จาก ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประกาศผ่านเว็บไซต์ราชกิจนุเบกษาให้ 10 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เป็น ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประกาศผ่านเว็บไซต์ราชกิจนุเบกษาให้ปิดแคมป์คนงานหยุดก่อสร้างทันที 30 วัน ใน 10 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และ 4 จังหวัดชายแดนใต้ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด “สีแดงเข้ม” ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้…หนึ่งในนั้น คือการ #ปิดแคมป์คนงาน หยุดงานก่อสร้าง และห้ามเดินทางเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลา 30 วัน เนื่องจากภาคก่อสร้าง เป็น 1 ใน 3 คลัสเตอร์ใหม่ที่ควรระวัง (ในพื้นที่กรุงเทพฯ) รองจากตลาดสด และโรงงานอุตสาหกรรม

Image 1/2

การสั่งปิดแคมป์คนงานและหยุดการก่อสร้าง ส่งผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คาดว่ามูลค่าความเสียหายเบื้องต้นอาจสูงถึง 40,000 ลบ. ซึ่งต่อให้รัฐบาลไม่ lock down อสังหา สุดท้ายเจ้าของธุรกิจอาจต้อง lock ตัวเอง ในเมื่อก่อสร้างไม่ได้ แล้ว…ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คิดอย่างไร?

ตัวแทนจาก 3 สมาคมอสังหาฯ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และสมาคมอาคารชุดไทย ได้ออกมาเปิดเผยมุมมองและข้อเสนอแนะที่อยากให้ทางรัฐบาลพิจารณาเบื้องต้น

ทั้ง 3 สมาคม มองว่า ผลกระทบหลักของ #มาตรการปิดแคมป์คนงาน คือการส่งมอบงาน เมื่อโครงการสร้างไม่ได้ ลูกค้าอาจจะลังเลที่จะโอน หรือในรายที่มีปัญหาอยู่แล้วอาจยกเลิกการโอน ปัจจุบันโครงการเก็บเงินดาวน์จากลูกค้า 10-20% อีก 80% กู้มาจากสถาบันการเงิน ซึ่งหากลูกค้าไม่โอนตามกำหนด แล้วไม่มีรายได้เข้าบริษัท โครงการใหม่ที่ต้องอาศัยเงินกู้จากธนาคาร อาจเกิดขึ้นไม่ได้เลย

ข้อเสนอให้ผ่อนปรนเบื้องต้นจาก 3 สมาคมอสังหา

  • อนุญาติให้ก่อสร้าง สำหรับแคมป์ที่อยู่บริเวณเดียวกับไซต์ หรือไซต์ขนาดเล็ก ที่มีคนงานไม่เกิน 15 คน หากไม่พบผู้ติดเชื้อ และสามารถควบคุมให้คนงานปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง Covid-19 ซึ่งถ้ารัฐบาลผ่อนปรนได้ จะทำให้ธุรกิจบางส่วนสามารถเดินต่อ ไม่กลายเป็นอัมพาต แล้วต้องมาพึ่งเงินเยียวยา
  • อนุญาติให้โครงการที่เตรียมโอนในเดือนก.ค. ซึ่งอยู่ระหว่างเก็บ defect บางส่วน สามารถนำช่างเข้ามาเก็บงานได้ เพื่อไม่ให้การโอนชะงัก และป้องกันความเสี่ยงในการที่ลูกค้าอาจทิ้งโอน
  • ควรนำโมเดลของตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครมาใช้ คือเข้าตรวจสอบผู้ติดเชื้อตามแคมป์คนงานพื้นที่สีแดง หากพบก็ปิดแคมป์ แล้วส่งตัวไปรักษา แต่ถ้าไม่พบการติดเชื้อก็ควรที่จะเปิดให้ก่อสร้างได้ต่อ

อย่างไรก็ตามทั้ง 3 สมาคมมองว่า หากตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ลดลง กรณีเลวร้ายที่สุดซึ่ง ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือไว้ คือการปิดแคมป์คนงานอาจยาวนานกว่า 30 วัน และมีความเป็นไปได้ว่าอาจคล้ายๆ กับธุรกิจร้านอาหาร เมื่อไหร่ที่เกิดระบาดระลอกใหม่ ก็จะเปิด-ปิด ไปเรื่อยๆ ถ้ารุนแรงถึงขั้นนั้น เงินเยียวยาที่เตรียมไว้อาจไม่เพียงพอ

เสียงจากผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง Pruksa Holding คุณปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) ให้ความเห็นไว้ว่า ก่อนประกาศใช้มาตรการรัฐบาลควรหารือกับผู้ประกอบการล่วงหน้าก่อนประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้มีโอกาสวางแผนรับมือ ซึ่งในส่วนของะพฤกษาฯ มีคอนโดฯ 2 โครงการที่จะโอนประมาณเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้รับผลกระทบคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท/เดือน

เช่นเดียวกับ Land & Houses คุณ อดิศร ธนนันท์นราพูล กรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เปิดเผยว่า มาตรการดังกล่าว อาจทำให้การเปิดตัวโครงการล่าช้าออกไป โดยอยู่ระหว่างประเมิน ผลกระทบโดยรวมว่าจะต้องเลื่อนการเปิดตัวกี่โครงการ

มาตราเยียวยาแคมป์คนงาน ที่กำลังเสนอเข้าที่ประชุมครม. ในวันนี้ 29 มิ.ย. 2564 (อ้างอิงจาก BBC)

  • จ่ายค่าแรง 50% ให้แรงงานในแคมป์ก่อสร้างที่ต้องหยุดงาน เป็นเงินสดทุกๆ 5 วัน โดยรัฐบาลขอความร่วมมือนายจ้างให้จัดหาอาหารการกินให้แรงงานซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าออกจากแคมป์  แต่…แรงงานที่ได้รับการเยียวยาจะต้องอยู่ในแคมป์ก่อสร้างที่เป็นพื้นที่สีแดงเท่านั้น  (หากใครออกจากแคมป์ไปแล้วจะไม่เข้าเงื่อนไขนี้)
  • จ่ายเงินเพิ่มเติมให้กับลูกจ้างในระบบประกันสังคมประมาณ 2,000 บาทต่อคน และนายจ้างในระบบประกันสังคมตามจำนวนลูกจ้างแต่ไม่เกิน 200 คน เป็นเงิน 3,000 บาทต่อคน

จากการสำรวจเบื้องต้น จำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและหยุดโครงการก่อสร้างใน 6 จังหวัด มีมากกว่า 697,000 คน โดยคาดว่าจะมีการจ่ายค่าแรงชดเชยงวดแรกในวันที่ 6 ก.ค.นี้

มาตรการ ลดภาษีที่ดิน-ลดค่าโอนจดจำนอง อาจไม่ช่วยอสังหา หากการก่อสร้างชะงัก

จากข้อมูลของ REIC คาดว่าปี 2564 จะมียูนิตเหลือขายสะสม 174,773 มูลค่า 853,428 ลบ. หากไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนด ตัวเลขที่ประมาณการณ์ไว้น่าจะพุ่งสูงขึ้นไปอีก ซึ่งหากสร้างไม่ได้แบบนี้ มาตรการกระตุ้นที่รัฐบาลปลดล็อคให้ ก็คงไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก

ที่มา: