ความรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัย มีสังคมเพื่อนบ้านที่เต็มไปด้วยมิตรภาพ คงเป็นจินตนาการที่ผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อบ้านคาดหวังไว้ แต่จะเสริมความมั่นใจได้อย่างไร ก็ต้องอาศัยการศึกษาแนวคิดของผู้ประกอบการที่ออกแบบไว้ตั้งแต่แรก เพื่อให้ทุกการ Living นั้น always smooth ซึ่งครั้งนี้ คุณสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด จะมาบอกเล่าประสบการณ์ในการบริหารจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้คนมากมายทีเดียว

“การใช้ชีวิตในปัจจุบัน มีเรื่องราวให้เราได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อ “เรียนรู้” และ “ใช้ชีวิต” มากมาย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่นับวันจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งก็อยากใช้ชีวิตที่เรียบง่าย เลือกในสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต ไม่เป็นภาระในระยะยาวก็น่าจะเพียงพอ การออกแบบการอยู่อาศัยให้ทุกเรื่องเป็นเรื่องง่ายต่อผู้อยู่อาศัยทุกคนจึงเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งมีความต่างในแต่ละ Generation ตั้งแต่รุ่น Baby Boomer (คุณตาคุณยาย) Gen X (คุณพ่อคุณแม่) Gen Y (คุณลูก) Gen Z (คุณหลาน) หรือแม้แต่ Gen Me ที่ต้องการโลกส่วนตัว ขอเพียงทุกบริการที่ตรงใจ”

🔸ลูกค้า New Gen มีจำนวนเพิ่มขึ้น

กลุ่มคนที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม นับวันจะยิ่งมีอายุน้อยลง เพราะการอยู่คอนโดสะดวกต่อการเดินทางโดย mass transit และยังอิสระในการใช้ชีวิต นอกจากนี้ เทรนด์ในปัจจุบันของ New Gen เช่น Gen Y หรือ Gen Z ยังต้องการมีธุรกิจเล็กๆของตัวเอง (Start Up) ที่อาจเรียกว่าเป็นผู้ประกอบการแบบ “Micropreneurs” หรือมีอาชีพที่สองเพื่อสร้างรายได้ทางออนไลน์ การบริหารจัดการอาคารชุด จึงต้องจัดระบบเพื่อรองรับความต้องการด้านนี้ เช่น ประสานกับบริการรับส่งสินค้าออนไลน์ที่ปัจจุบันมีอยู่มากมายให้เป็นเรื่องง่ายต่อผู้อยู่อาศัย โดยบริหารจัดการพัสดุที่มีระบบรองรับได้ตลอด 24 ชั่วโมง

🔸 โควิด-19 มีผลให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไป

โควิด-19 สร้างความจำเป็นให้ต้อง 1) Work from Home 2) เปลี่ยนอาชีพ หรือ 3) สร้างรายได้เพิ่มจากการทำธุรกิจเล็กๆภายในห้องชุด งานบริการจึงควรช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ารู้สึก relax ในรูปแบบการทำงานแบบ “Workation” ที่สามารถทำงานไปด้วยและได้พักผ่อนไปด้วยในตัว รู้สึกอิสระ ไม่อึดอัด สามารถจัดสรรพื้นที่ในการทำงานนอกห้องชุดส่วนตัว ที่อยู่ในบ้านหลังใหญ่ร่วมกัน โดยใช้พื้นที่ส่วนกลางของโครงการในการทำงาน สามารถเปลี่ยนมุมทำงานไปได้ทุกที่ ไม่จำเจ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม และมีความปลอดภัยรองรับด้วย พื้นที่ส่วนกลางจึงควรใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับทุกสถานการณ์

