DSCF8446

ผ่านแล้วร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะนำมาบังคับใช้แทนพรบ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพรบ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยหลักการกฎหมายฉบับดังกล่าว จะแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย

Chiangmai0050
1. เพื่อการประกอบเกษตรกรรม

มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ลบ.) อัตราภาษี (%)
ไม่เกิน 50 0
เฉพาะที่เกินกว่า 50-100 0.05
เฉพาะที่เกินกว่า 50-100 0.1

City 7

2. ที่อยู่อาศัย

มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ลบ.) อัตราภาษี (%)
ไม่เกิน 5 0.03
เกินกว่า 5-10 0.05
เกินกว่า 10-20 0.1
เกินกว่า 20-30 0.15
เกินกว่า 30-50 0.2
เกินกว่า 50-100 0.25
เกินกว่า 100 ขึ้นไป 0.3

ps-ville-62-1-nimitmai16

3. ที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์ (บ้านเช่า/อพาร์ทเม้นท์)

มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ลบ.) อัตราภาษี (%)
ไม่เกิน 20 0.3
เกินกว่า 20-50 0.5
เกินกว่า 50-100 0.7
เกินกว่า 100-1,000 0.9
เกินกว่า 1,000-3,000 1.2
เกินกว่า 3,000 ขึ้นไป 1.5

Drone Purple 39

4. ที่ดินว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์

ระยะเวลาที่ทิ้งให้ที่ดินว่างเปล่า/ไม่ได้ทำประโยชน์ อัตราภาษี (%)
ตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ติดต่อกัน 1
ตั้งแต่ 4 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ติดต่อกัน 2
ตั้งแต่ 7 ปี ติดต่อกัน 3

นอกจากนี้ยังมีการยกเว้นภาษีให้แก่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของสถานทูต ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทรัพย์สินของเอกชนที่ได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และบ้านพักอาศัยหลักในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น

Screen Shot 2559-06-07 at 7.30.07 PM

และ กฎหมายยังให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นสามารถขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อลดหรือยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนได้ เช่น เกิดภัยพิบัติ หรืออาคาร บ้านเรือน เกิดเสียหายหรือถูกทำลาย

Screen Shot 2559-06-07 at 7.35.39 PM
อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีการบรรเทาภาระให้กับเจ้าของบ้านพักอาศัยหลักที่ได้มาจากการรับมรดก ผู้ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ และกิจการสาธารณะ ดังนี้

  1. ในกรณีที่เจ้าของบ้านพักอาศัยหลักได้รับกรรมสิทธิ์บ้านหลังดังกล่าวมาจากการรับมรดกก่อนที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะมีการบรรเทาภาษีให้ โดยการลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
  2. ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเป็นเวลา 1 ปี ให้กับที่ดินที่อยู่ระหว่างการปลูกสร้างบ้านที่เจ้าของใช้เป็นบ้านของตนเอง
  3. ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา 0.05% ของฐานภาษี สำหรับที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นโครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย ที่นิติบุคคลที่ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของเป็นเวลา  3 ปี นับตั้งแต่เจ้าของที่ดินได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
  4. ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา 0.05% ของฐานภาษี สำหรับอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน เป็นระยะเวลา 5 ปี
  5. ให้ลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกิน 75% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสียสำหรับกิจการสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล และโรงเรียน เป็นต้น

Screen Shot 2559-06-07 at 7.33.09 PM
ทั้งนี้  ได้กำหนดบทเฉพาะกาลให้กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาปานกลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งถูกยกเลิกโดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป สำหรับการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องเสียหรือพึงชำระหรือที่ค้างอยู่หรือที่ต้องคืนก่อนที่จะเริ่มมีการบังคับใช้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างพระบัญญัติดังกล่าว