หลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง “ระบบตั๋วร่วม” (Common Ticket) ที่จะเริ่มนำมาใช้ในเมืองไทยมาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ ล่าสุดทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ไม่เกิน 6-7 เดือนนี้ เราจะได้ทดลองใช้ตั๋วร่วมกันอย่างแน่นอน
ตั๋วร่วมของไทยมีชื่อว่า “MANGMOOM (แมงมุม)” เป็นผลงานของ “วรรธิชา อเนกสิทธิสิน” กราฟฟิกดีไซน์รุ่นใหม่ไฟแรงจากรั้วมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งนำเอาลักษณะทางกายภาพของแมงมุมมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ ทั้งชื่อ และตราสัญลักษณ์ โดยให้เหตุผลว่าแมงมุมเป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ และดำรงชีวิตอยู่ด้วยการสร้างเส้นใยเชื่อมต่อกันไป ซึ่งเส้นใยนอกจากจะช่วยในการดักจับอาหาร แล้วยังช่วยเป็นเส้นสายในการเดินทางไปสู่จุดต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่นเดียวกับระบบตั๋วร่วมที่สามารถเชื่อมโยงทุกการเดินทางไว้ด้วยบัตรเพียงใบเดียว (ข้อมูล: ประชาชาติธุรกิจ)
ผลงาน “MANGMOOM” ถ่ายทอดออกมาผ่านสัญลักษณ์รูปตัว M จำลองลักษณะของขาแมงมุมที่ผูกรวมกันไว้ เสมือนการเชื่อมทุกการเดินทางทั้งในและนอกภาคขนส่งเข้าไว้ด้วยกันนั้นเอง ซึ่งระบบตั๋วร่วมจะครอบคลุมทั้งระบบรถไฟฟ้า ทางด่วน มอเตอร์เวย์ และรถเมล์
วันนี้เราเลยมีบทความพิเศษว่าด้วยเรื่องของตั๋วร่วมจาก 10 เมือง ที่ทางสนข. ใช้เป็นกรณีศึกษา ซึ่งแต่ละบัตรก็ไม่ได้มาเล่นๆ นะครัช นอกจากขึ้นรถ ลงเรือ บางบัตรยังใช้เช่าจักรยาน และช็อปปิ้งได้พร้อมๆ กัน พกแค่ใบเดียวก็ชิวได้ทั่วเมืองแล้วววววว…ว่าแต่มีที่ไหนบ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ 😉
1. Seoul, South Korea เป็นประเทศแรกๆ ที่เริ่มใช้ Smart Card ซึ่งแต่ละเมืองก็จะมีชื่อของบัตรที่แตกต่างกันไป อย่างใน Seoul หลักๆ จะมี 2 บัตร คือ UPASS และ T-MONEY
UPass เกิดขึ้นในปี 1996 โดยมี Seoul Bus Transport Association เป็นผู้ดูแล ตัวบัตรใช้ได้ทั้งรถเมล์และรถไฟใต้ดิน ครอบคลุม Seoul และเมืองใกล้เคียง
T-Money เริ่มต้นในปี 2004 ผู้ดูแลคือ Korea Smart Card ซึ่งใช้ตัว T สื่อแทน 4 คำ Travel, Touch, Traffic, และ Technology ซึ่งนอกจากใช้จ่ายค่ารถเมล์รถไฟแล้ว บัตรนี้ยังใช้รูดจ่ายค่า Taxi และซื้อของตามห้างได้เช่นเดียวกับบัตรเดบิต มีรายงานว่าหลังจากที่คนเริ่มชินกับการใช้ตั๋วร่วม ปริมาณผู้โดยสารระบบขนส่งสาธารณะใน Seoul เพิ่มขึ้น 6.6 เท่า
2. Malaysia นำตัวอย่างการพัฒนาระบบเชื่อมต่อแบบไร้ตะเข็บ (Seamless Connections) ของประเทศต่างๆ มาบูรณาการ โดยเริ่มจากการพัฒนาสถานี Interchange ใน Kuala Lumpur ให้สามารถใช้ตั๋วใบเดียวเชื่อมต่อการเดินทางได้หลายๆ รูปแบบ ซึ่งกว่าจะทำได้สำเร็จก็กินเวลาเกือบ 10 ปี ปัจจุบันประเทศมาเลเซียใช้บัตรอยู่ 2 แบบ คือ
Touch ’n Go สามารถใช้ได้กับผู้ประกอบการทั้งหมด คือ ระบบรถไฟฟ้ารางเบาหรือ Light Rail Transit (LRT), รถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail, รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระหว่างเมือง หรือ KTM Intercity, รถไฟฟ้า ชานเมือง หรือ KTM Komuter, รถไฟฟ้าสายด่วนเชื่อมต่อท่าอากาศยานนานาชาติ หรือ Express Rail Link และ รถเมล์โดยสารประจำทาง
RapidKL Buses หรือ บัตร RapidKL (RapidKLcard) ซึ่งเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2011 โดยผู้ประกอบการ Prasarana สามารถใช้ได้กับระบบรถไฟรางเบาและรถไฟรางเดี่ยว แต่ไม่สามารถใช้ได้กับ รถเมล์โดยสารประจำทาง RapidKL (RapidKL Buses)
