CO. LAB จุดเริ่มต้นวัฒนธรรมองค์กรของ SC ASSET สู่การต่อยอดเพื่อเป็น Living Solutions Provider

SC ASSET ได้วางกลยุทธ์ Re-Invention 2020 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่จะเป็น Living Solutions Provider อย่างสมบูรณ์ โดยมี “บุคลากร” เป็นหนึ่งในทรัพยากรหลักที่คอยขับเคลื่อนองค์กร และแน่นอนว่ากว่าที่จะก้าวไปถึงจุดนั้น ความพร้อมของคนเป็นสิ่งสำคัญ …

พื้นที่ CO.Lab ถูกออกแบบมาเพื่อพนักงานและ Partner ของ SC ASSET มีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้กับลูกบ้าน และเตรียมพร้อมที่จะเป็น Living Solutions Provider โดยเปิดให้ใช้งานเพื่อการพัฒนาไอเดียต่างๆ ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน เป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ เปิดกว้างเพื่อรับฟังความเห็น และแบ่งปันไอเดียของทุกคน

วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับ คุณจูน-โฉมชฎา กุลดิลก Head of Corporate Brand และคุณแบงค์- กานดิศักดิ์ รื่นใจชน Head of Product Design & Innovation สองหัวเรือใหญ่ ผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดของ CO.Lab พื้นที่ทำงานเพื่อสร้างสรรค์ความคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ ของ SC ASSET

จุดเริ่มต้นของ CO.Lab
จูน: คุณพงศ์ (ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์) เขาอยากได้พื้นที่ทำงานแบบใหม่ ให้คนหลายๆ แผนกมานั่งทำงานรวมกัน ซึ่งก็คือ Workplace ใหม่ที่พนักงานจะเป็นคนใช้ เราเลยเริ่มต้นด้วยการจัด Workshop ตั้งคำถามจากพนักงานที่น่าจะมีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่ ว่าเขาอยากได้พื้นที่ทำงานแบบไหน ซึ่งคำตอบค่อนข้างหลากหลาย บางคนบอกว่าอยากได้สปา บางคนบอกว่าเก้าอี้นวด

แบงค์: เราเปิดโอกาสให้เขาแสดงความคิดเห็น และบางอย่างเราก็สังเกตจากพฤติกรรม ที่เขาก็พูดออกมาไม่หมด อย่างบางคนมาทานข้าวเช้าที่ออฟฟิศ แต่พอมี Canteen ก็ทำให้คนต่างแผนก ได้มากินข้าวเช้าด้วยกัน แล้วมีโอกาสได้คุยกันมากขึ้น เมื่อเอาหลากหลายความคิดเห็นของแต่ละคนมาขมวดแล้ว เราก็เลยคิดว่าอยากสร้าง workplace ที่คนในองค์กรต่างแผนกได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น พัฒนาไอเดีย ได้ร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานและแก้ไขปัญหา ให้กับลูกค้าซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม CO.Lab

CO.Lab กับวัฒนธรรมองค์กรใหม่ #SKYDIVE

จูน: ตอนที่เราเริ่มทำพื้นที่ตรงนี้ เป็นเวลาเดียวกับที่เรานำวัฒนธรรมใหม่ที่มีชื่อว่า #SKYDIVE เข้ามาใช้ เพื่อที่จะเปลี่ยน Mindset ให้พนักงานมีความเป็น Living Solutions Provider มากขึ้น
ซึ่งประกอบด้วย

  1. Care ใส่ใจเพื่อน รู้ใจลูกค้า เราปรับให้เข้าสู่ Empathy ไม่ใช่แค่เป็นห่วงเป็นใย แต่ให้รับฟังกันมากขึ้น พยายามเข้าใจกันมากขึ้น
  2. Courage กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ เพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ สร้าง Creativity เราเลยออกแบบพื้นที่ของ CO.Lab ให้เปิดโล่ง ระหว่างวันก็เปิดเพลงคลอเบาๆ เพื่อให้คนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น นั่นคือเหตุผลที่ทำไม พื้นที่ตรงนี้เลยเปิดหมดเลย แล้วก็มีเสียงเพลงเพื่อให้ความรู้สึกว่าคุณพูดได้ แล้วเก้าอี้ก็เป็นสีๆ
  3. Collaboration ทำงานร่วมต่างแผนก ต่างบริษัท มุ่งมั่นไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์กรใหญ่ๆ พอทำงานไประยะหนึ่ง จะเริ่มเข้าโหมด Silo คุยแค่ในแผนก แล้วจบ แต่บริษัทไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้ เพราะคุณจะเห็นงานแค่มุมเดียว แต่ถ้าทุกคนมาทำช่วยกัน ภาพมันจะชัดขึ้น เราจะเริ่มมองเห็นมุมเดียวกับลูกค้า คำว่า Collaboration ตรงกับโจทย์ของ CO.Lab เพราะ พื้นที่ตรงนี้ไม่มีเจ้าของ แต่เป็นของทุกคน
  4. Continuous Improvement เรียนรู้สิ่งใหม่ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ผลลัพท์ออกมาดีที่สุด

