้ใหญ่ถึงร้อยละ 20 และมีผู้ป่วยเด็กถึงร้อยละ 40  ขณะที่อุบัติการณ์ของโรคหืดมีประมาณร้อยละ 10 ดังนั้นจะมีผู้ป่วย 10-15 ล้านคนในประเทศไทย ที่ป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และจะมีผู้ป่วย 3-5 ล้านคนที่เป็นโรคหืด ในขณะที่“พื้นที่เขตการก่อสร้าง” คือ ปัจจัยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาด 2.5 pm

การก่อสร้างอาคารโดยไม่มีผ้าใบปกคลุมหรือป้องกันฝุ่นละออง รวมถึงการก่อสร้างสะพาน การวางท่อต่างๆ การนำน้ำมันและรถยนต์มาตรฐานยูโร 4 มาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2555 ไอเสียจากควันรถ ปัจจัยทั้งหมดต่างๆที่กล่าวมา เรียกว่าตัวประชาชนบ้านๆตัวเล็กๆอย่างเรา ทำอะไรเพื่อป้องกันได้ยากจะออกนอกบ้านก็ต้องหา Mask แบบ N95 ถึงจะกันเจ้าฝุ่นระดับนี้ได้ ราคาก็สูงด้วย แล้วถ้าเราอยู่ในบ้านล่ะ…? ตัวเลือกที่พอจะช่วยป้องแก้ได้ระดับนึงคงจะเป็น “เครื่องฟอกอากาศ” (Air Purifier)

ปัจจุบันนี้ “เครื่องฟอกอากาศ” (Air Purifier)ไม่ได้เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ถึงแม้เราจะพักผ่อนอยู่ภายในบ้านของตัวเองก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงมลภาวะ ฝุ่นควัน หรือเชื้อโรคที่แอบแฝง ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นได้ มีการศึกษาพบว่า การใช้เครื่องฟอกอากาศ สามารถลดฝุ่นละอองและมลพิษในอากาศ รวมถึงสารก่อภูมิแพ้ ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดและภูมิแพ้ มีอาการดีขึ้น การกำเริบของหอบลดลง

เมื่อเครื่องฟอกอากาศเริ่มกลายเป็นไอเทมที่มีความสำคัญ แต่ท่ามกลางตัวเลือกที่มีมากมาย การจะเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศมาใช้งานต้องมีเกณฑ์เลือกซื้ออย่างไรบ้าง รวมถึงมีคุณสมบัติอะไรถึงจะเป็นเครื่องฟอกอากาศที่ใช่และตรงกับครอบครัวของคุณเองที่สุด โดยมีหลักการดังนี้

1. ประเมินสมาชิกในบ้าน : เมื่อคิดที่จะซื้อ ‘เครื่องฟอกอากาศ’ (Air Purifier) หลายบ้านอาจจะมองว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับ บ้านที่มีเด็กหรือผู้สูงอายุอาศัยอยู่เท่านั้น เนื่องจากเป็นกลุ่มวัยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอกว่าวัยอื่นๆ แต่แท้จริงแล้วการใช้งานเครื่องฟอกอากาศ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะกับผู้ที่รักสุขภาพ เพราะถึงแม้จะเป็นวัยหนุ่มสาวที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยจากเชื้อโรคหรือฝุ่นละอองที่สะสมอยู่ในอากาศ

2. ขนาดห้อง : ลำดับต่อไปเมื่อคิดที่จะซื้อเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) ก็คือการประเมินว่าเราจะใช้เครื่องฟอกอากาศดังกล่าว ที่ห้องใดในบ้านบ้าง นั่นเป็นเพราะในแต่ละห้องก็จะมีฝุ่นละออง เชื้อโรค ไวรัสที่แอบแฝงอยู่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเป็นห้องนอน ก็อาจจะมีสารก่อภูมิแพ้ มูลและซากของไรฝุ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือถ้าเป็นห้องนั่งเล่น ก็อาจจะมีเรื่องของฝุ่นควันจากภายนอก ละอองเกสรดอกไม้ หรือไอเสียจากรถยนต์

