ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย สิ่งที่ยังคงเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์หรือที่เราเรียกกันว่าปัจจัย 4 (อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค) ก็ไม่เคยมีความต้องการลดลงไปเลยนะครับ ซึ่งวันนี้เราก็กำลังจะมาพูดถึงหนึ่งในปัจจัย 4 นั่นก็คือ “ที่อยู่อาศัย” นั่นเอง

ซึ่งปัจจุบันปี 2021 เทคโนโลยีในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยก็มีหลากหลายวิธีนะครับ หนึ่งในนั้นก็คือ Modular Building System ซึ่งอาจจะยังไม่หลากหลายในประเทศเรานัก แต่ในต่างประเทศก็เป็นระบบก่อสร้างที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นวันนี้ผมจะมาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเจ้าระบบ Modular Building System นี้กัน รับรองว่ามีจุดเด่นที่น่าสนใจ และอาจจะตอบโจทย์ของใครหลายๆคนได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ ตามมาผมเลย

Modular Building System คืออะไร ?

การก่อสร้างระบบ Modular Building System หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “ระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป” เป็นระบบที่ถูกพัฒนามาจากการก่อสร้างสำเร็จรูปแบบ Precast Concrete System (ระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป) และ Knock Down System (บ้านน็อคดาวน์) ที่นำเอาข้อดีและจุดเด่นของทั้งสองระบบนี้มาพัฒนาต่อ การก่อสร้างระบบ Modular หมายถึงการใช้แนวคิดระบบบวิศวกรรมในการถอดแบบอาคารเป็น “ Modular ” ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละ “Module ” จะประกอบไปด้วยโครงสร้าง งานผนัง งานพื้น งานหลังคา รวมถึงงานระบบ จาก Finishing งาน Build-in ครบทุกส่วนจนถึงการติดตั้งสุขภัณฑ์ ก่อนจะนำแต่ละ Module ซึ่งผลิตและผ่านการตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพทุกส่วนจากโรงงาน ไปติดตั้งต่อกันที่ไซต์งาน พูดในเห็นภาพง่าย ๆก็จะมีแนวคิดคล้าย ๆ LEGO ครับ ซึ่งวิธีนี้จะสามารถควบคุมคุณภาพงาน เพราะมีการตรวจสอบภายในโรงงานอย่างเข็มงวด และ ความเร็วของการผลิตที่มากกว่าระบบอื่นๆ 

ระบบนี้จริงๆแล้วถูกใช้ในประเทศแถบยุโรปตะวันตกกันมาตั้งแต่ช่วงยุค 1950 แล้ว ซึ่งปัจจุบันระบบนี้ก็กลายเป็นกระบวนการก่อสร้างหลักของประเทศเหล่านี้เลย แต่ยิ่งไปกว่านั้นคือในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ที่พักอาศัยเท่านั้นที่ใช้การก่อสร้างระบบนี้ แต่ยังมีทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่คิดลงทุนทำธุรกิจต่างๆด้วย เช่น โรงแรม อพาร์ทเม้นท์, รีสอร์ท,  ร้านค้า, สำนักงาน, ร้านกาแฟ เรียกว่าใช้สร้างตึกสร้างอาคารได้เหมือนระบบทั่วไปเลยครับ

รายละเอียดในการก่อสร้างและติดตั้ง

เริ่มต้นด้วยการออกแบบช่วง Design กับลูกค้า ทางทีมงานก็เตรียมงานด้วยการสำรวจพื้นที่หน้างานและเส้นทางการสัญจร (เพราะต้องขนย้ายส่วนประกอบต่างๆที่ประกอบจากโรงงาน) จากนั้นก็สรุปผลและเริ่มการผลิต ซึ่งโดยพื้นฐานหลักๆของระบบนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุม ดูแลการผลิต ประกอบทั้งหมดและตรวจสอบคุณภาพให้เสร็จภายในโรงงาน หลังจากนั้นค่อยนำไปติดตั้งหน้างานพร้อมเก็บงานก่อสร้างอีกเล็กน้อย โดยจะใช้เหล็กเป็นโครงสร้างหลัก สามารถออกแบบพื้นและผนังเป็นแบบ Precast Concrete หรือ Cement Board วัสดุตกแต่งจะเป็นมาตรฐานเดียวกับงานก่อสร้างอาคารทั่วไป สามารถใช้ทุกอย่างได้เหมือนกันหมดเลย แต่ข้อดีคือจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างน้อยกว่ามากครับ จากนั้นก็เข้าอยู่ใช้งานได้เลย โดยจะมีรายละเอียดในแต่ละส่วนดังนี้