🔸 “Flexperience” สร้างความประทับใจในการใช้ชีวิต

โดยมีการดีไซน์การใช้ชีวิตที่สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยน มีความยืดหยุ่น (Flexperience) เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราจะเห็นได้จากธุรกิจอื่นๆที่ปรับตัวขนานใหญ่ อย่างเช่นร้านอาหารที่มีมุม Drive-Thru สำหรับลูกค้าที่ต้องการ take home แบบไม่อยากเสี่ยงเข้าไปในร้าน และลูกค้าเองก็ได้รับความสะดวกด้วย การอยู่อาศัยแบบยืดหยุ่นอาจขึ้นอยู่กับการยอมรับของสังคมนั้นๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด ผ่อนผันได้เพียงใดให้งดงาม

🔸ภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบชัดเจนและโดยตรง

ปัญหาการปล่อยกาซเรือนกระจก (Carbon Footprint) สำหรับการอยู่อาศัยในโครงการขนาดใหญ่เช่นคอนโด ที่มีจำนวนสมาชิกและจำนวนยูนิตมาก จำเป็นต้องบริหารจัดการในรูปแบบ Green Community Management ที่ออกแบบการใช้ชีวิตในทุกขั้นตอนการอยู่อาศัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะเรื่องขยะ จากการเปิดเผยข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบว่า ปี 2561 เฉลี่ยคนไทย 1 คนผลิตขยะมูลฝอย 1.1 กิโลกรัมต่อคนต่อวันโดยคิดเป็นสัดส่วนขยะที่ไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลถึง 0.7 กิโลกรัมต่อคนต่อวันทีเดียว และข้อมูลจากวารสาร Science Advances พบคนไทยผลิตขยะถึง 70 กิโลกรัมต่อคนต่อปี สูงที่สุดในอาเซียน จึงจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องร่วมมือกันนำกลับไป Reuse ช่วยกันคัดแยกขยะเพื่อนำไป Recycle หรือ Upcycling เพื่อแปลงสภาพของวัสดุ หรือสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกแล้วเพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าเดิม โดยลงลึกไปถึงขยะอันตรายด้วย นอกจากนี้ ก็ควรใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น มีระบบการบำบัดน้ำเสียทั้งส่วนที่นำกลับมาใช้ใหม่ หรือส่วนที่ปล่อยออกสู่ธรรมชาติ นอกจากนี้ ควรสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้พักอาศัยมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะ โดยคาดหวังที่จะส่งเสริมพฤติกรรมเหล่านี้ให้กระจายไปในวงกว้าง และฝังรากลึกจนกลายเป็นพฤติกรรมปกติในชีวิตประจำวัน

🔸 การสร้างจิตสำนึกร่วมและผลักดันให้เกิดความร่วมมือ ร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการและชุมชนรอบข้าง

โดยอาศัยหลักการ “Rewilding” คือ การสร้างขึ้นใหม่ ฟื้นฟูระบบนิเวศใหม่ โดยสร้างจิตสำนึกร่วมในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมมือกันปฏิบัติผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป้าหมายร่วมคือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการอยู่อาศัย ด้วยจิตสำนึก “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” มีวัฒนธรรมและความร่วมมือที่จะร่วมเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เราจะเห็นผลกระทบจากธรรมชาติในช่วงนี้รุนแรงมากขึ้น และจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ หากเราแต่ละคนยังไม่ร่วมแรง ลงมือ

🔸 การออกแบบการสื่อสารสองทางที่ match กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของแต่ละ Gen

ด้วยเครื่องมือสื่อสารผ่านโลกออนไลน์ที่มีเครือข่ายกว้างขวาง และหลากหลายช่องทาง เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกในการรับสารจากทุกช่องทางที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละ Gen

“เพราะงานบริการต้องพัฒนาตามไลฟ์สไตล์ลูกค้าและปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อการใช้ชีวิตและการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา จึงควรออกแบบงานบริการเพื่อให้การใช้ชีวิตไม่ว่าจะมีปัจจัยใดๆมากระทบ ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ส่งมอบคุณค่างานบริการ สร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด”