dailynews

กรณีเหตุเพลิงไหม้อาคาร 9 ชั้น ถ.นราธิวาส 18  จากการเข้าตรวจสอบพบว่าเป็นอาคารสูงขออนุญาตก่อสร้างก่อนกฎกระทรวงปี 2535 จึงขาดมาตรการป้องกันอัคคีภัยที่สำคัญ หนึ่งในนั้นก็คือมาตราฐานของ “บันไดหนีไฟ”  ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ที่พักอาศัยที่เข้าข่าย โดยเฉพาะบ้าน ทาวน์โฮม ตึกแถว ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป บางกรณีรวมถึงที่พักอาศัย 3 ชั้นซึ่งมีชั้นที่ 4 เป็นดาดฟ้า โดยที่พักอาศัยเหล่านี้จะต้องมีบันไดหนีไฟที่มีลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน วันนี้เรามีบทความว่าด้วยเรื่องบันไดหนีไฟ จาก SCG Experience มาให้อ่านกันคร่าวๆ ค่ะ

เมื่อใดบ้านต้องมีบันไดหนีไฟ

กฎหมายควบคุมอาคาร กำหนดให้บ้านอยู่อาศัย ไม่ว่าบ้านของท่านจะสร้างเป็น บ้านเดี่ยว บ้านแถว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว ฯลฯ  หากมีความสูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไป หรือมีความสูงสามชั้นและมีดาดฟ้าเหนือชั้นสามที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร จะต้องมี “บันไดหนีไฟ”เพิ่มจากบันไดปกติอย่างน้อยอีกหนึ่งแห่ง (กฎ.55 ข้อ 27) และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดินที่ไปยังบันไดหนีไฟนั้น

กรณีบ้านในกรุงเทพมหานคร มีกำหนดเพิ่มเติมว่า หากมีการทำชั้นใต้ดินตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป (อาจมีบ้านบางหลังทำ) บ้านหลังนั้นก็ต้องทำ “ทางหนีไฟ” โดยเฉพาะอีกหนึ่งทางด้วย (ขบ.44 ข้อ 39) ซึ่งทางหนีไฟนี้จะทำเป็นบันไดหรือไม่ก็ได้ เช่น ทำเป็นทางลาด

ลักษณะของบันไดหนีไฟ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร

บันไดใด ๆ จะถือเป็น “บันไดหนีไฟ” ก็ต่อเมื่อมีลักษณะตามที่กฎหมายควบคุมอาคารได้กำหนดไว้ ดังนี้

1. บันไดหนีไฟต้องเป็นบันไดที่มีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา ยกเว้นแต่อาคารนั้นเป็นตึกแถวหรือบ้านแถวที่มีความสูงไม่เกินสี่ชั้น โดยต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น (กฎ.55 ข้อ 28) สำหรับกรุงเทพมหานคร ห้ามสร้างบันไดหนีไฟเป็นบันไดเวียน (ขบ.44 ข้อ 41) และบ้านแถวหรือตึกแถวสูงไม่เกินสี่ชั้นหรือสูงไม่เกิน 15 เมตร จากระดับถนน กำหนดให้บันไดหนีไฟจะเป็นแนวดิ่งก็ได้ แต่ต้องมีชานพักทุกชั้น แต่ละขั้นบันไดต้องห่างไม่เกิน 40 เซนติเมตร โดยขั้นสุดท้ายต้องสูงจากพื้นดินไม่เกิน 3.50 เมตร (ขบ.44 ข้อ 43) สำหรับบันไดหนีไฟแนวดิ่ง เรามักเรียกกันว่าบันไดลิง นั่นเอง

3%151001_watermark_aw_lightPhoto_vertical_updated2. บันไดหนีไฟ ที่ไม่ใช่บันไดแนวดิ่งสำหรับตึกแถวหรือบ้านแถว ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและไม่ผุกร่อน ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร ความสูงราวบันได 90 เซนติเมตร (ขบ.44 ข้อ 41) บันไดหนีไฟของอาคารในต่างจังหวัดก็ต้องมีระยะลูกตั้งลูกนอนเช่นเดียวกันด้วย