ทั้ง 4 C เป็นสิ่งที่เราทำพร้อมกับ CO.Lab เพื่อให้เป็นเครื่องมือของกันและกัน

แนะนำฟังก์ชั่นและการใช้งานของ CO.Lab

Community Manager ผู้บริหารพื้นที่ คอยให้ความช่วยเหลือ คอยรับฟังปัญหาต่างๆ
เปรียบเสมือนตัวแทนของพนักงานในบริษัท

Many, Many Hot Desks เก้าอี้หลายชนิดรองรับการทำงานแบบที่ต่างกัน มีตั้งแต่วิวริมหน้าต่าง จนกระทั่งนั่งทำงานบนโซฟา

Town Hall สำหรับประชุมทีมใหญ่, Workshop หรืออัพเดทเทรนด์ตลาด โดยจุได้มากถึง 120 คน ซึ่งถ้าวันไหนไม่มีประชุม ก็สามารถใช้พื้นที่นี้ทำงานได้

Dedicated Desks โต๊ะทำงานส่วนกลาง สำหรับคุยงานระหว่างแผนก เปิดให้จองล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 1 ชม. – 1 เดือน

Waiting & Selfie Area พื้นที่รองรับผู้ติดต่อ ไม่ว่าจะเป็น Messenger หรือ Grab Bike

Drinks/ Snack/Chat เพราะเราเชื่อว่า “ชีวิตที่ดี มาจากจุดเริ่มต้นที่ดี” Product ที่ดีก็เช่นกัน มักจะเกิดจากจุดเริ่มต้นของบทสนทนาในอิริยาบทสบายๆ ระหว่างที่กำลังนั่งดื่มกาแฟ เราแลกเปลี่ยนความคิดกันได้

POD A/ POD B
สำหรับเปลี่ยนบรรยากาศในการประชุมทีมย่อย พื้นที่เล็กๆ ทำให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

Lockers รองรับสัมภาระ แต่ไม่รับฝากข้ามคืนนะ เพราะอยากให้ได้แบ่งปัน ความรู้สึกปลอดภัยให้คนอื่นๆ เช่นกัน

Simulation Room เรียกว่า สวรรค์ของทีม Product Design ห้องขนาด 120 ตร.ม. เพดานสูง 6 เมตร บนพื้นมีตารางสเกล 1:1 เพื่อนำสิ่งที่ออกแบบบนหน้าจอมาทำให้ใช้จริง

Sunshine พื้นที่ทำงาน Out Door บริเวณด้านนอก มองออกไปเห็นวิวเมือง ไม่แน่ว่าอาจทำให้เกิดไอเดียดีๆ

Reading Area อยู่ด้านบน Townhall พื้นที่แห่งความสงบ เวลาที่เราอยากจดจ่อกับการใช้ความคิด หนีจากความวุ่นวาย

On the Phone พื้นที่สำหรับคุยโทรศัพท์ แต่กลายเป็นว่า มีทีมเห็นว่าตรงนี้เงียบดี เลยจัดรายการ Pod Cast ให้คนในบริษัทฟังซะเลย

Brainstorming Room บางคนอาจคิดว่า “ประชุมทั้งวัน ไม่ได้อะไรเลย” แต่ในห้องนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของพายุไอเดีย ซึ่งเราสามารถเขียนทุกอย่างที่อยู่ในหัวได้บนกระดานรอบห้อง หรือเอา Post-It ติดไปทั่วผนังห้อง

CO. Lab กับการเดินทางสู่ Living Solutions Provider
Living Solutions Provider เป็นเส้นทางที่เราวางไว้ตั้งแต่ปี 2018 เราพัฒนา Product และ Solutions บนแนวคิด Human Centric จับให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ซึ่งตั้งแต่เริ่มมา … ก็เป็นปัญหาเดิมๆ อาทิ ซ่อมบ้าน โอนบ้าน ขายบ้าน การทำความสะอาดบ้าน และความปลอดภัยของลูกบ้าน แต่บางอย่างเราก็ทำไม่ได้ เช่น การอนุมัติสินเชื่อบ้าน แต่เราสามารถช่วยจัดหาได้ เลยเป็นที่มาของ Ruejai Living Solutions

แน่นอนว่ากว่าที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย?
ทุกวันนี้คุณพงศ์ ยังพูดเลยว่ามันไม่มีทางครบทั้ง 100% รู้แค่ว่าเรามาถูกทางแล้ว แต่สิ่งที่เราได้กลับมา คือ Data ของลูกค้า จากเมื่อก่อน ข้อมูลถูกเก็บไว้แบบกระจัดกระจาย พอเริ่มมี บ้านรู้ใจ แอปพลิเคชั่น (Baan Ruejai Application) เราสามารถ tracking กลับไปได้หมด ลูกค้าซื้ออะไรบ้าง มีปัญหาเรื่องอะไร ร้องเรียนเรื่องไหนเยอะสุด แล้วเราดึงข้อมูลตรงนั้นออกมา เพื่อหา Solution ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด

ถ้าทิศทางขององค์กร คือ Living Solutions Provider สิ่งที่ต้องการจากพนักงานคืออะไร

จูน: สิ่งที่ต้องการคือความพร้อมของคน เพราะเขาเป็นรากฐานของทุกสิ่งในบริษัท คนเป็นผู้ผลิตและส่งมอบ Product ซึ่งถ้าเราเริ่มโดยที่คนของเรายังไม่พร้อม มันจะอลหม่านมาก และเครื่องมือทำให้คนเปลี่ยนคือวัฒนธรรมองค์กร มีทั้งชุดวัฒนธรรมใหม่ และชุดพฤติกรรมที่เราต้องการจากพนักงาน

แบงค์: ก็เหมือนกับเรื่องไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน คนพร้อมแล้วสภาพวาดล้อมพร้อมไหม บางทีรอให้คนพร้อม แล้วสภาพแวดล้อมไม่พร้อม ก็ไม่ได้ สิ่งที่ทำก็คือเราก็ทำไปพร้อมพร้อมกัน โดยที่มันอาจจะไม่มีคำตอบว่ามันถูกต้องหรือเปล่า แต่ถ้าที่มันไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง เราก็พร้อมที่จะปรับ เพื่อให้เข้ากับสภาพของคนและความคิด

Mindset ของพนักงาน เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็น Living Solutions Provider

จูน: Living Solutions Provider คือการช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า ดังนั้น Mindset สำคัญทีสุดคือ Customer Centric มองเห็นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง พร้อมแก้ปัญหา มีความ Proactive อยากได้อะไร เดี๋ยวเราจัดหาให้ จนกระทั่งวันหนึ่งแค่มองตารู้ใจ รู้ว่าเขาต้องการอะไร จริงๆ “รู้ใจ” ก็เป็นหนึ่งคำที่ถูกคิดขึ้นมาจาก Mindset ที่เราต้องการ

วิธีบริหาร CO.Lab เพื่อกระตุ้นอยากให้คนกลับมาใช้งานในระยะยาว

จูน: เราตั้ง Community Team ขึ้นมา เพื่อบริหารจัดการพื้นทีตรงนี้ คิดโปรแกรมต่างๆ
โดยนำเรื่อง Internal Branding มาใช้ ซึ่งทีมนี้เปรียบเสมือนตัวแทนของพนักงาน คอยรับฟังปัญหา และให้คำแนะนำ เราอยากให้ CO.Lab มีจิตวิญญาณ ไม่งั้นต่อไปก็จะกลายเป็นห้องเปล่า

แบงค์: การมี Comunity Team คือข้อแตกต่างของ Co-Working Space ที่เรานำมาเป็นต้นแบบ ถ้า Copy+ Paste มาก็ได้ สภาพแวดล้อมเดิมๆ ซึ่งเราไม่ต้องการให้เป็นพื้นที่ที่มาทำงานร่วมกันอย่างเดียว แต่จะต้องมีอะไรอะไรบางอย่างที่เป็นแรงดึงดูด ทำให้ทุกคนอยากจะมาทำร่วมกัน ช่วยแก้ปัญหา พื้นที่ทำงานที่เขาหาไม่ได้

ในอนาคต CO.Lab สามารถต่อยอดเป็นอะไรได้บ้าง

จูน: CO.Lab ยังอยู่ในช่วง Prototype Testing ภาพรวมตอนนี้อาจแค่ 80% คือสามารถใช้งานได้ ส่วนที่เหลือ 20% อยู่ที่พนักงาน ว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ได้แค่ไหน
อย่างห้อง Pod Cast นี่ amazing มาก เพราะไม่ได้ถูกคิดมากตั้งแต่ต้น อยู่ดีๆ เขาก็ทำขึ้นมาเอง

ความสำเร็จของ CO.Lab และวิธีการวัดผล

เราจะมีโปรแกรมวัดผลจากกลุ่ม People ในเรื่อง Staff Engagement ว่ามีคนมาใช้งานจริงรึเปล่า แล้วมี Project ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือระหว่างแผนกเยอะแค่ไหน ซึ่ง Project ที่ว่าจะไม่ใช่งานประจำ แต่จะเป็น 10-20% ที่ไป Support คนอื่นๆ รวมไปถึงโครงการใหม่ๆ ที่จะมาพัฒนาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้กับธุรกิจ ตรงนี้แหละ..จะถูกวัดว่่าเกิดจาก CO.Lab เยอะแค่ไหน

“สำหรับ 10-20% SC ASSET ไม่ได้กำหนดว่าเราจะต้องทำอะไร แต่ใครทำได้ จะมีโบนัสเพิ่ม ซึ่งคำว่า “ใคร” จะไม่ใช่แค่คนๆ เดียว เกิดจากความร่วมมือระหว่างแผนก ถ้ามันต่อยอดไปขนาดนี้ได้ นี่คือสิ่งที่สูงสุดที่องค์กรคาดหวังจากพนักงานแล้ว” คุณจูนกล่าวทิ้งท้าย