3. Hongkong หนึ่งในต้นแบบของระบบตั๋วร่วมที่น่าศึกษา มีชื่อเก๋ไก๋มากๆ ว่า Otopus ก่อนหน้านั้นบัตรโดยสารจะเป็นแบบที่เติมเงินแล้วใช้ได้ครั้งเดียว แม้ต่อมาจะมีการพัฒนาให้กลายเป็นบัตรเติมเงินได้ แต่ก็ยังยุ่งทางที่จะต้องเปลี่ยนบัตรไปมา บริษัทรถไฟฟ้าเลยร่วมทุนกับ 4 บริษัทขนส่งในฮ่องกง ผลิต Octopus ขึ้นมา
ปัจจุบันบริการต่างๆของบัตร Octopus นั้นสามารถใช้ได้กับระบบขนส่งสาธารณะใน Hongkong แทบทุกรูปแบบ ครอบคลุมถึงระบบจอดรถที่ชำระเงินอัติโนมัติ นอกจากนี้ยังมีนำไปประยุกต์ใช้ชำระสินค้าตามร้านต่างๆ เริ่มตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงโรงภาพยนตร์
4. Taipei, Taiwan ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน มีผู้ประกอบการ 4 รายหลัก ท่ีได้รับสัมปทานให้ออกตั๋วร่วมสำหรับรถไฟฟ้าและรถเมล์ คือ EasyCard, Easy Go, ETC Card และ I Pass ซึ่งบัตร Easy Card คนนิยมมากที่สุด
Easy Card ได้ถูกนำมาใช้สำหรับชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า, รถเมล์, และระบบขนส่งสาธารณอื่นๆใน Taipei ตั้งแต่ปี 2000 ต่อมาได้ขยายขอบเขตการใช้บริการบัตร EasyCard กับบริการชำระค่าสินค้าของห้างสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า และผู้ค้ารายย่อยอื่น ๆ เช่นเดียวกับระบบจัดเก็บค่าโดยสารอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป ส่วนการซื้อก็ง่ายมาก เพราะ EasyCard มีขายที่สถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทุกสถานีและร้านสะดวกซื้อทุกแห่ง โดย Taipei ได้มีการพัฒนาและส่งเสริมการใช้บัตรอย่างต่อเนื่อง
5. Paris, France
Navigo หรือ Passe Navigo เริ่มใช้ใน Paris ปี 2001 ปัจจุบันมีผู้ถือบัตรใบนี้ไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ได้แก่ รถไฟฟ้าใต้ดิน, รถโดยสารประจำทาง, รถราง, รถไฟฟ้าด่วน (RER) และรถไฟภูมิภาค บัตรผ่านน้ียังสามารถใช้สมัครสมาชิกบริการ เช่าจักรยาน Velib’ ซึ่งเป็นบริการเช่าจักรยานบริการตนเองใน Paris
บัตรผ่านมีชนิดที่พ่วงติดกับบัญชีสำหรับคนที่อยู่ใน Paris (เรียกกันง่าย ๆ ว่า Passe Navigo) หรือสามารถออกให้ใครก็ได้ตามสถานีทันที เรียกว่า Passe Navigo Découverte ขณะที่บัตรผ่านที่พ่วงติดกับบัญชีนั้นฟรี ส่วนบัตรผ่าน Passe Navigo Découverte นั้น ราคา 5 ยูโร สามารถซื้อได้ที่ตู้ขายตั๋ว ซึ่งผู้ถือบัตรผ่านสามารถเติมเงินรายปักษ์ได้ (รายอาทิตย์ รายเดือน หรือรายปี) แต่ไม่สามารถเติมเงินในบัตร ได้เป็นครั้งๆ ตามต้องการ ซึ่งต่างจากตั๋วร่วมอื่น ๆ ทั่วโลก
6. Singapore ถือเป็นประเทศแรกๆ ที่เริ่มนำ smart Card มาใช้เช่นเดียวกับ Hongkong ประกอบด้วย
EZ-Link เปิดตัวในปี 2001 ใช้แทนที่บัตรโดยสาร TransitLink ดั้งเดิม บัตร EZ-Link ผู้ใหญ่ ราคา S$12 (ซึ่งรวมราคาค่าบัตร S$5 และเครดิต S$7) เพื่อชําระค่าขนส่งสาธารณะในประเทศ บัตรสามารถซื้อได้ที่สํานักงานขายตั๋ว TransitLink ทุกแห่ง หรือศูนย์ให้บริการผู้โดยสาร นอกจากนั้นยังสามารถใช้ชําระค่าสินค้าและบริการที่ร้านที่มีสัญลักษณ์ “EZ- Link” ที่ด่านชําระค่าผ่านทาง และที่จอดรถระบบจอดรถอิเล็กรอนิกส์ โดยสามารถเติมเงินได้ที่เครื่องขายตั๋วทั่วไป, เครื่อง ATM หรือเลือกชําระออนไลน์ก็สะดวกไปอีกแบบ
NETS FlashPay เปิดตัวในปี 2009 สามารถซื้อได้ที่สํานักงานขายตั๋ว TransitLink ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT ทุกแห่ง ร้านค้าปลีก เช่นร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ร้าน Cheers และร้าน Fairprice Xpress รวมถึงตู้ iNETS บัตรดังกล่าวสามารถใช้ชําระค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะใน Singapore และที่ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ “NETS FlashPay”
แนวคิดของบัตร EZ-link และบัตร NETS FlashPay บัตรทั้งคู่เป็นบัตรที่สามารถเติมเงินและสะสม เงินได้ และสามารถนําไปใช้ได้ในรถไฟฟ้าและรถประจําทางซึ่งผู้ใช้สามารถประหยัดเงิน 15% บัตรราคา S$12 รวมเงินสะสมS$7 และบัตรเติมเงินได้อย่างต่ำ S$10 ที่เครื่องขายตั๋วเที่ยวเดียวหรือที่ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (สามารถเติมเงินได้โดยบวกค่าอํานวยความสะดวก) ทั้งนี้บัตรจะมีอายุใช้งาน 5 ปี
7. Tokyo, Japan พยายามนำระบบ Smart Card มาใช้ตั้งแต่ปี 2001 ในช่วงแรกๆ อาจยังมีปัญหาเพราะยังไม่สามารถทำให้ทุกระบบเชื่อมกันได้ เทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นใช้คือ FeliCa พัฒนําขึ้นโดยบริษัท Sony เทคโนโลยีนี้ยังใช้ในบัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ Edy ที่ใช้กันในประเทศญี่ปุ่น และบัตร Octopus ใน Hongkong
ญี่ปุ่นมีบัตรโดยสารหลายประเภท อาทิ Suica, Pasma, Icoca, Pitapa, Toica, Manaca, Kitaca, Sugoca, Nimoca และ Hayakaken (ทั้งหมดเป็นบัตรเติมเงินที่สามารถชำระค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะและซื้อสินค้าได้) ซึ่งในเดือน มี.ค. 2013 ทั้ง 10 บัตรก็สามารถใช้แทนกันได้ ทำให้เราสามารถขึ้นรถไฟ รถไฟใต้ดิน และรถเมล์แทบทุกคันในเมืองใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นด้วยบัตรใดบัตรหนึ่งในสิบใบนี้ 8. London, UK
Oyster เป็นรูปแบบหนึ่งของ Smart Card ที่เริ่มใช้ใน London เปลี่ยนทางเลือกการจ่ายค่าโดยสารจากการซื้อตั๋วกระดาษ เป็นการใช้บัตรเติมเงิน Oyster ท่ีผู้โดยสารเพียงแค่แตะ บัตร Oyster ตรงที่อ่านบัตร (Card Reader) ค่าโดยสารจะถูกหักออกจากบัตรสำหรับเที่ยวการเดินทางนั้น
ปัจจุบันมีการใช้บัตร Oyster ใน London กับบริการระบบขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ได้แก่ รถเมล์โดยสารประจาทาง รถไฟฟ้าใต้ดิน (Tube) รถราง (Tram) รถไฟรางเบาสายด็อคแลนด์ (Docklands Light Railway: DLR) รถไฟฟ้าเหนือดิน London Overground และบริการของการรถไฟแห่งชาติอังกฤษ ส่วนมากที่ให้บริการอยู่ใน London
9. Los Angeles, USA
TAP บัตรโดยสารสากลถูกเปิดตัวที่ Los Angeles ในปี 2008 เครื่องอ่านบัตร TAP ได้ติดตั้งบนรถโดยสารประจําทางและตามสถานีรถไฟข้าง ๆ เครื่องขายตั๋ว เนื่องจากที่สถานีรถไฟฟ้า Metro ทุกแห่งไม่ได้ติดตั้งประตูกั้นอัตโนมัติ ผู้ตรวจตั๋วจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้บัตร TAP ได้แตะบัตร โดยการใช้เครื่องมือตรวจตั๋วขนาดพกพาไร้สาย
ปัจจุบันบัตร TAP เป็นที่ยอมรับในระบบขนส่งสาธารณะที่แตกต่างกันใน Los Angeles รถโดยสารประจําทางและระบบรางทั้งหมด รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลหลายแห่ง
10. Sydney, Australia
Opal เป็น Smart Card สำหรับบริการระบบขนส่งสาธารณะในเขตพื้นที่ Sydneyโดยสามารถใช้ได้กับบริการรถโดยสารประ จำทาง, รถไฟ, รถไฟฟ้ารางเบา และบริการเรือข้ามฟากของภาครัฐทั้งหมดที่ Sydney และพื้นที่ Central Coast, Hunter Region, Blue Mountains, Southern Highlands และ Illawarra
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับกรณีศึกษาทั้ง 10 ประเทศ ถ้าเราทำได้แบบนั้นจริงๆ ชีวิตก็คงสะดวกขึ้นเยอะ…ตอนนี้อดใจรอกันหน่อยนะคะ 🙂
Source of Information:
- Thaicommonticket.com
- ประชาชาติธุรกิจ