นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่รัฐบาลจะเร่งผลักดันให้ได้ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีการจัดซื้อจัดจ้าง และเริ่มก่อสร้างในปี 2015-2016 ทั้งหมด 19 โครงการแบ่งเป็น 4 กลุ่ม มูลค่าเงินลงทุน 1.77 ล้านล้านบาท
กลุ่มรถไฟ แยกเป็น 2 ประเภท คือรถไฟทางคู่ 1 เมตร และ รถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร
สนข. ย้ำสร้างทางคู่มาตรฐาน รองรับความเร็วสูงอนาคต
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุเหตุผลสนับสนุนแผนงานรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐานไว้ว่า เพื่อ “รองรับการยกระดับ” ให้เป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ถึงแม้แผนงานปัจจุบันจะใช้ความเร็วเพียง 160–180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เนื่องจากรางขนาดมาตรฐานหรือ 1.435 เมตร สามารถรองรับพิกัดความเร็วได้สูงสุด 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตรงตามนิยามของสหภาพการรถไฟนานาชาติ (International Union of Railways: UIC) ที่กำหนดให้รถไฟความเร็วสูงคือรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในกรณีของสร้างทางใหม่ และวิ่งที่ความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในกรณีที่ยกระดับมาจากรถไฟเดิม
ขณะที่รถไฟในปัจจุบัน ขนาดราง 1 เมตร มีพิกัดความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เท่านั้น ไม่สามารถยกระดับเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคตได้ รวมไปถึงในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถวิ่งที่ความเร็วสูงสุดได้ เนื่องจากความทรุดโทรมของระบบเดินรถไฟ ซึ่งไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ สนข. ยังระบุว่า ด้วยพิกัดความเร็วที่มากกว่า ทำให้รถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน เหมาะสมกับการใช้เชื่อมต่อระหว่างประเทศเป็นหลัก ถึงแม้การเชื่อมโยงในภูมิภาคปัจจุบันจะมีรางขนาด 1 เมตรเป็นหลัก ตามโครงข่ายเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชีย (Tran-Asia Railway Network) แต่เส้นทางที่อยู่ในแผนงานเร่งด่วน ปี 2558 2 เส้นทาง คือเส้นทางเชียงของและหนองคาย มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมต่อให้สามารถเดินรถไฟได้ “อย่างต่อเนื่อง” กับประเทศจีน ซึ่งใช้รางขนาดมาตรฐานทั้งหมด
ที่มา: Thaipublica
รถไฟฟ้า
อัพเดทความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้า | เส้นทาง | ระยะทาง (กม.) | เงินลงทุน (ลบ.) | สถานะ | เริ่มก่อสร้าง | แล้วเสร็จ |
สายสีม่วง | บางใหญ่-บางซื่อ | 23 | 66,820 | 99.96% | 2009 | 2016 |
สายสีน้ำเงิน | ท่าพระ-บางซื่อ | 13 | 82,387 | 65.83% | 2011 | 2019 |
สายสีเขียว | แบริ่ง-สมุทรปราการ | 13 | 28,659 | 66.98% | 2013 | 2020 |
สายสีแดง | รังสิต-บางซื่อ | 26 | 69,305 | 16% | 2013 | 2019 |
สายสีเขียว | หมอชิต-คูคต | 18.4 | 58,874 | เริ่มก่อสร้าง | 2015 | 2019 |
สายสีแดงเข้ม | รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ | 10 | 6,028 | ผ่าน EIA | – | 2018 |
สายสีแดงอ่อน (ชานเมือง) | บางซื่อ-หัวหมาก | 25.5 | 39,176 | ผ่าน EIA | – | 2019 |
สายสีแดงเชื่อม Airport Link | ดอนเมือง-พญาไท | 22 | 33,103 | ผ่าน EIA | – | 2019 |
สายสีส้ม | ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี | 21 | 110,325 | ผ่าน EIA | – | 2020 |
สายสีชมพู | แคราย-มีนบุรี | 36 | 56,691 | ผ่าน EIA | 2017 | 2021 |
สายสีเหลือง | ลาดพร้าว-สำโรง | 30.4 | 54,644 | ผ่าน EIA | – | 2021 |
Motorway