  • โครงสร้างของตัวบ้าน

ทำด้วยเหล็กเกรดสูงและกันสนิมชนิดสูงสุดด้วยระบบ Shot Blasting ทั้งโครงสร้างผนังอาคารเป็นผนังสองชั้น กรุด้วยฉนวนกันความร้อนและกันเสียง ทำให้กันความร้อนและเสียงได้ดีกว่าผนังปกติ สามารถเจาะต่อเติมได้ (เป็นจุดที่มีการคำนวนไว้ให้สำหรับเจาะ) ซึ่งวัสดุภายในและภายนอกสามารถปรับเปลี่ยน Finishing ได้ตาม Budget และความต้องการของลูกค้า ส่วนการดูแลรักษาก็ทำได้ง่ายกว่าแบบบ้านปกติด้วย

  • ตรวจสอบคุณภาพ
    ก่อนนำไปติดตั้งจะมีการทดสอบทุกส่วนและทุกขั้นตอนภายในโรงงาน โดยการควบคุมคุณภาพของงานระบบ Modular Building System มีการตรวจสอบและทดสอบการรั่วของน้ำทั้งพื้นห้องน้ำ หลังคาและท่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของการก่อสร้างทั่วไป, ทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ, ด้านไฟฟ้า แอร์ และเครื่องใช้อื่น ๆ, และทดสอบการประกอบติดตั้งและมีการตรวจเช็คงานก่อนจนแน่ใจว่าไม่มีปัญหาเมื่อนำไปติดตั้งที่หน้างาน

  • ขนส่งเพื่อนำไปติดตั้งหน้างาน
    หลังจากตรวจสอบคุณภาพภายในโรงงานแล้ว ก็เป็นขั้นตอนของการเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปติดตั้งที่หน้างาน ซึ่งจะมีการวางแผนการสัญจร การติดตั้ง ไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยเส้นทางสัญจรจะต้องตรวจสอบครอบคลุมส่วนต่างๆ เช่น ความกว้างถนน สภาพถนน ความสูงของเสาไฟฟ้า โดยจะมีวิศวกรคอยควบคุมดูแลตลอดทุกขั้นตอน
  • บริการหลังการขาย
    จะมีบริการหลังการขายโดยช่างผู้ชำนาญการ สอนการจัดการและซ่อมแซมเบื้องต้น อายุการใช้งาน 30 – 50 ปี ขึ้นไป รับประกันโครงสร้างหลัก 5 ปี รับประกันทั่วไป 1 ปี

ค่าใช้จ่าย

เริ่มต้นราคาที่ 15,000 – 30,000 บาท / ตร.ม.ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับแบบและความต้องการของผู้ใช้งาน และ อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม นอกเหนือจากราคากลางอีก ประมาณ 10 – 20% สำหรับความต้องการอื่นๆ เช่น ระบบฐานราก, เพิ่มระเบียง, เพิ่มกันสาด, เพิ่มบ่อบำบัด, เพิ่มห้องน้ำ, ยกระดับความสูงของตัวบ้าน, เพิ่มบันไดหรืออื่นๆ เช่นปรับเปลี่ยน Finishing นอกเหนือจากราคาประเมิน กรณีต่างจังหวัด ค่าดำเนินการต่างจังหวัดเพิ่มเติม 10 – 20% โดยประมาณ

เทียบกับบ้านปกติและบ้าน Knock Down

ระบบก่อสร้างสำเร็จรูปเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่ออาคารที่พักอาศัยเป็นหลักในระยะเริ่มต้น ระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปนี้ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียกับระบบก่อสร้างแบบเดิมเพื่อตัดสินใจในการเลือกแนวทางอยู่เสมอ และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นของระบบสำเร็จรูปทำให้นักลงทุนหรือเจ้าของอาคารเลือกที่จะใช้กระบวนการก่อสร้างแบบเดิมๆ ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า

