SB ธัญญรักข์ ชวาลดิฐ 7

วันนี้ทางผม บีม ผู้ก่อตั้งเวปไซต์ Think of Living ได้มีโอกาสมาสัมภาษณ์คุณหนูเล็ก ธัญญรักข์ ชวาลดิฐ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส บี เฟอร์นิเจอร์ (S.B. Furniture) จากการที่เปิดตัว Furnitue คอลเลคชั่นใหม่ เจาะตลาดกลุ่มวัยรุ่นวัยทำงานที่อยู่อาศัยบนคอนโดมิเนียมโดยเฉพาะ ตลอดจนแนวทางต่างๆทางด้านการตลาดของ SB Furniture ละครับ

ผมขอเรียกว่าพี่หนูเล็กแล้วกันนะครับ ปีนี้เห็นว่าทาง SB ออกคอลเลคชั่นใหม่เป็นคอลเลคชั่น “Condo Fit” ช่วยเล่าคอนเซปท์ให้ฟังได้ไหมครับ Condo Fit คืออะไรครับ ?

คอลเลคชั่น Condo Fit เป็นคอลเลคชั่นของเฟอร์นิเจอร์ที่เราออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่อยู่ในคอนโด ซึ่งจริงๆแล้วควรจะมีสินค้าแบบนี้เพื่อออกมาตอบโจทย์ลูกค้าที่อยู่คอนโดเร็วกว่านี้ พอดีว่าปีที่แล้วมีเหตุการณ์น้ำท่วม เลยทำให้การออกสินค้าช้าไปหน่อย

คือทางเรามีข้อมูลที่อยู่อาศัยที่ทำงานร่วมกับ Developer หลายๆเจ้า เราได้รับแปลนห้องตั้งแต่ก่อนจะสร้างงานจริง ซึ่งมีข้อสังเกตว่าห้อง Studio ที่เคยมีพื้นที่ 28 ถูกลดขนาดลงมาเป็น 22 ตารางเมตร ในขณะที่ One-bedroom ที่เคยมีพื้นที่ 40 ลดลงมาเป็น 35 ตารางเมตร เราจึงได้ตั้งข้อสังเกตขึ้นว่าถ้าพื้นที่เล็กลงแบบนี้ เฟอร์นิเจอร์ที่จะเข้าไปอยู่ตรงนั้นเนี่ย จะเข้าไปวางได้มั้ย

อย่างตามแปลน LPN บางทีหาเฟอร์นิเจอร์ลงไม่ได้เลยนะครับ เช่น ชั้นวางทีวี

ใช่ค่ะ อย่างประเด็นนี้ เราเช็คมาแล้วว่าลูกค้าที่อยู่ LPN เนี่ย ปัญหาคือไม่มีเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปในท้องตลาดที่สามารถตอบโจทย์ได้ ทำให้ลูกค้าต้องไปจ้าง Build ซึ่งแพง ช้า ยุ่งยาก ซึ่งก็กลายมาเป็นเหตุผล ที่มาที่ไปว่าลูกค้ามีความต้องการ แต่ยังไม่มีเฟอร์นิเจอร์ในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดและฟังก์ชั่น

เราก็เอาโจทย์นี้ไปให้นักออกแบบเราว่าจะทำยังไง ในขณะที่บ้านมีขนาดเล็กลง แต่ลูกค้ายังต้องการฟังก์ชั่นครบ ในรูปแบบที่ชิ้นเฟอร์นิเจอร์จะต้องเล็กลง เผลอๆอาจต้องมีฟังก์ชั่นที่มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากว่าขนาดที่เล็กลง ซึ่งถือเป็นความท้าทายนึงของนักออกแบบ เราก็เลยต้องมีตัวช่วย เช่น อุปกรณ์ Fitting ทั้งหลาย เช่น อย่างตัว Fitting โต๊ะซึ่งสามารถพับเก็บออกมาได้ และยังรับน้ำหนักได้ถึง 10 กิโล อุปกรณ์ก็ต้องนำเข้าจากเยอรมัน ซึ่งก็ทำให้นักออกแบบต้องคิดมากชึ้น ฉะนั้นด้วยความบางของมันสามารถทำให้เก็บในซอกประตูได้ อย่างที่บอกว่า LPN ไม่มีที่ลงนะ แต่อันนี้เราสามารถกางออกมาเป็นโต๊ะทานข้าวได้ ไม่งั้นก็ไม่มีพื้นที่ทานข้าวกัน ในขณะเดียวกันเนี่ยเราคิดใหม่เลย แจกโจทย์สองทีมเลยทั้ง SB และ Koncept สำหรับ SB ลูกค้าอาจมีกำลังซื้อหน่อย มีลูกเล่น ดีไซน์อะไรก็ได้

