สวัสดีคุณผู้อ่านทุกคนและโดยเฉพาะคุณผู้อ่านที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเองแล้วไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดก็ตาม วันนี้เราตั้งใจจะมาพูดคุยกันในเรื่องที่เป็นปัญหาคาใจของหลายๆ คน เมื่อเวลาเกิดภัยรอบตัวไม่ว่าจะเป็น ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรกรรมต่างๆ ที่ทำให้เกิด “บ้านพัง” ซึ่งความเสียหายนี้ นำมาซึ่ง “ค่าใช้จ่าย” ก้อนใหญ่ที่บางทีเราก็ไม่ได้เผื่อไว้มากพอสำหรับส่วนนี้เพราะไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับเรา ดังนั้นถ้าเราไม่อยากจะเสียเงินซ่อมหลักแสนหลักล้าน สิ่งที่เราแนะนำคงหนีไม่พ้น

“ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย” ที่หลายคนอ่านแล้วอาจจะมองข้าม เพราะคิดว่าตัวเองมีประกันอัคคีภัย ที่ทางธนาคารให้ทำอยู่แล้วกรณีกู้ซื้อบ้าน หรือบางคนมั่นใจกว่านั้นเพราะมีทำ MRTA (ประกันสินเชื่อบ้านกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ) ไว้เพิ่มเติมด้วย

แต่เราอยากแนะนำเพิ่มเติมนะคะ เพราะต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้ความเสี่ยงรอบตัวมีเยอะเหลือเกิน ไม่ใช่แค่ไฟไหม้ การระเบิดของแก๊สหุงต้ม อย่างเดียวแล้ว แม้กระทั่งบางทีจู่ ๆ ท่อน้ำที่คอนโดรั่ว ทำฝ้าและผนังซึมน้ำ พื้นลามิเนตร่อน ก็มีกันมาหลายเคสแล้วนะคะ หรือบางทีไปเที่ยวต่างประเทศ เจอคนงัดบ้านขึ้นมา ในส่วนนี้ประกันที่ทุกคนทำกันอยู่แล้วอาจไม่ได้ครอบคลุมนะ หลายคนไม่ได้เตรียมใจกับเงินก้อนนี้ก็อาจจะหงุดหงิดได้เช่นกัน

ซึ่งประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากขึ้น กว่าประกันอัคคีภัยปกติหรือบางคนซื้อประกันอัคคีภัยแล้วก็สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มวงเงินการประกันให้สูงขึ้นได้เพื่อให้รองรับกับสิ่งที่เราตกแต่ง หรือเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้านที่เราซื้อเข้ามาภายหลังได้เช่นกันนะคะ


ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยคุ้มครองทรัพย์สินอะไรบ้าง

ทรัพย์สินที่ประกันอัคคีภัยคุ้มครองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบที่อยู่อาศัย

*ทรัพย์สินภายในอาคาร หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า และ อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม และทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัย

ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย เหมาะกับใคร

“เจ้าบ้านสำหรับ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ห้องแถว”

สำหรับเจ้าบ้านบ้านแนวราบทั้งหมดนั้นจะเหมาะกับการซื้อประกันภัยสำหรับที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมทั้งหมดนะคะ คือ บ้าน (ไม่รวมฐานราก) + ทรัพย์สินในอาคาร โดยเราสามารถเลือกความคุ้มครองภัยต่าง ๆ ได้
เช่น

  • กรณีมีประกันอัคคีภัยอยู่แล้ว: สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น ความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภัยจากน้ำท่วม หรือ โจรกรรม เราสามารถติดต่อบริษัทผู้รับประกันเพื่อเลือกความคุ้มครองเพิ่มเติมเองได้นะคะ ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะเป็นไปตามความคุ้มครองที่เราเลือกค่ะ ซึ่งการระบุทุนเอาประกันภัยนั้นเราควรซื้อที่ครอบคลุมมูลค่าของบ้านและทรัพย์สินภายในบ้านรวมกันให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดเพื่อว่าเวลาเกิดความเสียหายจริง เราจะได้ไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนต่างมากนัก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความต้องการที่จะซื้อทุนประกันภัยของแต่ละคนนะคะ
  • กรณีไม่มีประกันอัคคีภัย: ปัจจุบันบริษัทประกันภัยได้นำเสนอแพกเกจต่างๆ ให้เราสามารถเลือกซื้อได้ เราควรจะเลือกซื้อกับบริษัทที่เสนอแพกเกจความคุ้มครองได้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด ที่ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยสามารถคุ้มครองได้ ไม่ว่าจะเป็น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดลัดวงจรจากฟ้าผ่า) ภัยระเบิด ภัยลมพายุ ภัยยานพาหนะ ภัยอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม) ภัยน้ำท่วม ภัยลูกเห็บ ภัยแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด ได้ค่ะ

“ผู้อยู่อาศัยในอาคารชุด (คอนโดมิเนียม หอพัก แฟลต)”

โดยปกติทางโครงการของอาคารชุด หรือหอพัก ได้จัดทำประกันภัยไว้อยู่แล้วเพียงแต่อยู่ในรูปของตัวอาคารเท่านั้น เราสามารถสอบถามกับทางโครงการว่าครอบคลุมในส่วนใดบ้าง และหากต้องการความคุ้มครองในทรัพย์สินภายในห้องของเราก็สามารถทำประกันภัยเพิ่มเติมสำหรับทรัพย์สินเพื่อการอยู่อาศัยที่เราซื้อไว้ในห้องได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน รูปภาพแขวนผนัง เป็นต้น เพื่อให้ทรัพย์สินของเรานั้นได้รับความคุ้มครองค่ะ