3. บันไดหนีไฟ ถ้าอยู่ภายนอกอาคาร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และผนังส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านต้องเป็นผนังทึบทนไฟ และถ้าลงไม่ถึงชั้นล่าง ต้องทำบันไดโลหะที่สามารถยืดหรือหย่อนลงจนถึงพื้นชั้นล่างได้ (กฎ.55 ข้อ 29) บันไดหนีไฟภายนอกถ้าเป็นอาคารประเภทห้องแถวหรือตึกแถว ซึ่งปกติจะต้องมีที่ว่างด้านหลังกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่กฎหมายผ่อนผันให้บันไดหนีไฟภายนอก ล้ำเข้าไปหรืออยู่ในส่วนพื้นที่ว่าง 3 เมตรนั้นได้ แต่จะต้องล้ำเข้าไปไม่เกิน 1.40 เมตร (กฎ.55 ข้อ 34 วรรคสอง)

3%150923_watermark_aw_lightPhoto_horizontal

4. บันไดหนีไฟ ถ้าอยู่ภายในอาคาร ต้องความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีผนังทึบทนไฟกั้นโดยรอบ ในแต่ละชั้นของบันไดหนีไฟต้องมีช่องเปิดให้อากาศถ่ายเทจากภายนอกมีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร โดยต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอตลอดเวลา  (กฎ.55 ข้อ 30) สำหรับอาคารใน กทม. มีเพิ่มเติมว่า หากเป็นบันไดหนีไฟอยู่ภายในอาคารต้องทำให้ลงถึงชั้นพื้นดิน (ขบ.44 ข้อ 44) และ กำหนดบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร (ขบ.44 ข้อ 41)…อย่าลืมว่า การวัดความกว้างบันไดนั้น ในต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯ กำหนดวิธีวัดความกว้างบันไดไม่เหมือนกัน

5. มีประตูหนีไฟ ที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ ความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร เป็นบานเปิดผลักออกสู่ภายนอกและติดอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีธรณีหรือขอบกั้น (กฎ.55 ข้อ 31) อาคารในเขต กทม. มีการกำหนดการเปิดประตูของบันไดหนีไฟให้ชัดเจนขึ้น คือ ประตูหนีไฟต้องเป็นบานเปิดชนิดผลักเข้าสู่บันไดเท่านั้นสำหรับชั้นดาดฟ้า ชั้นล่างและชั้นที่ออกเพื่อหนีไฟสู่ภายนอกอาคารให้ประตูหนีไฟเปิดออกจากห้องบันไดหนีไฟ (ขบ.44 ข้อ 45)

6. ชานพักบันไดต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างบันได (ขบ.44 ข้อ 41)

7. พื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันไดและ “อีกด้านหนึ่ง” กว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร (กฎ.55 ข้อ 32 และ ขบ.44 ข้อ 41) ความหมายของ “อีกด้านหนึ่ง” คือระยะที่วัดตั้งฉากกับลูกนอนบันได

3%150923_watermark_aw_lightPhoto_horizontal

8. ตำแหน่งบันไดหนีไฟ ต้องมีระยะห่างระหว่างประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นปลายตันไม่เกิน 10 เมตร หากมีบันไดหนีไฟตั้งแต่สองบันไดขึ้นไป ระยะห่างระหว่างบันไดหนีไฟตามทางเดินต้องไม่เกิน 60 เมตร (ขบ. 44 ข้อ 44) และต้องมีป้ายเรืองแสงหรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างบอกทางหนีไฟ โดยมีข้อความหนีไฟเป็นตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร  ติดตามทางเดินและทางออกจากบันไดหนีไฟให้ชัดเจน (ขบ. 44 ข้อ 46 และ กฎ.39 ข้อ 7) โดยในกฎกระทรวงฉบับที่ 39 พ.ศ. 2537 ข้อ 7 กำหนดความสูงตัวอักษรของป้ายไว้ 10 เซนติเมตร

3%150923_watermark_aw_lightPhoto_horizontal

Source of Information:

อาคารเก่าในกทม. กับข้อควรระวัง 

FB0

Plus Property ได้ทำการสำรวจ พบว่าในเขตกรุงเทพมหานครมีอาคารสูงเกิน 7 ชั้น จำนวนมากกว่า 3,000 อาคาร โดยในจำนวนนี้มีอาคารใหม่อายุต่ำกว่า 10 ปี คิดเป็น33.33%  ในขณะที่อาคารส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร มีอายุราว 20 ปี ซึ่งหากอาคารใดสร้างก่อน กฎหมายควบคุมอาคารสูง 2535 ก็จะมีอุปกรณ์ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยน้อยกว่าอาคารที่ก่อสร้างหลังกฎหมายควบคุมอาคารปี 2535 ดังนั้นอาคารเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลบริหารจัดการอาคารอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการปรับปรุงเพิ่มเติมระบบป้องกันการเกิดเหตุอัคคีภัยเป็นต้น

สำหรับการเกิดอัคคีภัยนั้นโดยมากเกิดจากการขาดความระมัดระวังและคิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเรา มีสาเหตุหลักๆ เช่น การจุดธูปเทียนในอาคาร การใช้แก๊สขณะปรุงอาหาร และไฟฟ้าลัดวงจร ส่วนการลอบวางเพลิงพบได้ไม่บ่อยนัก และจากข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่าสถิติปี 2531-2552 ประเทศไทยเกิดอัคคีภัยราว 47,000 ครั้ง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 3,700 คน เสียชีวิตกว่า 1,600 คน รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 28,000 ล้านบาท

อาคารขนาดใหญ่ในปัจจุบันมีกฎหมายบังคับให้ออกแบบและวางระบบป้องกัน แจ้งเตือนดับเพลิงได้ดีในระดับหนึ่ง แต่เหตุที่บางอาคารเกิดเหตุและไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ทัน เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบหรือดูแลระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) และระบบระงับเหตุเพลิงไหม้ (Sprinkler) อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความบกพร่องไม่ว่าจะเป็นระบบการแจ้งเตือนเหตุ ระบบสัญญาณเตือนภัยและท่อน้ำดับเพลิง เป็นต้น ผู้ดูแลระบบเป็นอีกส่วนที่สำคัญ ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบและดูแลบำรุงรักษาให้ระบบมีความพร้อมต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการมีแผนการอพยพหนีไฟและการฝึกซ้อมเป็นประจำ

นอกจากนี้ การส่งต่อข้อมูลอาคารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร เช่นการกั้นผนังอาคาร แต่จะต้องแจ้งข้อมูลแก่ผู้ออกแบบอาคาร เพื่อให้ระบบป้องกันอัคคีภัยที่ออกแบบไว้สำหรับรูปแบบอาคารเดิมได้รับการเปลี่ยนแปลงและสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพดังเดิม เช่น หัวจ่ายน้ำสปริงเกอร์ที่ถูกติดตั้งไว้ในตำแหน่งเดิม แต่เมื่อมีการกั้นผนังอาคารเพิ่ม แต่ไม่มีการปรับปรุงหัวจ่ายน้ำสปริงเกอร์ให้สอดคล้องกับสภาพภายในที่เปลี่ยนไป เมื่อเกิดเพลิงไหม้ก็จะทำให้ระบบป้องกันอัคคีภัยทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ

พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2543 กำหนดให้อาคารชุดพักอาศัย หรืออาคารที่อยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.ขึ้นไป จะต้องมีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง อุปกรณ์และระบบบริหารจัดการความปลอดภัยของอาคาร เป็นปกติปีละ 1 ครั้ง และตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี โดยต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น อย่างไรก็ดีปัจจุบันข้อกำหนดนี้ได้รับการยกเว้นการตรวจสอบสำหรับอาคารชุดพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 5,000ตร.ม. เป็นเวลา 7 ปี และอาคารชุดพักอาศัยที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตร.ม. เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่กฎกระทรวงเริ่มบังคับใช้ในปี 2548 ซึ่งหากผู้ดูแลอาคารปฏิบัติตามกฎหมาย ก็จะส่งผลให้ผู้พักอาศัยจะมีความมั่นใจในการพักอาศัยมากขึ้น