พี่หนูเล็กหมายถึง Condo Fit นี่มีทั้งในแบรนด์ของ SB และแบรนด์ของ Koncept ใช่ไหมครับ

ใช่ค่ะ

6228

วางสินค้าแยกกันไหมครับ ทั้งๆที่ใช้ชื่อว่า Condo Fit เหมือนกัน

แยกกันค่ะ คือเหมือนเราต้องตอบโจทย์ลูกค้าคอนโดทั้งกลุ่มที่ถูกและแพง

อย่างกลุ่ม Koncept ก็จะชัดเจนเลย สำหรับลูกค้าห้อง Studio พื้นที่อาจอยู่ที่ 22 ตารางเมตรขึ้นไป ราคาของคอนโดอาจอยู่ที่ 1-2 ล้านขึ้นไป

ในส่วนของ SB Furniture คอนโดอาจจะเป็นขนาด One Bedroom อยู่ที่ราคา 2 ล้านบาทขึ้นไป ถึง 5 ล้าน ในกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อมากขึ้นไป ถ้ายิ่งคอนโดราคาแพง ก็ยิ่งมีพื้นที่มากขึ้นใส่เฟอร์นิเจอร์ได้เยอะขึ้น เพราะฉะนั้นพอโจทย์เป็นแบบนี้ที่แจกไปในสองทีมที่บอก มีข้อกำหนดว่าจะต้องมีลูกเล่น ให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ตัวนี้โต๊ะพับได้ เตียงจะปรับมาเป็นโต๊ะทำงานได้ จุดขายของตัวนี้ก็คือ Double Space, More Function ก็คือพื้นที่เดิมที่คุณเคยใช้นี่แหละ คุณสามารถเพิ่มเป็น 2 ฟังก์ชั่นได้ เช่น โต๊ะทำงานนั่งๆอยู่ ปรับลงมาได้เลยโดยที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายอะไร และเราก็ยังเดินสายปลั๊กไว้ด้านในแล้วด้วย ลูกค้าก็จะไม่ต้องดึงปลั๊กออก เพราะฉะนั้นการ Wiring (การร้อยสายไฟ) เนี่ยสำคัญมาก ถือเป็นความสะดวกในการใช้งานมากๆ ลูกค้าไม่ต้องมาคอยดึงเข้า ดึงออก ไม่ได้ฟังก์ชั่นการใช้งานที่แท้จริง ต้องมายกของเข้า ยกของออก ก่อนที่จะดึงพับลงมา อันนี้ก็จะตอบโจทย์ลูกค้าที่พื้นที่จำกัดจริงๆ แต่ก็อยากได้ฟังก์ชั่นการทำงานหลายด้าน เพราะฉะนั้นข้อสำคัญอีกข้อคือ ต้องเบา ในเรื่องของน้ำหนักเราคิดแล้วว่า ในสมัยนี้ผู้หญิงอยู่คอนโดคนเดียว จะต้องดึงเอง ทำยังไง เพราะฉะนั้นเวลาดึงต้องไม่หนัก จนกระทั่งเค้ารู้สึกว่ามันยุ่งยากจนเกินไป อันนี้ก็จะเป็นโจทย์ของนักออกแบบของ SB

ในเรื่องฟังก์ชั่นของตัวเตียง เตียงที่มีลิ้นชักเคยเห็นเยอะแล้ว แต่ว่าเราก็คิดว่าทำยังไงลูกค้าคอนโดไม่มีที่แม้แต่พื้นที่จะวางตู้ข้างเตียง แต่ปกติก่อนนอน เราก็อาจจะมีมือถือ นาฬิกาปลุก ซึ่งก็ต้องชาร์จ เราเลยดีไซน์มาให้เตียงสามารถมีปลั๊ก แบบประเภทดึงเก็บได้ ไม่ให้เกะกะ จะใช้แล้วค่อยดึงออกมา