“ผู้กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร”

ผู้ที่ยังมีภาระผูกพันในการผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร: การกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นธนาคารจะให้ผู้กู้ทำประกันภัยบ้านไว้ด้วย เพื่อเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน ให้ธนาคารมั่นใจว่าหากเกิดเหตุร้ายแรง เช่น ไฟไหม้ ทำให้บ้านซึ่งเป็นหลักประกันเงินกู้เสียหายหมด ธนาคารก็ยังสามารถเรียกร้องภาระหนี้สินคืนจากบริษัทประกันภัยได้ ซึ่งหลายๆ คนเลือกที่จะทำทุนประกันภัยต่ำเพราะคิดว่าจะได้ไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกันภัยสูงมาก

**แต่สิ่งที่เราอยากให้พิจารณาเพิ่มเติม คือ มูลค่าบ้าน+ทรัพย์สิน ของเราว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ หากเราซื้อทุนประกันต่ำ เช่น 60% ของมูลค่าบ้าน+ทรัพย์สิน เท่ากับว่าหากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเสียหาย เราจำเป็นต้องออกส่วนต่างเพิ่ม 40% ของมูลค่าความเสียหายนั้น เราสามารถจ่ายส่วนต่างนี้ได้ไหม ถ้าสามารถจ่ายได้สบายๆ อันนี้ไม่มีปัญหานะคะ แต่ถ้าคิดว่าเป็นเงินก้อนที่ใหญ่เกินไปก็ควรจะเพิ่มทุนประกันภัยให้สามารถครอบคลุมได้ เมื่อเกิดความเสียหายเราจะได้ไม่ต้องเป็นผู้ออกส่วนต่างของค่าเสียหายมากนัก หรือถ้าซื้อ 100%  หากเกิดไฟไหม้บ้านเสียหายทั้งหลัง ก็ไม่จำเป็นต้องออกค่าส่วนต่างเลย

หรือหากคุณผู้อ่านเป็นคนที่ใกล้หมดภาระผ่อนชำระหรือผ่อนชำระหมดแล้วก็ควรกลับมาดูวงเงินประกันภัยว่าเหมาะสมกับมูลค่าทรัพย์สิน ณ เวลาปัจจุบันหรือไม่ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ส่วนใหญ่แล้วเราจะมีเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ตกแต่งภายในบ้านมากขึ้น ดังนั้นเราควรมาเช็กว่าทุนประกันภัยนั้นครอบคลุมเท่าที่เราต้องการไหม ถ้าไม่ อาจจะเพิ่มทุนประกันภัยเพื่อให้ครอบคลุมไปถึงมูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นได้ค่ะ

และอีกกรณีหนึ่งสำหรับคนที่ซื้อทุนประกันภัยที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย (Over-Sum Insured) เช่น บ้านและทรัพย์สินภายใน รวมมูลค่า 1 ล้านบาท แต่ทำทุนประกันภัยไว้ที่ 2 ล้านบาท ก็ไม่ได้หมายความว่าคุ้มค่ากว่านะคะ เพราะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยแพงกว่า และสุดท้ายแล้วทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายให้ 100% ของมูลค่าความเสียหาย (ไม่เกินมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายใน) อยู่ดี ดังนั้นเลือกทุนประกันภัยตามความเป็นจริงจะเหมาะสมกว่าค่ะ

นอกจากความคุ้มครองที่เกริ่นมาแล้วในตอนต้นของบทความ บางบริษัทประกันภัยก็ยังให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมอื่น ๆ อีกเช่น ความคุ้มครองเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรและทำให้เกิดไฟลุกไหม้ขึ้น ความคุ้มครองความเสียหายต่อต้นไม้ที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เราจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ระหว่างประกันอัคคีภัยปกติ ที่เรามักจะทำกันอยู่แล้ว กับประกันอัคคีภัยรักษ์บ้านสำหรับที่อยู่อาศัยของกรุงเทพประกันภัยที่มีการคุ้มครองที่ครอบคลุมต่างกันอย่างไรบ้าง

ประกันอัคคีภัยรักษ์บ้านสำหรับที่อยู่อาศัย ของ กรุงเทพประกันภัย มีความแตกต่างกับประกันอัคคีภัยทั่วไปอย่างไร และคุ้มครองอะไรบ้าง

สรุป

สิ่งที่เรามองว่าน่าสนใจสำหรับ ประกันอัคคีภัยรักษ์บ้านสำหรับที่อยู่อาศัย ของ กรุงเทพประกันภัย คือจำนวนเงินความคุ้มครองภัยที่เพิ่มขึ้นจากกรมธรรม์อัคคีภัยปกติ เพราะเดี๋ยวนี้ความไม่แน่นอนมีมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น การประท้วงต่างๆ การโจรกรรม สำหรับความคุ้มครองเรื่องโจรกรรมก็น่าสนใจเช่นกันนะคะ หากเกิดการงัดแงะเข้ามาแล้วเกิดความเสียหายขึ้นกับบ้านของเรา ซึ่งในประกันอัคคีภัยทั่วไปจะไม่ได้ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวบ้านในส่วนนี้ หรือภัยอื่น ๆ ที่เราไม่คาดคิด ซึ่งถ้าคุณผู้อ่านเป็นคนกังวลเรื่องความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่อาจจะไม่สามารถควบคุมได้ เราว่าการทำประกันภัยส่วนนี้สามารถโอนความเสี่ยงจากตัวเราไปยังผู้รับประกันแทน อย่างน้อยก็สบายใจได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เราก็ไม่ต้องห่วงเรื่องงบประมาณการซ่อมแซมที่สูงเกินรับไหว

ถ้าใครสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรุงเทพประกันภัยตามลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