หากจะพูดถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่ามีรูปแบบที่แตกต่างจะเมื่อก่อนมาก การออกแบบบ้านและคอนโดมีกาพรัฒนาไปค่อนข้างไกลและพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง
แต่ถ้าจะมองในภาพรวมเป็นพื้นที่ใหญ่ขึ้นแบบตัวเมือง อันนี้ต้องบอกว่าเรายังไม่ค่อยได้เห็นการพัฒนาหรือการให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก เพราะการพัฒนาโครงการที่ใหญ่ระดับชุมชนเมืองต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดโครงการระดับนี้ได้ แต่ที่ญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาเมืองไปอีกระดับแล้ว “Kashiwa-no-ha Smart City” คือตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงและประสบความเร็จแล้วในเฟสแรกและกำลังพัฒนาเฟสต่อไป
อนันดาฯ คือหนึ่งในผู้ประกอบการชั้นนำของเมืองไทยที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ ยิ่งได้ร่วมทุนกับบริษัท มิตซุย ฟูโดซังฯ บริษัทอสังหาฯรายใหญ่ที่ญื่ปุ่น ยิ่งเห็นถึงความสำคัญของโมเดลการพัฒนาด้าน Innovation เพื่อพัฒนาเมือง และจะนำไปสู่แนวคิดการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาพัฒนาและใช้ในธุรกิจหลัก เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของ Ananda UrbanTech
เมืองหรือชุมชนอยู่อาศัยนั้น เรามักจะถึงการอยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดแต่ในความเป็นจริงแล้วการพัฒนาเมืองนั้นต้องมีส่วนประกอบหลายส่วนมากมายเช่น โครงการสร้างพื้นฐานทั้ง ถนน ไฟ้ฟ้า น้ำประปา ระบบการสัญจรต่างๆ รวมไปถึงสถานศึกษาและแหล่งจับจ่ายใช้สอยทั่วไป
ซึ่งเมือง Kashiwa-no-ha smart city ได้มีครบทั้ง มหาวิทยาลัย ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล และแหล่งพลังงาน เป้าหมายของเมืองนี้คือรองรับประชากรอยู่อาศัย 26,000 คน, คนงาน 15,000 คน และนักท่องเที่ยว 10 ล้านคน/ปี พื้นที่ของ Smart City ถือว่าใหญ่มากๆ มีขนาดประมาณ 1,800 ไร่ สำหรับเฟสแรกพัฒนามาแล้ว 10 ปีตั้งแต่ปี 2005-2015 ส่วนเฟสที่เหลือจะใช้เวลาอีก 15 ปีนั่นคือสร้างเสร็จทั้งหมดในปี 2030 ที่ดินในแถบนี้สมัยก่อนจะเป็นพื้นที่เลี้ยงม้าให้กับทหารญี่ปุ่นต่อมาก็ทำเป็นสนามกอลฟ์และกลายเป็น Smart City ในปัจจุบัน
สำหรับส่วนจะไปดูคือ Gata Square เป็นพื้นที่ใกล้กับตัวสถานีรถไฟฟ้าสายด่วนซึคูบา พื้นที่ตรงนี้จะแบ่งเป็นสำหรับเช่าอยู่อาศัย 145 ยูนิต เป็นโรงแรม 166 ห้อง มีพื้นที่ร้านค้า 7,260 ตร.ม. พื้นที่สำนักงาน 7,755 ตร.ม.
สิ่งที่น่าสนใจในการพัฒนา Smart City คือเรื่องของพลังงานและงานระบบต่างๆที่คนทั่วไปจะไม่ค่อยได้เห็นกัน แต่สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เมืองนี้แตกต่างจากที่อื่น ส่วนจะมีรายละเอียดอะไรบ้างเดี๋ยวเราค่อยไปดูพร้อมๆกันครับ
การเดิมชมรอบๆตัวโครงการนี้จะมี คุณ Tomoo Nakamura ตำแหน่ง Executive Director, Mitsui Fudosan (Asia) Pte. Ltd. เป็นผู้คอยให้ข้อมูลเบื้องต้น
เรามาเดินดูจากภายนอกก่อนสิ่งแรกที่เห็นตั้งแต่ลงจากรถก็คือที่จอดรถสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เรื่องนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากโครงการเพื่อช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจในการใช้รถยนต์พลังงานสะอาดมากขึ้น ลองคิดดูนะครับถ้าบ้านเรามีรถไฟฟ้ามาขายแล้วพอเราใช้งานเสร็จกลับมาบ้านหรือคอนโดก็เสียบปลั๊กชาร์จไว้ได้เลย ไม่ต้องไปเสียเวลาชาร์จข้างนอก เรื่องแบบนี้ทางโครงการก็ต้องกล้าลงทุนเพื่อให้ลูกบ้านเห็นว่ามีระบบรองรับแล้วผู้คนก็มีความสะดวกมากขึ้นสังคมก็จะเริ่มเปลี่ยนไปครับ