เมื่อกี้ผมพึ่งนำเสนอไป ถ้ามีสวิตท์กับรีโมตแอร์ด้วยจะยิ่งดีมากเลยครับ

งั้นเดี๋ยวพี่ต้องไปออกแบบเพิ่มแล้วนะ ในส่วนของหัวเตียง เราก็ทำเป็นซอง เพราะบางทีเราอ่านหนังสือหรือ iPad เสร็จปั๊บ เราก็เสียบเก็บได้ มีที่เก็บของโดยที่ไม่ต้องใช้พื้นที่ของตู้ข้างเตียงเลย ในกรณีที่ลูกค้าไม่มีที่วางตู้ข้างเตียง

ใช่ครับ เพราะว่าคอนโดสมัยนี้เค้าไม่เผื่อพื้นที่ให้เลย หรืออาจจะวางตู้ข้างเตียงได้แค่ข้างเดียวเท่านั้น หรือบางทีวางแล้วอาจจะไม่มีพื้นที่เหลือระหว่างตู้ข้างเตียงกับหน้าต่างเลยก็ได้ อาจจะอึดอัดไปนิดนึง

ใช่ค่ะ ก็เลยเป็นที่มาของสิ่งนี้ ต่อไปเป็นในส่วนของตู้เสื้อผ้า อันนี้เป็น Size 120 cm ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กที่สุด ถ้าไม่นับ 2 ประตูที่เป็น 90 cm อันนี้เราคิดว่าบางครั้งตู้เสื้อผ้า 2 ประตูมันอาจจะน้อยเกินไปสำหรับการเก็บของ เพราะฉะนั้นมันควรจะให้ฟังก์ชั่นได้เต็มที่ จากที่เราดูแปลนมาแล้ว ขนาด 120 cm เป็นขนาดที่ Developer ส่วนใหญ่จะเผื่อช่องไว้ให้ลูกค้าใส่ตู้เข้าไป

SB ธัญญรักข์ ชวาลดิฐ 3

แต่ถ้าหากเล็กกว่า 120 cmนี่ก็เหนื่อยหน่อยใช่มั้ยครับ

ใช่ค่ะ ถ้าเล็กกว่านี่ ไม่รู้จะเอาอะไรใส่เข้าไปแล้วค่ะ นอกจากนั้นเราก็ยังมีเพิ่มกระจกเข้าไปที่ตู้เสื้อผ้าด้วย เพื่อให้ลูกค้าสามารถส่องแต่งตัวได้ โดยที่ไม่ต้องไปใส่โต๊ะเครื่องแป้งอีก

ส่วนอันนี้อาจจะเน้นในส่วนของ Lifestyles แล้วค่ะ บางคนอาจจะชอบสีสันต่างไป ในสมัยนี้ลูกค้าก็จะชอบแต่งในสไตล์ที่มีแนวห้องเป็นของตัวเอง อย่าง Vintage Passion ก็จะหวานหน่อย ส่วนอีกอัน Posh จะเป็น High-end หน่อย ด้วยวัสดุจะค่อนข้างหรู ทำมาจากต่างประเทศเยอะ เป็นผ้า เป็นหนัง ส่วนใหญ่จะเป็นพวกลูกค้าคอนโด The Address ที่แพงๆหน่อยจะค่อนข้างมีพื้นที่ ชอบอะไรที่ luxury ขึ้นมานิดนึง เท่าที่พี่สังเกตเทรนด์ลูกค้ากลุ่มนี้ เค้าก็จะชอบสินค้าที่หรูหราขึ้นมาหน่อย แล้วพวกนี้ส่วนใหญ่คอนโดที่เค้าซื้อจะไม่ได้ตกแต่งเสร็จพร้อมอยู่

ครับ งั้นพอมันพัฒนามาประมาณนี้แล้ว แนวเป็น Condo Fit แบบนี้ แนวทางการพัฒนาต่อไปของ SB คิดว่าจะออกไปแนวไหนต่อครับ