แต่ถ้าเรารู้และเข้าใจที่มาที่ไปและข้อดีต่างๆของบ้านแบบ Modular Building System แล้ว ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าจะต้องมีผู้อ่านที่สนใจเพิ่มยิ่งขึ้นไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว แล้วจะได้ทราบกันว่าถ้ายอมจ่ายแพงขึ้นกว่าเดิม แล้วจะได้ข้อดีอะไรมาเพิ่ม ลองไปชมกันครับ

  • ใช้เวลาในการประกอบติดตั้งหน้างานน้อยมาก
    จัดเป็นจุดเด่นสำคัญของบ้านระบบนี้ เพราะจะส่งผลให้เกิดข้อดีอื่นๆอีกหลายข้อดี เริ่มด้วยระบบการก่อสร้างระบบ Modular Building System ที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี มีการวางแผนและทำความเข้าใจกับพื้นที่ติดตั้งล่วงหน้า ทำให้ใช้แรงงานติดตั้งที่สถานที่ก่อสร้างน้อย ส่วนงานระบบก็ถูกวางแผนล่วงหน้ามาไว้อย่างดี ทำให้การเดินงานจะเรียบร้อยเป็นระบบระเบียบ ง่ายต่อการทำงานของช่าง
  • ควบคุมคุณภาพได้ดี
    ข้อนี้ก็เป็นจุดเด่นที่คนที่อยู่บ้านแบบปกติตามหาอยู่แน่นอน เพราะการผลิต Module ในโรงงานมีการควบคุมการผลิตได้ดีกว่า อีกทั้งยังมีการตรวจสอบและทดสอบการรั่วของน้ำทั้งพื้นห้องน้ำ หลังคาและท่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของการก่อสร้างทั่วไป, ทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ, ทดสอบด้านไฟฟ้า แอร์ และเครื่องใช้อื่น ๆ, และทดสอบการประกอบติดตั้งและมีการตรวจเช็คงานก่อนจนแน่ใจว่าไม่มีปัญหาก่อนที่จะส่งไปติดตั้งที่สถานที่ก่อสร้างจริง
  • M&E (งานระบบ)
    ระบบบ้าน Modular Building System จะมีการเดินงานระบบเรียบร้อย สวยงาม เป็นระบบ เพราะมีการออกแบบไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และเนื่องจากผลิตและมีการตรวจสอบภายในโรงงานก่อนแล้ว จึงมีความผิดพลาดและอุปสรรคในการติดตั้งงานระบบน้อยกว่ามาก
  • ความปลอดภัยในพื้นที่ทำงาน
    การก่อสร้างระบบ Modular Building System จะช่วยลดเวลาในการก่อสร้าง ทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างส่วนใหญ่จะอยู่ในโรงงาน จึงมีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    ลดมลภาวะทางเสียง, ลดฝุ่นละออง PM2.5, ลดขยะและเศษวัสดุในการก่อสร้าง ส่งผลให้สถานที่ก่อสร้างสะอาดกว่าวิธีการก่อสร้างแบบเดิมๆ มีการบริหารจัดการการก่อสร้างที่มีคุณภาพที่ดีกว่า เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตจะถูกส่งมาที่โรงงานและจัดเก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อป้องกันความเสียหายหรือเสื่อมสภาพจากความชื้นและองค์ประกอบต่างๆ
  • ควบคุมค่าใช้จ่าย
    ผมไม่ได้บอกว่าการก่อสร้างระบบนี้ถูกกว่าระบบปกตินะครับ แต่การก่อสร้างระบบ Modular Building System จะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณไม่บานปลาย ส่งผลให้เจ้าของโครงการเปิดดำเนินกิจการได้รวดเร็วกว่าการก่อสร้างปกติ

เปรียบเทียบบ้าน Modular Building System กับ Knock Down
ระบบ Modular แตกต่างจากระบบ Knock down แม้ว่าบางที่จะมีการเอามารวมกัน แต่จริง ๆ แล้ว บ้าน Knock down คือระบบบ้านที่ถูกแยกเป็นชิ้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผนัง หรือพื้น ทำให้ต้องใช้เวลาในการประกอบนานกว่า และใช้เวลาหน้างานนานกว่า ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้ ทุกขั้นตอนจากโรงงานเหมือนระบบ Modular จึงทำให้ระบบModular สามารถก่อสร้างได้รวดเร็วกว่า และควบคุมคุณภาพได้มากกว่า

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิกที่นี่

ข้อจำกัดเมื่อเทียบบ้าน Modular Building System กับแบบบ้านปกติ และแบบบ้าน Knock Down

  • มีราคาค่าก่อสร้างโดยรวมสูงกว่าแบบบ้านปกติ เมื่อเทียบในขนาดเท่ากัน
  • ไม่ค่อยหลากหลายในเรื่องของการต่อเติม และโครงสร้างพิเศษ แต่ก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องคำนวนการรับน้ำหนักและโครงสร้างมากกว่าแบบบ้านโครงสร้าง คสล. ปกติทั่วไป เช่น การอยากได้พื้นที่ Double Volume ก็จะต้องไปเสริมโครงสร้างในส่วนอื่นให้ช่วยรับน้ำหนักแทน (แต่สามารถทำได้อยู่ดีนะ) และถ้าเทียบกับบ้านโครงสร้าง Pre-Cast และบ้าน Knock Down แล้ว ก็ยังจัดว่าสามารถต่อเติมได้มากกว่านะครับ

ตัวอย่างโครงการที่สร้างโดยระบบ Modular Building System

Image 1/10
ภาพทัศนียภาพภายนอกอาคาร

ภาพทัศนียภาพภายนอกอาคาร

Hitachi Lumada Center (
จังหวัดชลบุรี, ประเทศไทย)

Gorgon Project 
(ประเทศ Australia)
กอร์กอนเป็นโครงการสำรวจก๊าซธรรมชาติทางทะเลในบริเวณภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและออสเตรเลีย

Onslow Apartment 
(เมือง Onslow, ประเทศ Australia)

Image 1/5
ภาพทัศนียภาพจำลองภายนอกอาคาร

ภาพทัศนียภาพจำลองภายนอกอาคาร

Jomphon House (จังหวัดราชบุรี, ประเทษไทย)

Image 1/10
ทัศนียภาพภายนอกตัวบ้าน

ทัศนียภาพภายนอกตัวบ้าน

Prime house (ประเทศไทย, บางนา)

ช่องทางการติดต่อ

สุดท้ายนี้ถ้าใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจโครงสร้าง Modular Building System แล้วละก็.. ผมอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ในประเทศไทยครับ กับ ลัคกี้ บิลดิ้ง ซิสเท็ม (LBS) ที่เป็นหน่วยธุรกิจของบริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งและพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ทำการวิจัยและปรับเปลี่ยนรูปแบบและวัสดุให้เข้ากับคนไทยมากว่า 20 ปี (ตั้งแต่ 2541 ) ภายใต้แบรด์ Siamsteel

“LBS” มีความเชี่ยวชาญในระบบอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบอาคารสำเร็จรูประบบโมดูลาร์ (Modular Building System) ซึ่ง ผลิตภัณฑ์อาคารสำเร็จรูปLBS เป็นที่รู้จักในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานสูงในระดับสากล จากการส่งออกสินค้าไปยังหลายประเทศทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ดูไบ อินโดนีเซีย อินเดีย เช่นเดียวกันกับในประเทศไทย ก็มีบริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การวิจัยพัฒนา วางแผน ออกแบบ ตลอดจนถึงการผลิตและติดตั้ง

ติดต่อหน่วยธุรกิจ ลัคกี้บิลดิ้งซิสเท็ม
51/8 หมู่ 18 ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง
จ.สมุทรปราการ 10130
โทร : 02-384-3000 ต่อ 2108
แฟกซ์ : 02-1064523
อีเมล : [email protected]