น้ำลด คู่มือน้ำลด

ทาง Think of Living ได้ค้นพบบทความที่เสมือนเป็นเพชรสำหรับยุคน้ำท่วมอย่างปี 2554 นี้ นั่นก็คือหนังสือของอาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ เรื่อง “บ้านหลังน้ำท่วม” เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2538 และมีการช่วยกันจัดพิมพ์กันไปหลายแสนเล่ม เพราะว่าเป็นหนังสือที่ประกาศชัดเจนว่า “ไม่มีลิขสิทธิ์” ใครอยากเอาไปทำอะไรก็ตามสบาย ยกเว้นแต่ “ห้ามนำไปจำหน่าย” เท่านั้น

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาทั้งหลายยังเป็นปัญหาเดิมๆ อยู่ เมื่อมาถึงวันนี้ อาจารย์จากจุฬาฯจึงขอยกบางหัวข้อที่เห็นว่าเหมาะกับเหตุการณ์น้ำท่วม 2554 มาจัดเรียงใหม่ เพื่อความกระชับและสามารถส่งกันทางอีเมล์ หรือลงใน website ต่างๆ ได้สะดวกขึ้น

อาจารย์พยายามเร่งเขียนเอกสารนี้ เพราะว่าอยากให้เสร็จก่อนน้ำจะลด (แม้บางแห่งน้ำยังไม่ท่วม) เพื่อการเตรียมการที่ดี และไม่ให้ชาวบ้านกลุ้มใจมากนักเพราะพอจะเห็นทางที่จะแก้ไข และอาจารย์กล่าวว่าเอกสารนี้ยังคง “ไม่มีลิขสิทธิ์” เหมือนเดิม ท่านใดจะเอาไปสื่อสารกันอย่างไรก็ตามสบาย ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องแจ้งให้ทราบ ไม่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา หรือชื่อผู้เขียนใดๆ ก็ได้ เพราะเพียงเริ่มเผยแพร่ “บุญ” ก็เกิดแล้ว

บัญญัติ 21 ประการ “บ้านหลังน้ำท่วม” เขียนโดย อ. ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

สังคมไทยจะต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ได้ เพราะธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน การใช้เทคโนโลยีไปฝืนพลังแห่งธรรมชาติมากเกินไป การทำร้ายธรรมชาติจะเกิดผลเช่นนี้เรื่อยไป

ความทุกข์ยากลำบากฉากแรกเพิ่งกำลังจะผ่านไปหลังน้ำลด แต่ความทุกข์ใหม่ กำลังเข้ามาแทนที่ เพราะสภาพ ของบ้าน อันถือว่าเป็นหนึ่ง ในปัจจัย 4 ของเรา มีสภาพที่น่าอึดอัด น่าอันตรายและเป็นรอยแผลที่หลายคน อยากจะเมินหน้าหนี

หากคิดจะแก้ปัญหาบ้านหลังน้ำท่วม เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าปัจจุบัน (แม้ไม่ สามารถ จะเปรียบเทียบ เท่ากับอดีต) แนะนำในฐานะลูกหลาน พี่น้องว่า น่าจะ เริ่มต้นดังนี้

  1. อย่าซีเรียสว่า ทำไมน้ำถึงท่วม ราชการหรือรัฐบาลไปอยู่ที่ไหน เพื่อน ๆ ในถิ่นอื่น ทำไมบ้านเขา น้ำไม่ท่วม ฯลฯ เพราะนั่นไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา “บ้านหลังน้ำท่วม”  ที่เรากำลังจะคุยกัยในโฮมเพจนี้
  2. ทำการตรวจสอบด้วยจิตอันบริสุทธิ์ว่า บ้านเราเกิดปัญหาใดเพิ่มขึ้นบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับ ก่อนน้ำท่วม เช่นรั้วเอียง ปาเก้ล่อน แมลงสาปหายไปไหน ค่าไฟเพิ่ม ฯลฯ และ ทำบันทึกไว้เป็นข้อ ๆ ให้อ่านง่ายจดจำง่าย  (ภาษาฝรั่ง เขาเรียกว่าทำ Check List)
  3. ถามตนเองว่าสภาพการเงินเราเป็นอย่างไร มีเงินจะใช้สำหรับการซ่อมแซมเท่าไร  (รวมถึง การกู้ยืม แหล่งอื่น แต่ไม่รวม การโกง บ้านกินเมือง) จะได้วางแนวทาง การจ่ายเงินอย่างมีขีดจำกัด และมีความเป็นไปได้
  4. เปิดบันทึกนี้อ่านให้จบ อย่าโกรธหากบางตอนของโฮมเพจนี้เขียนแบบสบายๆ เกินไปบ้างในบางประโยคครับ

ทาง Think of Living จะทยอยลงให้ครบทุกตอนให้อ่านกันได้ทุกวันครับ