ก็ด้วยจุดยืนของแบรนด์ SB นะค่ะ จริงๆเรามี …. ที่อยู่ใน Core หลักของการทำงานของแบรนด์เลย ก็คือการเป็น Design Leadership หรือ Design Innovation ถ้าหากย้อนกลับไปเมื่อ 2-3 ปีก่อนก็จะมีพวก Walk-in Closet ที่ไม่มีเสา เราเรียกว่า Pano Series ที่คุณแอฟเป็นพรีเซนเตอร์ ซึ่งตัวนั้นก็เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เป็นบิวต์แต่ไม่มีเสาเลย โล่งๆเช่นเดียวกัน พอมาถึงปีนี้ถึงแม้โจทย์ของลูกค้าจะเปลี่ยนไป ห้องมีขนาดเล็กลง แต่เราสามารถเอาแนวคิดตรงนี้มาประยุกต์ได้โดยการใส่ลูกเล่นอะไรต่างๆลงไปอย่างที่ได้กล่าว

ถ้าถามว่าถัดจากนี้เป็นยังไง เรามองว่าเฟอร์นิเจอร์เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต และบ้านพักอาศัย จะไม่ใช่การขายเฟอร์นิเจอร์ด้วยฟังก์ชั่นอีกต่อไป หมายความว่า สมัยก่อนเราอาจจะใช้เตียงเป็นเตียง แต่วันนี้การดีไซน์เตียงมันจะต้องตอบโจทย์มากกว่าการเป็นเตียงนอน เหมือนอย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าเตียงมีปลั๊ก เพราะลูกค้านั่งทำงาน มีคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือบนเตียง เพราะฉะนั้นการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของเราจะต้องไปในทิศทางเดียวกันกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า

ก็คือ เราจะดูว่าคนเราใช้ชีวิตเปลี่ยนไปยังไง และก็จะออกแบบสินค้าให้เหมาะกับชีวิตของคนในยุคสมัยนั้น ใช่มั้ยครับ

คือเราจะต้องตอบสนองลูกค้ามากกว่าฟังก์ชั่น เพราะถ้าเป็นแค่ฟังก์ชั่นก็จะทั่วไป ไม่ต่าง โต๊ะเป็นโต๊ะ เตียงเป็นเตียง แต่ในวันนี้เรามองเห็นอะไรที่ข้ามไปมากกว่านั้นอีกก้าวหนึ่งล่ะ

SB ธัญญรักข์ ชวาลดิฐ 6

แต่แบบนี้ต้องเร็วนะครับ

ใช่ค่ะ อนาคตไม่แน่เราอาจจะเห็นเตียงที่มีลำโพง มีไฟ LED หลายๆอย่างใส่เข้าไป คือ เราคิดว่ามันเป็นไปได้ แต่มันก็ยังมีจุดตายอยู่ที่เรื่องลำโพง คุณภาพแบบนี้ลูกค้าจะชอบมั้ย ลูกค้าบางคนอาจจะชอบอะไรที่มันดีไปเลย

เพราะบางครั้งเรื่องของเครื่องเสียงจะค่อนข้าง Sensitive อย่างเรื่องนี้เราเคยคิดกันจริงๆ บอกนักออกแบบไว้ว่า ลูกค้ามีโทรศัพท์หรือ iPod  กันทุกคน สมมติเตียงเรามีลำโพงเสียบแล้วฟังได้เลย ไม่ต้องมาซื้อเครื่องเสียงใส่ ก็ดีนะ แต่จุดตายก็อย่างที่บอก ความต้องการทางอรรถรสด้านเสียงที่ต่างกัน บางทีเราอาจจะเลือกดีไปก็แพง แต่ถ้าเราเลือกลำโพงเครื่องเสียงธรรมดา ลูกค้าอาจจะรู้สึกว่า นั่นไม่ใช่สิ่งที่เค้าต้องการ วันนี้เลยยังไม่เกิดอะไรแบบนี้ขึ้น แต่ในความจริงมันมีแนวมาแล้ว มีความเป็นไปได้อยู่

