Amust Development ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 จากการรวมตัวของผู้บริหาร 4 คน ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการอสังหาฯ เกือบ 10 ปี นำทีมโดย คุณเสาวภาคย์ ถนอมศักดิ์กุล ประธานกรรมการบริหาร คุณพรชัย เตชะไกรศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ คุณอุดม วิบูลย์อุทัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด และคุณชาญชัย สือวงศ์ประยูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
เริ่มต้นด้วยการพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยว Zenmura ศรีนครินทร์-บางนา มูลค่า 500 ล้านบาท จากนั้นค่อยเจาะเข้าโครงการต่างจังหวัด เกิดเป็น Lake Nara ขอนแก่น ที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท แนวคิดหลักของบริษัท เน้นโครงการแนวราบ พร้อมเสริมรายได้จากการเช่า ทำให้ Amust แตกต่างจากดีเวลลอปเปอร์รายอื่นๆ
ความน่าสนใจของ Amust อยู่ที่การวางกลยุทธ์การตลาด ศึกษาทิศทางตลาดอยู่ตลอดเวลา และพยายามสร้างแคมเปญใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทำให้บริษัทเป็น “น้องใหม่” ในวงการที่น่าจับตา
ล่าสุด Amust เริ่มให้ความสนใจ Gen Y ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะกลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในอนาคต แน่นอนว่าคน Gen Y มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายๆ อย่าง ซึ่งการผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ทั้งนี้ในส่วนของที่อยู่อาศัย คนรุ่นนี้จะเลือกซื้อบ้านที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสำหรับคนหลายช่วงอายุ มีฟังก์ชั่นทั้งภายในภายนอกสอดคล้องกับการใช้งาน
วันนี้ทีม Think of Living ก็มีโอกาสได้เข้าสัมภาษณ์ คุณต้อง-เสาวภาคย์ ถนอมศักดิ์กุล หญิงแกร่งแห่ง Amust ผู้เริ่มต้นโครงการพัฒนาอสังหาฯ เพื่อ Gen Y ส่วนรายละเอียดลึกๆ จะเป็นอย่างไร สามารถอ่านได้ในบทสัมภาษณ์เลยค่ะ…
– สวัสดีครับ คุณต้อง อยากให้ช่วยเล่าถึงภาพรวมของ AMUST ใน 1 ปีที่ผ่านมา
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เราแบ่งภาพการทำงานเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกคือการพัฒนาโครงการ Lake Nakara ขอนแก่น และส่วนที่ 2 คือการศึกษาแนวโน้มทางตลาด ซึ่งทำให้เราได้พบว่า ตลาดใหม่ๆ กำลังเกิดขึ้นในโซนเอเชีย มีแนวโน้มจะเป็นไปได้ว่าฝั่งตะวันออกจะกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญของโลก รวมกับโครงสร้างประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับพลังขับเคลื่อนของ Generation Y
เราให้ความสำคัญกับ Generation Y ค่อนข้างมาก เราเชื่อว่าในอนาคตสังคมจะถูกขับเคลื่อนจากคนกลุ่มนี้เป็นหลัก ซึ่งถูกเลี้ยงดูอย่างตามใจจากพ่อ-แม่ ทำให้ค่อนข้างรักสบาย และต้องการอิสระ บางคนไม่ยอมแต่งงานด้วยซ้ำ ทำให้คนกลุ่มนี้มีความสามารถในการใช้เงินมากขึ้น
จากการศึกษากระแสโลก เราเลยมาขมวดเป็น “Urbanista Characteristic” 5 สไตล์ของคนเมืองในปัจจุบัน
อย่างแรกคือ Mobility คือ คนที่รักอิสระ ชีวิตมีความคล่องตัว อย่างที่สองคือ Bikcycle Culture ความนิยมนี้มาจากต่างประเทศ ในยุโรป ค่อนข้างให้ความสำคัญมาก มีการณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อน ทำให้คนหันมาให้ความสำคัญกับการใช้จักรยานมาก ในเมืองไทยก็มีถนนบางเส้นที่เริ่มมีเลนส์จักรยาน สามก็คือ Cafe Culture ทุกวันนี้สถานที่แรกไม่ใช่โรงบาลแต่เป็นที่บ้าน สถานที่สองคนทำงานก็คือที่ทำงาน สถานที่ๆสองสำหรับนักเรียนก็คือโรงเรียน แต่ตอนนี้มันมีสถานที่ๆ 3 ก็คือร้านกาแฟ ร้านกาแฟมันไม่ใช่แค่ร้านกาแฟแล้ว เพระาตอนนี้มันได้ถูกใช้เป็นที่ประชุม หรือพูดคุยเป็นแหล่งชุมนุมของคนเมือง Cafe Culture ก็จะเป็นที่นิยมมากขึ้น และสี่คือ Health