พัทยา-มาบตาพุด
- ระยะเวนคืน: 2,308 ไร่ หรือ 842 แปลง
- เริ่มดำเนินการ: 2015
- คาดว่าแล้วเสร็จ: 2018
บางปะอิน-นครราชสีมา
- ระยะเวนคืน: 3,200 แปลง
- เริ่มดำเนินการ: 2016
- คาดว่าแล้วเสร็จ: 2019
บางใหญ่-กาญจนบุรี
- ระยะเวนคืน: 6,808.5 ไร่ หรือ 3,628 แปลง
- เริ่มดำเนินการ: 2016
- คาดว่าแล้วเสร็จ: 2019
ทางน้ำ
เรือเอก สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 อนุมัติให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ดำเนินโครงการ การพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) โดย กทท. เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือยกขนหลักทั้งหมด รวมทั้งการบริหารและประกอบการ ซึ่งใช้งบประมาณลงทุนรวม 1,864.19 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ให้บริการอยู่ในเขตท่าเรือ คาดว่าในราวปลายปี 2558 จะลงนามในสัญญาจ้างการก่อสร้าง โดยใช้เวลารวม 24 เดือน และจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2561
สำหรับโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) นั้น อยู่บริเวณแอ่งจอดเรือที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างท่าเทียบเรือ A1 และ A0 มีพื้นที่ทั้งหมด 43 ไร่ มีความยาวหน้าท่า 245 เมตร โดยจะให้บริการท่าเรือชายฝั่งเป็นการเฉพาะ สามารถรับเรือชายฝั่งขนาดระวางบรรทุก 3,000 เดทเวทตัน ยกขนตู้สินค้าคราวละ 200 เดทเวทตัน และเรือชายฝั่งขนาด 1,000 เดทเวทตัน ยกขนตู้สินค้าคราวละ 100 เดทเวทตัน ได้อย่างละ 1 ลำ พร้อมกัน รวมทั้งติดตั้งปั้นจั่นหน้าท่าชนิดเดินบนราง (Quay Side Gantry Crane : QGC) จำนวน 1 คัน ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า (Mobile Harbour Crane : MHC) จำนวน 1 คัน และรถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้าแบบล้อยาง (Rubber Tyred Gantry Crane : RTG) จำนวน 2 คัน โดยสามารถรองรับตู้สินค้าในลานกองเก็บตู้สินค้าได้สูงสุดถึง 300,000 ทีอียู./ต่อปี
ทั้งนี้ท่าเทียบเรือ A จะสามารถช่วยให้การบริการเรือชายฝั่งที่ ทลฉ. เป็นไปด้วยความรวดเร็วในการขนย้ายตู้สินค้า มีความปลอดภัยในการเข้า-ออกท่า และมีความสะดวกในการใช้ประโยชน์พื้นที่หน้าท่าและหลังท่าสูงสุดโดยจะรองรับการขนส่งสินค้าทางน้ำจากภาคใต้ของประเทศไทย รวมถึงการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และท่าเรือกรุงเทพอีกด้วย
ศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟแหลมฉบัง
ปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบัง ได้เร่งดำเนินการโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Rail Transfer Terminal) โดยได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาวิเคราะห์โครงการและออกแบบรายละเอียดสำหรับก่อสร้างในรูปแบบของย่านขนถ่ายตู้สินค้า อาคารสำนักงาน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่ง การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือยกขนหลักทั้งหมด เป็นเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 2,900 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการลดต้นทุนโลจิสติกส์และช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการฯ คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2561 โดยโครงการดังกล่าว สามารถรองรับตู้สินค้าได้ 2.0 ล้านทีอียูต่อปี
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น บริษัทที่ปรึกษาได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทุกด้านและผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว
ทางอากาศ
ขอบคุณข้อมูล:
Prachachart Online