มันน่าจะมีจุดที่เป็น Mass Product ได้ ถ้าเราหาจุดนั้นเจอก็น่าจะโอเคนะครับ

ต่อไปขอถามถึงเรื่องโครงการบ้างดีกว่า หลังๆหลายโครงการพยามยามขายแบบ Fully Furnished มากขึ้น ทาง SB มีแนวทางอย่างไรบ้างครับ แล้วยอดขายในส่วนของโครงการเป็นอย่างไรบ้าง

โครงการที่เราติดต่อด้วยกับ Developer หลายๆเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Asian Property, Sansiri, หรือ Property Perfect ไม่ว่าจะเป็นคอนโดหรือว่าเป็นบ้าน ขอเล่าว่างานที่ทำในลักษณะที่เป็น Fully Furnished ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคอนโดมากกว่า เพราะว่า Developer จะมีแนวคิดที่ว่าหิ้วกระเป๋าแล้วเข้ามาอยู่ได้เลย

อย่างทาง AP ก็บอกว่าถ้าเป็นคอนโดก็อยากให้มีเฟอร์นิเจอร์แถมไปเลย แต่ถ้าเป็นบ้าน อาจจะมีโปรโมชั่นให้ แล้วให้ลูกค้ามาเลือกเฟอร์นิเจอร์เอง ทางเราก็ไม่มีปัญหา เพราะ SB ตอบโจทย์ให้ได้ทุกอย่าง อย่างงานของ Asian Property ที่เคยทำให้ก็จะมีงาน The Address Asoke มีลักษณะเป็น Turn Key หมายความว่ามาตั้งแต่ยังไม่สร้างเลย ให้มาเป็นแบบในกระดาษ เค้าให้เรา Co-design เฟอร์นิเจอร์เข้าไป เป็นบิวท์หมดเลย มีทั้งชุดห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่นทั้งหมดเลย ซึ่ง SB ก็ทำให้ตั้งแต่ที่ลูกค้าบอกมาว่ามีงบเท่านี้ แล้วเราก็ทำงานดีไซน์ให้หมด จนกระทั่งส่งมอบและติดตั้ง ตอนนี้กำลังโอนแล้ว อันนี้คือเริ่มเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก็เรียกว่าเป็นงานประเภทหนึ่งที่เราตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่ม Developer

อีกงานเป็นแบบที่ลูกค้ามีดีไซน์ในใจแล้ว เราก็จะเป็น Furniture Solution ให้ ยกตัวอย่าง Sansiri dcondo มีในใจแล้วว่าอยากได้ตกแต่งประมาณนี้ แต่คอนโด Sansiri  ส่วนใหญ่ที่แถมเฟอร์นิเจอร์จะเป็นระดับกลาง ไม่ได้สูงมากนัก มีงบให้เท่านี้ เฟอร์นิเจอร์เป็นลอยตัวนั่นนี้ แล้ว SB ก็มีหน้าที่หาเฟอร์นิเจอร์มาใส่ให้ อันนี้ก็เป็นลักษณะ Furniture Solution ซึ่งจะต่างจาก Fore design อันแรกที่เค้าให้เราคิดให้เลยว่าจะใส่อะไรบ้าง ให้แปลนเปล่าๆมา สีอะไร ธีมประมาณไหน แล้วก็ให้เค้า Proof ทำห้องตัวอย่าง ทำ Prototype ออกมาให้เค้าดู แต่ถ้าเป็น Furniture Solution คือลูกค้ามีโจทย์ มีธีมมาแล้ว  Layout ประมาณนี้นะ ลงแบบนี้เลย อันนี้ก็จะเป็นสองลักษณะที่ทำงานด้วยกัน

แล้วคิดว่าเราคิดจะเน้นทำแนวทางไหนมากกว่าครับ ระหว่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวออกมาให้ลูกค้ามาเลือกกันไปเอง หรือว่าจะไปกับ developer ไปเลยตั้งแต่แรก

