800px-TransMilenio_01

BRT (Bus Rapid Transit) หรือ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ เป็นระบบขนส่งมวลชนรูปแบบหนึ่งที่ใช้รถโดยสาร ให้บริการเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากรถโดยสารประจำทางทั่วไป โดยพัฒนารูปแบบการเดินรถ ตัวรถโดยสาร ตารางการเดินรถ ระบบขนส่งอัจฉริยะ และที่สำคัญคือจะมีช่องทางวิ่งแยกออกมาจากถนนปกติเป็นช่องทางเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีคุณภาพของบริการเทียบเท่ากับระบบขนส่งมวลชนระบบราง ในความเร็วและความจุผู้โดยสารที่เทียบเท่ากับระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา ในขณะที่ต้นทุนการก่อสร้างและการเดินรถโดยสารประจำทางที่ประหยัดกว่า ทั้งยังสามารถจัดเส้นทางการเดินรถได้ยืดหยุ่นมากกว่าระบบราง โดยมีความเร็วเฉลี่ยประมาณ 30 – 45 กม./ชม.  ซึ่งใกล้เคียงกับระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา

จุดเริ่มต้นของ BRT 

Credit: Guardian

BRT เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1974 ที่ Curitiba, Brazil หนึ่งในเมืองที่มีการจราติดขัดที่สุดในโลก  โดยเมื่อมีการนำ BRT มาใช้ ส่งผลให้มีการย้ายรูปแบบการเดินทาง (modal shift) จากรถส่วนตัวเป็นรถเมล์ ลดลงมา 27 ล้านเที่ยว ต่อปี (จากสถิติปี 1991) โดยส่งผลให้มีการประหยัดเชื้อเพลิง 27 ล้านลิตร และเมื่อเปรียบเทียบเมืองขนาดใหญ่ทั้ง 9 เมืองในประเทศ Curitibaใช้พลังงานเชื้อเพลิงน้อยกว่าเมืองอื่นเฉลี่ย 30% ต่อหัวประชากร ส่งผลให้เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด และกลายเป็นต้นแบบของระบบ BRT ที่ใช้กันทั่วโลก 

de1c4d79-5844-42ed-b043-f0c6f3b0911a-2060x1236

ตลอดสี่ทศวรรษ นับตั้งแต่ BRT สายแรกเกิดขึ้น ปัจจุบันมี 186 ประเทศทั่วโลกที่ใช้ระบบ BRT คิดเป็นระยะทาง 4,757 ก.ม. มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 31.7 ล้านคน/วัน  แบ่งเป็น Latin America 19.7 ล้านคน, Asia 8.5 ล้านคน, และ Europe 1.8 ล้านคน

Screen Shot 2559-10-13 at 10.11.44 PM

เปิดสถิติผู้โดยสาร BRT ในเอเชีย

Harmoni_Central_Busway_Transjakarta_2

TransJakarta คือเส้นทาง BRT สายแรกของเอเชีย เริ่มต้นที่ Jakarta, Indonesia ในปี 2004 โดยรัฐบาลช่วยสนับสนุนค่าก่อสร้างและค่าเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหารถติดในเมือง ปัจจุบันมีความยาว 210.31 ก.ม. ถือเป็นเส้นทางเดินรถ BRT ที่ยาวที่สุดในโลก  ซึ่งจาก www.brtdata.org ก็ได้รวบรวมสถิติ ของผู้โดยสารในเอเชีย ไว้ดังนี้

AW_Info_Brt-01-01BRT  แห่งแรกในเมืองไทย

32062_128222747204789_5655728_n

การศึกษาโครงข่ายรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกิดเนื่องมาจากภาครัฐต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังและมีความรุนแรงมากขึ้น  ในฐานะที่กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศ นอกจากการก่อสร้างระบบโครงข่ายถนนจำนวนมากในอดีตแล้ว ภาครัฐได้หันมาพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางได้เกิดขึ้นเป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์แล้ว แต่การดำเนินงานต้องใช้เงินลงทุนสูงและใช้ระยะเวลานาน จึงจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการให้บริการรถโดยสารประจำทางอย่างเร่งด่วนควบคู่ไปกับการก่อสร้างระบบขนส่งทางราง

Image 1/4
28712_126590650701332_340369_n

28712_126590650701332_340369_n

แนวทางหนึ่งของการพัฒนาระบบรถประจำทางที่เหมาะสม คือการสร้างระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ  หรือ BRT ที่มีคุณภาพเทียบเท่าระบบราง มีลักษณะเฉพาะได้แก่ ใช้มาตรการการให้สิทธิพิเศษแก่รถโดยสารประจำทาง โดยออกแบบช่องทางพิเศษเฉพาะในรูปแบบชิดเกาะกลางถนน เพื่อแยกการเดินรถออกจากระบบจราจรอื่น ๆ มีสถานีเฉพาะที่อำนวยความสะดวก มีศูนย์ควบคุมและบริหารจัดการการเดินรถ โดยใช้ระบบขนส่งอัจฉริยะ (intilligent transport system หรือ ITS) ที่มีตารางเวลาการเดินรถค่อนข้างแน่นอน เพื่อความตรงต่อเวลาและความปลอดภัย ขณะที่เส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษมีความยืดหยุ่นมากกว่าระบบราง และใช้ค่าก่อสร้างเพียง 80-120 ล้านบาทต่อกิโลเมตร หรือประมาณ 8% ของต้นทุนระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ใช้เงินลงทุนถึง 1,400 ล้านบาทต่อกิโลเมตร และถูกกว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ใช้เงินลงทุนสูงถึง 3,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ทั้งยังสามารถก่อสร้างได้รวดเร็วไม่เกิน 1 ปีต่อเส้นทาง หรือเร็วกว่ารถไฟฟ้าถึง 3 เท่า

