วันนี้ผมไปราชภัฏเพชรบุรีได้คุยขอความรู้กับอาจารย์เจ้าของโครงการปั้น EM Ball (นักศึกษาที่นั่นช่วยกันปั้นหลายสิบคน ขอบคุณมากเลย) ได้ความว่า หากบ้านท่านน้ำท่วมสูงไม่ถึง 1.5 เมตร (ระดับอกขึ้นไป) โยน EM Ball ไปก็ไม่มีประโยชน์ ปั้นเสร็จก็ใช่ว่าจะโยนลงน้ำได้เลย ต้องตากในที่ร่มปล่อยให้จุลินทรีย์ในก้อนทรายเติบโตสัก 7-15 วัน ไม่งั้นโยนไปก็ไม่ได้ผล แล้วผลที่ได้ก็จะอยู่ได้ประมาณ 7 วันน้ำขาวก็จะกลับมาเป็นดำ เวลาโยนต้องปูพรมทั้งซอย หรืออย่างน้อย 5-10 บ้านถัดไปด้วย และห้ามโยนข้างในบ้าน ไม่อย่างนั้นทรายจะลอยเต็มบ้านทำความสะอาดยาก หรือเข้าไปอุดปลั๊กไฟ ฯลฯ ข้างในบ้านให้ใช้แบบจุลินทรีย์น้ำแทนจะได้ผลดีกว่ามาก สุดท้ายเลยไปหาข้อมูลอย่างละเอียดมาจากเวปขององค์กร EMRO-ASIA ได้ตามนี้ครับ!

EM ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms ซึ่งมีความหมายว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว สีน้ำตาล กลิ่นหวานอมเปรี้ยว เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือ ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

คุณสมบัติบางประการและการเก็บรักษา

1. EM เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ประมาณ 20 – 45 องศาเซลเซียส หากไม่ได้เปิดใช้เก็บไว้ได้นาน 1 ปี
2. EM ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพัก การนำไปใช้หากเปิดใช้แล้วให้รีบปิด เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน

จุลินทรีย์ใน EM คืออะไร

คำว่า จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต EM (จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก ยีสต์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) ผลิตจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ ไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ และไม่ใช่การตัดต่อยีนส์ (GMOs) ซึ่งเป็นโทษต่อมนุษย์ สัตว์และพืช EM ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยซึ่งใช้กันมาก่อนในสมัยโบราณจะโดยตั้งใจหรือ ไม่ตั้งใจก็ตาม จุลินทรีย์ใน EM มี 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

1. จุลินทรีย์ผลิตกรดแลกติก

เป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในพวกแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยน น้ำตาลให้เป็นกรดแลคติกได้โดยผ่านกระบวนการหมัก ซึ่งกรดแลกติกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิด และจุลินทรีย์อื่น ๆ ได้ เนื่องจากมี pH ที่ต่ำ เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่ามีการนำเอาจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกไปใช้ใน การหมักอาหารหลายชนิด เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต และสามารถเก็บไว้ได้นาน ตั้งแต่หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ค้นพบจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในปี พ.ศ.2400 ทำให้รู้ถึงประโยชน์ของมันที่เกี่ยวกับสุขภาพและการมีอายุยืนยาว เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีงานวิจัยที่พบว่า นอกจากมันจะอยู่ที่ลำไส้เล็กของคนแล้วมันยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิต้าน ทาน มีคุณสมบัติในการต่อต้านการสูญเสียโปรตีนในเลือด ต่อต้านการกลายพันธ์ โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และการมีความดันโลหิตต่ำ

2. ยีสต์

เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวตั้งต้นในการหมัก ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักเบียร์หรือแอลกอฮอล์ และใช้ในการทำขนมปัง ยีสต์ค้นพบโดยพ่อค้าชาวดัทช์ ชื่อ แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค (ในปี พ.ศ.2175 -2266) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกในโลกเรื่องจุลินทรีย์ ยีสต์ถูกจำแนกเป็นสัตว์เซลเดียว ซึ่งแตกต่างจากเชื้อราเพราะมันจะอยู่เป็นเซลเดียวไปตลอดชีวิต ในโลกของจุลินทรีย์จะมีกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ยีสต์จะมีอยู่มากในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ตามผิวของผลไม้ ใน EM ยีสต์ผลิตจะสารชีวพันธ์ต่าง ๆ หรือสารที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโน และแป้ง

3. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

โฟโต้ทรอปฟิคแบคทีเรีย (เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) เป็นแบคทีเรียโบราณที่เกิดมาก่อนการเกิดดาวเคราะห์โลกที่มีออกซิเจนหนา แน่นอย่างเช่นในปัจจุบัน จากชื่อของมันบ่งบอกให้รู้ว่ามันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการย่อยสลายสาร อินทรีย์และอนินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีอยู่ตามนาข้าว ทะเลสาบ และทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ ในทางปฏิบัติจะพบจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพนี้ตามทุ่งนาเพราะมันย่อยสลาย อินทรียวัตถุได้ดี ทั้งในการบำบัดน้ำเสียมีงานวิจัยที่รายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ จุลินทรีย์นี้ ส่วนที่ใช้ในการเกษตร การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป ภายใต้สภาพที่มีการผลิตไฮโดรเจนมันสามารถย่อยสลายสารต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงร่วมอยู่ในระบบย่อยต่าง ๆ และเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรไนโตรเจนและวัฏจักรคาร์บอน เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรต่าง ๆ มันจึงทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ใน EM ได้ ดังนั้นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจึงเป็นจุลินทรีย์ที่สำคัญใน EM

วิธีทำจุลินทรีย์บอล (EM ball)

เพื่อการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำที่มีโคลนตะกอน หรือน้ำไหล หรือน้ำลึก ให้ได้ผลดีกว่าการใช้ EM ขยาย หรือจะใช้ทั้ง EM ball และ EM ขยาย ร่วมกันก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น

ส่วนผสมส่วนที่ 1

1. รำละเอียด 1 ส่วน
2. แกลบป่น หรือ รำหยาบ 1 ส่วน
3. ดินทราย 1 ส่วน

* ใช้ โบกาฉิ แทนส่วนที่ 1 หรือใช้โคลนตะกอน แทนดินทรายได้

ส่วนผสมส่วนที่ 2

1. EM 10 ช้อนแกง
2. กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร

* ใช้ EM ขยาย หรือ EM หมักน้ำซาวข้าว หรือ EM5 ผสมร่วมกันหรือใช้แทน EM กับกากน้ำตาลได้

วิธีทำ

1. ผสมส่วนที่ 1 แล้วรดด้วยส่วนที่ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. วัดความชื้นพอเหมาะ ปั้นเป็นก้อนกลม หรือดัดแปรงได้ตามต้องการ
3. นำไปวางไว้ในที่ร่มจนแห้งสนิท แล้วนำไปใช้