นอกจากคำนึงถึงเรื่องการใช้งานในห้องใดแล้ว เรื่องของขนาดพื้นที่ก็มีความสำคัญด้วย เพราะการซื้อเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) ที่เหมาะสมกับขนาดห้องย่อมทำให้เครื่องทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

3. ระบบการทำงาน : เครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) มีระบบการทำงานหลักๆ 2 แบบคือ แบบแผ่นฟอกอากาศและพลาสม่าคลัสเตอร์ ซึ่งในบทความนี้ขอกล่าวถึง เครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) แบบพลาสม่าคลัสเตอร์  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเอกสิทธิ์ที่มีอยู่ในเฉพาะเครื่องฟอกอากาศชาร์ปเท่านั้น 

ข้อดีของเทคโนโลยีนี้ คือมันเป็นเทคโนโลยีที่ปล่อยอนุภาคไฟฟ้าประจุบวกและลบแบบเดียวกันกับที่มีในธรรมชาติ โดยอนุภาคเหล่านี้จะเข้าทำลายผนังเซลล์ของเชื้อรา เชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศทำให้อากาศสะอาด จากการศึกษาในห้องทดลอง พบว่าผลของอนุภาคไฟฟ้ายังมีประสิทธิภาพในการลดสารก่อภูมิแพ้และทำให้ความสามารถในการก่อให้เกิดการแพ้ของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น แมว ละอองเกสร และเชื้อราลดลงได้อีกด้วยซึ่งเจ้าอนุภาคไฟฟ้าบวกและลบเหล่านี้ ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอนุภาคไฟฟ้าบวกและลบเท่ากัน จะทำให้อากาศสมดุล เช่นตามป่าเขา หรือถ้าอนุภาคไฟฟ้าลบ มากกว่า อนุภาคไฟฟ้าบวก จะทำให้อากาศรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เช่น น้ำตก

กดที่รูปเพื่อดูรายละเอียดขยายขนาดใหญ่ได้

#คุณลักษณะพิเศษของพลาสม่าคลัสเตอร์ ระบบฟอกอากาศทั่วไป จะฟอกอากาศได้เฉพาะอากาศส่วนที่ถูกดูดเข้าไปในเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) จึงต้องใช้เวลานาน และไม่สามารถดูดอากาศทั่วทุกมุมห้องได้ แต่ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์จะถูกพ่นออกมาและกระจายออกไปในอากาศ ทำให้เข้าไปได้ทั่วถึงทุกซอกทุกมุมของห้องด้วยอัตราที่ความเร็วที่สูงถึง 5 เมตร/วินาที 

4. ค่าตัวเลขต่างๆ : การเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) มาใช้งานนอกจากคำนวณเรื่องงบประมาณ และขนาดพื้นที่ห้องแล้ว ยังต้องเลือกดูจากค่าตัวเลขต่างๆ ที่อยู่บนตัวเครื่องหรือสเปคเครื่องด้วย

  • Airflow หรือตัววัดความเร็วลม ค่านี้ยิ่งสูงเท่าไหร่ ปริมาณอากาศที่ถูกกรองก็จะยิ่งเร็วขึ้นด้วย 
  • CADR  (Clean Air Delivery Rate) เป็นค่าสากลที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพการทำงานเครื่องฟอกอากาศว่าภายในหนึ่งนาทีสามารถฟอกอากาศได้มากแค่ไหน  ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งแปลว่าดีเช่นกัน
  • ระดับเสียง สำหรับเสียงของเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) ถ้าใช้ในห้องนอนเป็นหลักควรให้ความสำคัญเพื่อป้องกันการรบกวนขณะกำลังพักผ่อน

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ควรรู้ง่ายๆ ในการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) ให้ตรงใจ และตอบโจทย์สมาชิกทุกคนในบ้าน การรักษาสภาพแวดล้อมบ้านให้สะอาด มีอากาศสดชื่น นอกจากช่วยลดเรื่องโรคภัยไข้เจ็บได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มเติมเรื่องความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าให้กับสมาชิกภายในบ้านได้อีกด้วย