Bangkok BRT แผนที่วางไว้และความเป็นจริง

S__10002478

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการศึกษาแผนการพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษจากหน่วยงาน 2 แห่งในเวลาเดียวกัน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ซึ่งเคยมีข้อเสนอแนะให้รวมแผนการพัฒนาของทั้ง 2 องค์กรเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

แม้ว่าสนข.จะเริ่มออกแบบเส้นทาง BRT ตั้งแต่ปี 2547 ปัจจุบันก็ยังเป็นเพียง “ข้อเสนอแนะ” ที่ไม่มีทางพิจารณาให้สร้างแต่อย่างใด ขณะที่ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง ได้จัดทำแผนการพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ตามนโยบายของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในชื่อโครงการ Bangkok BRT ประกอบด้วยเส้นทางนำร่อง เดิมมีกำหนดเปิดใช้ปลายปี พ.ศ. 2548 ได้แก่

  1. สุรวงศ์-ราชพฤกษ์ (ถนนนราธิวาสราชนครินทร์-ถนนพระรามที่ 3): 16.5 กิโลเมตร
  2. นวมินทร์-เกษตร-หมอชิต (รามอินทรา-ถนนนวมินทร์-ประเสริฐมนูกิจ-พหลโยธิน): 19.5 กิโลเมตร ยกเลิกโครงการเนื่องจากกายภาพบริเวณถนนพหลโยธินไม่เหมาะสม

จากเส้นทางในแผนแม่บทของกรุงเทพมหานครทั้งหมด 10 เส้นทาง มีเพียงสายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ที่สามารถก่อสร้างเป็นเส้นทางนำร่องได้สำเร็จในปี 2552  และเริ่มเปิดใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2553 เดินรถโดย บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด อัตราค่าโดยสาร 5 บาท ตลอดสาย

S__10002482

และเมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา กทม. ได้ปรับอัตราค่าโดยสาร BRT โดยเรียกเก็บตามโซนของการเดินทาง แบ่งเป็น

  • โซนที่ 1 จากสถานีสาทร (B1) ถึง สถานีวัดด่าน (B6) จำนวน 6 สถานี กำหนดอัตราค่าโดยสาร 5 บาท
  • โซนที่ 2 จากสถานีวัดด่าน(B6) ถึง สถานีราชพฤกษ์ (B12) จำนวน 6 สถานี กำหนดอัตราค่าโดยสาร 5 บาท (แต่ในกรณีที่เดินทางข้ามโซน จะคิดอัตราค่าโดยสาร 10 บาท)

เตรียมปิดฉาก Bangkok BRT หลังขาดทุนยับ พร้อมแตกใบอ่อนเป็น “รถไฟฟ้าสายสีเทา”

S__10002473

ตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่เปิดให้บริการเดินรถ BRT ทางกทม. ก็ประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด เนื่องจากมีผู้โดยสารเฉลี่ยเพียง 25,000 คน/วัน จากที่ตั้งเป้าไว้ 30,000 คน/วัน ทำให้ขาดทุนถึง 1,000 ลบ. อีกทั้ง กทม. ต้องควักเนื้อ “งบประมาณอุดหนุนโครงการ” ปีล่ะ 200 กว่าลบ. เพื่อจ่ายค่าติดตั้งระบบ-เดินรถให้ BTSC-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นระยะเวลา 7 ปี ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุด เม.ย. 2560 และมีแนวโน้มที่เปลี่ยน BRT ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟส 3 พระราม 3-ท่าพระ ที่จะสร้างในอนาคต แต่ระหว่างนี้จะนำระบบอื่นมาวิ่งทดแทนไปก่อน 

S__10002481

ด้าน “มานิต เตชอภิโชค” กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) เปิดเผยว่า สัญญาที่จ้างบีทีเอสเดินรถบีอาร์ทีจะหมดเดือน เม.ย.ปี 2560 จะยกเลิกและเปลี่ยนเป็นระบบรางแทน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุป จะใช้รถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็ก (Tram) ที่สามารถวางรางวิ่งร่วมกับรถยนต์บนผิวถนนได้ โดยใช้ระบบแบตเตอรี่และโซลาร์ นอกจากนี้จะปรับให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ช่องนนทรีและตลาดพลูด้วย ส่วนรถบีอาร์ทีมีอยู่กว่า 20 คัน จะนำไปใช้เป็นสวัสดิการข้าราชการ กทม.แทน (ประชาชาติธุรกิจ, ก.ค. 2559)

ขอบคุณข้อมูล

  • ประชาชาติธุรกิจ
  • wikipedia
  • facebook: Bangkok BRT