Conscious การใส่ใจสุขภาพ การใส่ใจสุขภาพไม่ได้มองแค่ร่างกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงสุขภาพทางจิตใจด้วย หรือแม่กระทั่งการออกกำลังกาย การเล่นโยคะที่ได้รับความนิยมมากมาย เพราะคนเราอยากดูแลร่างการแบบองค์รวมทั่งกายและใจ ส่วนตัวสุดท้ายก็จะเป็น Dining Out สมัยก่อนการที่เราไปทานข้าวนอกบ้านเหตุผลหลักๆ คือไปทานของอร่อยแต่เดียวนี้มันไม่ใช่แล้ว อาจจะเป็นเพราะเราได้ยินว่าร้านนี้แต่งสวย ร้านนี้มีแต่คนดังๆ ไป ลักษณะเฉพาะของคนเมืองเป็น “กระแสโลก” ที่เรากำลังศึกษาและพยายามทำให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา สร้างเป็นโมเดลได้
หลังจากที่เรารุกทางอีสาน เราก็ลองสังเกตดูว่ามีกระแสแบบนี้รึเปล่า เราร่วมศึกษากับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็พบว่าคนขอนแก่นก็มี character แบบนี้เหมือนกัน ซี่งเราก็ได้เจาะลึกในแง่ของความต้องการที่อยู่ กลายเป็นกระแส “Trend Transition” ประกอบไปด้วย
- Cool Urban Life คือต้องมีชีวิตอยู่ในเมือง บางทีใจกลางเมืองเต็มก็ต้องย้ายมาหน่อย ซึ่งเราก็สามารถสร้างความสะดวกสบายได้ รอบๆ โครงการอาจจะมีสังคมเล็กๆที่น่าอยู่ หรือว่าบางโครงการมีส่วนประกอบที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมิกซ์ยูส หรือห้างใกล้ๆ ทำให้คนอยู่ไม่รู้สึกว่าขาดอะไร
- Mini Residence ปัจจุบันบ้านหลังใหญ่ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนต้องการ ลูกค้าต้องการ Compact Life มากกว่า คือไม่ต้องใหญ่มากนัก แต่พื้นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
- Nature Insight ความเป็นธรรมชาติ อย่างที่ Zenmura สวนของคุณต้องทักทายคุณ เราอยู่นอกบ้านก็ต้องมีธรรมชาติที่มองเห็นเข้ามาข้างในบ้านได้
- Unique Life Style ทุกคนก็มีชีวิตที่แตกต่างกัน อย่างของเราก็จะมีห้อง Multipurpose Space เพื่อไว้ให้ลูกค้าแต่งแต่งห้องตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง
จากการศึกษา “Trend Transition” ทำให้เราได้องค์ความรู้ที่สามารถนำไปพัฒนาโครงการต่อๆไปได้
– แปลว่าโมเดลนี้จะอยู่ในโครงการใหม่ๆ ของ Amust
จริงๆ แล้ว Zenmura ก็ตอบโมเดลนี้นะคะ ซึ่งเราสามารถเปรียบโครงการนี้ได้กับ Cool Urban Life แม้ว่าทำเลของเราจะเป็นขอบเมือง แต่จะมีเส้นทางลัดหลายเส้นทาง Zenmura กลายเป็นจุดศูนย์กลายของถนนสายหลัก และความที่เราอยู่ข้างใน เราเลยได้ความสงบ แต่ก็มีความสบายที่มีเส้นทางลัดเข้าออกได้สะดวก และอย่างบ้านหลังนี้ที่เป็นบ้านไซส์เล็กสุดของเรา จะเห็นว่าเรามี Single Corridor มีกำแพงผนังที่เปิดกว้าง พอเช้าๆออกมาจากห้องไม่ต้องไปรบกวนใคร ก็จะจะสามารถออกมานั่งชิวๆดูพระอาทิตย์ขึ้น ออกกำลังกาย เล่นโยคะได้ ส่วน Nature Insight มีสวนอยู่จุดกลางของบ้าน สามารถมองเห็นได้จากทุกๆมุมมอง ห้องครัวห้องรับแขกหรือแม้กระทั่งห้องนอนก็จะยังสามารถมองเห็นสวนได้ และ Unique Life Style เรามีเตรียมห้อง multipurpose space สำหรับตกแต่งตามสไตล์ของแต่ล่ะคน
– ถ้าหากว่ามีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้น แนวคิดนี้จะยังอยู่รึเปล่าครับ
ขึ้นอยู่กับทำเลค่ะ การทำอสังหาฯ ไม่เหมือน ม่ามาสำเร็จรูป ฉีกซอง ใส่น้ำร้อน แล้วทานได้เลย เราพิจารณาจากทำเล โดยลองสำรวจแถวๆ นั้น มีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไร เหมาะสมกับโครงการที่เราจะทำหรือไม่ ซึ่งเราจะนำเอาแนวคิด “Trend Transition” มาปรับใช้ เป็นแกนหลักที่เราต้องใช้ในโครงการต่อๆ ไปค่ะ
จากบทสัมภาษณ์ หลายท่านคงพอจะเห็นภาพ “Trend Transition” คร่าวๆ ซึ่งผลตอบรับจากการยึดแนวคิดนี้จะเป็นอย่างไรนั้น ก็เป็นสิ่งที่เราต้องติดตามกันต่อไปค่ะ เราขอส่งท้ายบทสัมภาษณ์ด้วยภาพสวยๆ จากโครงการ Zenmura นะคะ
ZEMMURA มีแคมเปญพิเศษออกมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลู