DSCN0359_resize

เมื่อช่วงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ทาง AP (Thailand) ได้ประชาสัมพันธ์ คอนโด 3 โครงการ คือ Rhythm สุขุมวิท 36-38, Rhythm อโศก 2,  Aspire รัชดา-วงศ์สว่าง ที่ร่วมผนึกกำลังออกแบบกับ Mitsubishi Estate Group ของญี่ปุ่น และประมาณกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง AP ได้จัดงานสัมมนา “Every Inch Matters: Principles of Japanese Design” บรรยายโดย Mr. Tetsuya Okusa (คนซ้าย) และ Mr. Soichiro Toba (คนซ้าย)  สถาปนิก จาก Mitsubishi Jisho Sekkei (ในเครือ Mitsubishi Estate Group) พร้อมเปิดภาพแรกของ Rhythm Asoke II หนึ่งในสาม โครงการที่ออกแบบร่วมกัน 

1

โดยมี คุณ ญารินดา บุนนาค เป็นผู้ดำเนินรายการ

DSCN6020_resize

Mr. Tetsuya Okusa  และ Mr. Soichiro Toba คือ 2 หัวเรือใหญ่แห่ง Mitsubishi Jisho Sekkei ทั้งคู่พยายามศึกษาในวิถีชีวิตที่แตกต่างของแต่ละชาติ และนำมาผสมผสานกับดีไซน์ของญี่ปุ่นได้อย่างลงตัว

DSCN6047_resize

Mr. Soichiro Toba เล่าถึง ประวัติศาสตร์ของย่าน Marunouchi ที่ปัจจุบันถูกพัฒนาโดย Mitsubishi Group และกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น อีกทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อคมนาคมที่สำคัญเพราะมีรถไฟฟ้าถึง 13 สายและใต้ดินอีก 7 สาย นอกจากนี้ในย่าน Marunouchi ยังมีสถานที่สำคัญตั้งอยู่ด้วยนั่นคือ Imperial Palace ทำให้การวางผังเมืองในบริเวณนี้จึงมีกฎระเบียบมากมายเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมเก่าแก่และธรรมาชาติรอบๆเอาไว้ ในช่วงแรกของการบรรยายจะเป็นการเล่าถึงการออกแบบจุดเชื่อมต่อรถทางเดินใต้ดินและอาคารต่างๆที่เน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน พร้อมทั้งยกตัวอย่างอาคารที่ได้ออกแบบไว้ในย่านนี้ด้วย ต่อมาทั้งคู่ได้บอกเล่าถึง “สุนทรียภาพในการออกแบบของญี่ปุ่น” ซึ่งมีหลักอยู่ 9 ข้อที่ใช้ในการออกแบบ ในช่วงนี้สำหรับคนทั่วไปอาจจะเข้าใจยากสักหน่อยค่ะ

DSCN6069_resize

1. Beauty of Transmission การเว้นความกำกวมไว้และไม่ได้รับรู้ถึง Space ทั้งหมด ทำให้ผู้ที่ใช้พื้นที่สามารถจินตนาการกต่อเองได้

DSCN6073_resize

2. Intermediate Region การจัดสรรพื้นที่ภายในให้เป็นส่วนเดียวกับภายนอกโดยเน้นทีการเชื่อมต่อกับธรรมชาติ

DSCN6076_resize

3. Light & Shadow เทคนิคการให้แสงและเงา เพื่อชวนค้นหา ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นแรงดึงดูดที่สำคัญในการดึงผู้คนให้สนใจและอยากเข้าไปค้นหาคำตอบในตัวงานว่ามีความสวยงามมากน้อยเพียงใด

DSCN6078_resize

4. Beauty of Asymmetry  การจัดวางองค์ประกอบต่างๆแบบไม่สมมาตร การออกแบบจะเน้นให้เกิดความสมดุลย์และใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดถึงแม้ว่าจะดูไม่สมมาตรกันก็ตาม

DSCN6081_resize

5. Sequence of Alternative Turns  เน้นความมีมิติและความลึกลับ เปรียบเสมือนการดูหนัง ที่เราไม่มีทางคาดเดาได้ว่าตอนจบของเรื่องจะเป็นอย่างไร เน้นเรื่องประสบการณ์ในการเข้าถึง Space ต่างๆ

DSCN6084_resize

6. Beauty of Deflected Line เป็นการใช้เส้นโค้งเพื่อให้ความรู้สึกถึงความน่าค้นหาและการรอคอยเพื่อค้นพบอะไรบ้างอย่าง

DSCN6085_resize

7. Beauty of Indented Space การสร้างความเหลื่อมล้ำของพื้นที่ เพื่อให้เกิดความซับซ้อนและสร้างความน่าสนใจให้เกิดขึ้นกับงานสถาปัตยกรรม

DSCN6086_resize

8. Horizontal of Eaves การนำความลึกของชายคาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่สภาพภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่นและช่วยให้ตัวอาคารดูมีความต่อเนื่องเป็นอนึ่งอันเดียวกัน