ข้างกับที่จอดรถไฟฟ้าจะมีกังหันลมแบบใหม่ซึ่งการทำงานเป็นอย่างไรผมก็ไม่รู้นะครับ เนื่องจากเวลามีน้อยเลยไม่ได้ถามเพิ่มเติมมาให้แต่ก็เห็นมันหมุนติ้วๆอยู่นะ
สำหรับตัวอาคารหลักๆ ที่ทางทีมงานได้ไปดูจะเป็นส่วนของพื้นที่ร้านค้าและสำนักงานที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านเสื้อผ้าร้านอาหารต่างๆ ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบครบวงจร พื้นที่สำนักงานแบบ Co-working Space และอาคารพลังงาน ซึ่งทีมงานได้มีโอกาสเข้าไปดูห้อง Smart Center ที่เป็นตัวควบคุมงานระบบทั้งหมดภายในเมืองนี้ด้วย ล้ำมากๆเลยครับ
รอบๆ อาคารพลังงานและหลังคาจะมีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มาเพื่อรองรับการใช้งานของชุมชนภายในและเก็บสำรองไว้ใช้ได้ในยามฉุกเฉิน
อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นนะครับว่าความเจ๋งของเมืองนี้คือเรื่องของพลังงาน เพราะหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ญี่ปุ่นและส่งผลให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะมีปัญหาหลายพื้นที่ต้องอยู่แบบไม่มีไฟฟ้าใช้ แนวคิดของโครงการนี้เลยเริ่มจากพลังงานสะอาดและมีพลังงานสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน พื้นที่เกือบทุกชั้นในอาคารจึงมีแหล่งพลังงานสำรองเก็บไว้ ถ้าเกิดไฟดับพื้นที่ตรงนี้จะสามารถมีไฟฟ้าใช้ด้วยตัวเองได้ถึง 3 วันเต็มๆ
ซึ่งพลังงานสะอาดที่เราคุ้นเคยอย่างแผงโซล่าเซลล์ก็ถูกนำมาติดตั้งตามพื้นที่ต่างที่รับแสงแดดได้ดีอย่างในภาพจะเป็นแนวกันสาดไว้บังแดดให้อาคารและเก็บพลังงานไว้ในในอาคารด้วย ปัจจุบันโครงการนี้ใช้พลังงานที่ตัวเองสร้างขึ้นมาประมาณ 10% จากการใช้พลังงานทั้งหมด อย่างแผงโซล่าเซลล์ที่เห็นอยู่นี้จะให้พลังงานพอใช้สำหรับ 50 ครอบครัวในหนึ่งวัน
ต่อไปเราจะเข้าไปดูภายในอาคารบางส่วนของโครงการนี้ แอบบอกสักหน่อยว่าราคาขายของโครงการนี้ 3 ห้องนอน 40-50 ล้านเยน ราคาที่พักที่นี่จะสูงกว่าพื้นที่รอบๆอยู่ประมาณ 10% และส่วนที่เป็นห้องเช่าจะมีราคาสูงกว่าพื้นที่รอบๆประมาณ 2 – 3 เท่าโดย 1 ห้องนอนค่าเช่าต่อเดือนจะอยู่ที่ 150,000 เยน ปัจจุบันมีบ้านเช่าทั้งหมด 120 ยูนิตซึ่งมีคนเช่าเต็มหมดแล้ว ปีหน้าจะสร้างเสร็จเพิ่มอีก 1 อาคาร 500 ยูนิต
ก่อนจะเข้าไปผมถ่ายภาพเอาใจคนที่ชอบสถาปัตยกรรมสวยๆ นะครับ ตัวอาคารที่ออกแบบในพื้นที่นี่ดูผ่านๆอาจจะไม่มีอะไรโดดเด่นแต่ถ้าดูดีๆจะเห็นความละเอียดในการออกแบบและความสวยงามตามสไตล์ญี่ปุ่นเลยครับ
แท่งเสาต้นที่กรุด้วยหินรอบด้าน จากรูปแรกที่เห็นด้านนนอกตัวเสาจะทะลุเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน เส้นสายในการออกแบบภายในจะเน้นไปทางเรียบง่ายนะครับ
จุดที่เราได้เดินไปชมก็คือส่วนที่เป็นร้านค้าที่เป็นพื้นที่รองรับการใช้งานของคนในชุมชนแถวนั้น ซึ่งภายในจะมีทั้งร้านอาหาร โรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กๆ และพื้นที่ให้คนในครอบครัวได้มาทำกิจกรรมพักผ่อนกัน
สำหรับพื้นที่ทำงานจะมีทั้งห้องประชุมหลายๆ ขนาด และพื้นที่นั่งทำงานแบบ Co-working Space แถมยังมีพื้นที่แบบ Workshop มาให้ใช้งานด้วย ภายในมีอุปกรณ์ให้ใช้เยอะมากที่ทันสมัยหน่อยก็มีพวก 3D printer มาด้วยเช่นกัน สำหรับค่าใช้จ่ายการเป็นสมาชิกมีค่าแรกเช้าอยู่ที่ 3,000 เยน และเสียรายเดือนอีก 15,000 เยน/เดือน
สำหรับห้องสุดท้ายที่ได้เข้าไปดูคือห้องควบคุมงานระบบทั้งหมดของเมืองนี้หรือคนที่นี่เรียกว่า Smart Center ห้องนี้จะเป็นห้องควบคุมระบบการทำงานของเมืองทั้งหมดดูตั้งแต่การจ่ายไฟ การใช้ไฟในแต่ละจุด ไปจนถึงการปล่อยก๊าซ CO2 ในแต่ละโซนของเมือง
สิ่งที่เมืองนี้พิเศษกว่าเมืองอื่นๆคือการควบคุมพลังงานนี่แหละครับ ยกตัวอย่างเช่นช่วงกลางวันคนออกไปทำงานการใช้ไฟฟ้าในโซนนี้จะน้อย พลังงานที่เหลือจากการใช้งานจะถูกเก็บเอาไว้ใช้ในช่วงเวลาที่มีการใช้พลังงานเยอะๆ หรือจะเอาไว้ใช้ในวันเสาร์-อาทิตย์โซนการค้าก็ได้ ซึ่งแต่ละตึกยังสามารถแชร์ไฟให้กันและกันได้ด้วยเช่น วันหยุดตึกสำนักงานไม่มีการใช้งานก็จ่ายไฟไปให้ส่วนร้านค้าที่มีการใช้งานเยอะๆได้
ช่วงท้าย นาย โคอิจิ คาโตะ ผู้บริหารฝ่ายวางแผนกลุ่มธุรกิ
นาย โคอิจิ คาโตะ ผู้บริหารฝ่ายวางแผนกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศⅡ บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด เปิดเผยว่า “Kashiwa-no-ha” ที่เมืองชิบะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็น Smart City ที่เน้น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนครบวงจร ที่นี่ไม่ใช่แค่เมืองคอนเซปต์ลอยๆ แต่เป็นเมืองที่ถูกออกแบบโดยผ่านการกลั่นกรองอย่างพิถีพิถันทุกรายละเอียด ก่อนที่จะถูกสร้างขึ้นมา และมีคนใช้ชีวิตอยู่จริง
ทางฝั่ง คุณชานนท์ เรืองกฤตยา เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือคุณโก้ หัวเรือใหญ่ของอนันดาก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมืองแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีส่วนร่วมของรัฐบาลเป็นเสาหลักในการพัฒนาถ้าไม่ใช่หน่วยงานใหญ่อาจจะเป็นหน่วยงานท้องถิ่นก็ได้ และมีส่วนร่วมของภาคการศึกษา มหาลัย ฝั่งเราภาคเอกชน ถ้ารวมพลังกันแล้วไม่มีอะไรที่คนไทยจะทำไม่ได้ สิ่งที่ยังขาดจริงๆ คือความร่วมมือกัน ถ้าเราหันหน้าเข้าหากันมาร่วมมือกัน ช่วยกันคิด ร่วมกันวางแผน ยังมีพื้นที่อย่าง มักกะสัน หรือ ท่าเรือ ถ้านำมาพัฒนาด้วยระบบที่ยุติธรรมกับทุกฝ่าย ก็สามารถพัฒนาได้ ซึ่งทางอนันดาเองก็พร้อมที่จะร่วมมือกับทุกฝ่ายรวมถึงผู้ประกอบการรายอื่นๆด้วย
ในอนาคตเราอาจได้เห็นโครงการของอนันดาที่มีการนำโมเดลการพัฒนาจากที่ญี่ปุ่นมาปรับใช้ก็ได้ อย่างปัญหาเรื่องผู้สูงอายุที่ญี่ปุ่นเจอมาก่อนทางอนันดาก็คิดอยู่ตลอดว่าจะมี Product แบบไหนมารองรับ ซึ่ง Product แบบคอนโดประเภทใหม่อาจจะไม่เกิดเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังติดอยู่กับการอยู่ที่เดิม สังคมเดิม แต่ Product ที่อาจจะเป็นไปได้คือพวกแนว Service Apartment มากกว่า และปัญหาหลักของกลุ่มผู้สูงอายุคือไม่สามารถกู้ได้ แต่กลุ่มผู้บริโภคที่น่าสนใจกว่าคือกลุ่มสาวโสด เพราะเป็นกลุ่มที่ต้องการความปลอดภัยสูงและชอบอยู่ใกล้รถไฟฟ้ามากกว่า อย่างที่นี่จะมีโครงการที่ได้พัฒนามาเพื่อกลุ่มนี้โดยเฉพาะ อย่างเช่นมีกล้องอยู่ในลิฟต์ที่คนรอลิฟท์สามารถดูได้ว่าอยากจะลงลิฟท์ไปพร้อมคนนี้รึเปล่า
สุดท้ายนี้ต้องบอกว่าไม่ว่าบ้านเมืองเราจะพัฒนาไปในแนวทางใด ความร่วมมือ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันเรื่องต่างๆ เพราะแค่เรื่องง่ายๆ หลายเรื่องในบ้านเราหน่วยงานรัฐในบ้านเราก็ยังทำงานร่วมกันได้ไม่ดีพอ ยิ่งต้องทำงานที่ใช้ความร่วมมือจากหลายส่วนคงต้องมีการวางแผนระยะยาวกันให้ดี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น