DSCN6088_resize

9. Borrowed Landscape การออกแบบให้ดึงหรือยืมเอาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่

1

หลังจากจบการบรรยาย “9 สุนทรียภาพในการออกแบบของญี่ปุ่น” ทั้งคู่ก็ได้เปิดเผยภาพไฮไลท์ของงานนี้ นั่นก็คือ ภาพโครงการ Rhythm Asoke II ค่ะ

2

คอนโดมิเนียมที่ออกแบบร่วมกับ AP (Thailand) โดยนำหลักการออกแบบข้างต้นมาปรับใช้กับตัวอาคาร ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัวอาคารที่เน้นความเรียบง่ายเป็นหลัก

4

ด้านหน้าของอาคารจะใช้หลัก Kohji&Shoji หมายถึงการใช้เส้นต่างๆ มาประยุกต์ในการออกแบบบ้าน คำว่า Kohji คือ การนำเอาระแนงไม้มาตกแต่งบริเวณด้านหน้าอาคาร ส่วน Shoji คือการนำเอาลักษณะโปร่งแสงจากประตูบานเลื่อนของญี่ปุ่นมาประยุกต์กับการออกแบบหน้าต่างของอาคาร ทำให้สามารถเล่นในเรื่องแสงและเงาได้

DSCN6142_resize

ภาพจำลองบริเวณด้านหน้าอาคาร จะใช้หลักในการดึงเอาธรรมชาติมาเป็นส่วนนึงของ Lobby สวนที่ตกแต่งก็จะเป็นสไตล์ญี่ปุ่นค่ะ

DSCN6137_resize - Copy

นอกจากนั้นยังมีการให้ความสำคัญกับ origami หรือวการพับโดยที่ได้แรงบันดาลใจจากการพับกระดาษมาพับผนัง สังเกตได้จากผนังภายใน

DSCN6146_resize

ภาพจำลองบริเวณ Lobby ในเวลากลางคืนจะใช้แนวคิด Light and Shadow มาเพิ่มความน่าสนใจและน่าค้นหาให้กับพื้นที่

DSCN6140_resize

ภาพจำลองบริเวณ Lobby ในเวลากลางวัน จะเห็นว่าการออกแบบจะเน้นไปที่ความเรียบง่ายตามสไตล์ญี่ปุ่นและใช้กระจกบานใหญ่ไร้ขอบเพื่อเข้าถึงธรรมชาติให้มากที่สุด ส่วนรายละเอียดภายในห้องพักอาศัยและผังตัวอาคารยังไม่มีการเปิดเเผยออกมาให้เห็นแต่สปานิกทั้ง 2 ท่านก็ได้บอกว่าจะมีการใช้แนวคิด Engawa (เฉลียงหรือระเบียงแบบญี่ปุ่น) มาใช้ในการออกแบบด้วยก็ต้องรอดูว่าจะมีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไรนค่ะ

DSCN6157_resize

ในช่วงตอบคำถามจะผู้ฟัง มีคำถามอยู่คำถามนึงที่น่าสนใจดีค่ะ เค้าถามว่า ได้มาดูงานออกแบบคอนโดที่เมืองไทยแล้วคิดว่าสื่งที่แตกต่างกับที่ญี่ปุ่นคืออะไร? คุณ Tetsuya Okusa ได้ตอบว่า “Pantry ครัว” คือส่วนที่แตกต่างกันมาก เพราะที่ญี่ปุ่นสมาชิกภายในบ้านจะให้ความสำคัญกับคนที่เป็นแม่มากที่สุด ดังนั้นเค้าจะไม่ทำ Pantry ครัวติดกำแพงและไม่เห็นวิว แต่จะหันหน้าออกข้างนอกเพื่อให้ได้วิวที่สวยที่สุดขณะที่ทำอาหารให้สมาชิกภายในบ้าน นอกจากนั้นยังวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเห็นและพูดคุยกับสมาชิกภายในบ้านได้ด้วย ทำให้สมาชิกภายในบ้านเกิดความสัมพันธ์กันที่ดียิ่งขึ้นค่ะ ก็ต้องรอดูแล้วหละค่ะว่า AP จะเอา Pantry ครัวได้ติดระเบียงหรือติดทางเดินหน้าห้องพัก

DSCN6200_resize

หลังจบการนำเสนอแล้วทาง AP ได้จัดกิจกรรมให้ผู้ร่วมฟังสัมมนาถ่ายรูปงานลง instagram เพื่อชิงรางวัลหนังสือดีไซน์ของญุี่ปุ่น และในรูปคือผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลค่ะ

 

สำหรับผู้สนใจทาง AP ฝากข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมว่า สามารถไปพบกันได้ในงาน Rethink Space ณ ชั้น 1 สยามพารากอน วันที่ 15-18 พฤษภาคมนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.apthai.com