จริงๆแล้ว ตามปริมาณจะครึ่ง-ครึ่งเลย แบบ Fully Furnished หรืออีกครึ่งที่โครงการไม่ได้แถมเฟอร์นิเจอร์ให้ พี่ว่ามันอยู่ที่ คอนเซปต์ของแต่ละโครงการ บางโครงการอาจจะอยากให้ลูกค้ารู้สึกว่าง่าย สะดวก ซื้อแล้วโอนเข้าอยู่ได้เลย แต่อีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นเยอะก็คือ เป็นโครงการที่ส่วนใหญ่ราคาจะสูงขึ้นมา บางทีลูกค้าอยากที่จะเลือกเฟอร์นิเจอร์เอง มีสไตล์เป็นของตัวเอง บางคอนโดเค้าก็ จะแถมแต่ครัว เหมือนกับว่าให้ลูกค้าเลือกเฟอร์นิเจอร์เอง อันนี้ในส่วนของคอนโดอีกกลุ่มนึงเลยที่ไม่ได้แถมเฟอร์นิเจอร์อย่าง LPN ซึ่งถือว่าเค้าทำคอนโด ราคาห้องแข่งขันได้ดีที่สุดแล้ว ที่เหลือเป็น Add-on cost ให้ลูกค้าไปจัดการเอง เพราะฉะนั้นที่เราจับตัวเลขปริมาณครึ่ง ครึ่ง อีกครึ่งที่ไม่แถมเนี่ย เยอะนะ แล้วก็มาหาเฟอร์นิเจอร์ใส่กันเอง

SB ธัญญรักข์ ชวาลดิฐ 1

ก็เลยออกมาเป็น Condo Fit นี่เอง

ใช่เลยค่ะ อันนี้สำหรับผู้บริโภคให้ได้มาเลือกซื้อ

ต่อไปจะขอถามในเรื่องของ Store บ้าง เห็นว่าสาขา CDC จะขยาย เป็นยังไงบ้างครับ

ถ้าปีนี้จะมีที่สาขา CDC ที่เดียวที่จะขยาย เดี๋ยววันเปิดเดือนเจ็ด ขออนุญาติเชิญล่วงหน้าเลยนะค่ะ

ขอบคุณครับ

เดิมทีที่ CDC นี่จะมีตึกเดียว แต่พอเราทำคอนเซปต์ของ Variety of Design อย่างเช่นมีแบรนด์ Vintage Passion หรือแบรนด์ Cliche เริ่มคอนเซปต์แรกนี้ที่บางนา ซึ่งลูกค้าก็ตอบรับค่อนข้างดี แล้วก็ขยายมาที่นี่ ปรากฏว่าที่ไม่พอ เพราะว่าจะแบ่งเป็น Shop เล็กๆด้านใด ก็เลยต้องมีการขยาย คราวนี้เราก็จะขยายพื้นที่เป็นเท่าตัวเลย อันนึงที่จะใหญ่ขึ้นก็คือร้าน Concept ซึ่งจะใหญ่เป็น 2000 ตารางเมตร ใหญ่ขึ้นประมาณ 3 เท่าจากของเดิมที่มีอยู่ แล้วก็อาจจะมีเปิดตัวเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ใหม่ๆ เป็นอีกดีไซน์นึงเลยซึ่งยังไม่เคยเปิดตัวที่ไหนมาก่อน น่าสนใจมาก พี่เห็นแบบแล้วในยุโรปนิยมมากค่ะ ซึ่งคิดว่าน่าจะถูกใจลูกค้าหลายๆคน นอกจากนี้ก็ยังมีโซนอื่นๆอีกที่เราพยายามจะเพิ่มสีสัน คือจะบอกว่าลูกค้าโซนเอกมัย รามอินทรามีกำลังซื้อดีเลย เราก็เลยอยากจะเป็นเหมือน Hub ของศูนย์เฟอร์นิเจอร์แถบนี้

SB ธัญญรักข์ ชวาลดิฐ 5

แล้วพี่หนูเล็กเคยคิดว่าจะเปลี่ยน Philosophy ของ Store ไหมครับ อย่างเช่น Index ไปทำ Shopping Mall ในบางส่วน หรือว่าเอาไลฟ์สไตล์ที่เป็นอย่างอื่นเช่น Supermarket ร้านอาหาร ของกินเข้ามา เคยคิดมั้ยครับ

ต้องบอกว่าเคยคิดนะค่ะ เพราะว่าเราก็เห็นว่าคู่แข่งเราทำอะไร แต่พอมาพิจารณาแล้วว่าใช่ตัวเรารึเปล่า จริงๆแล้วจะสังเกตว่าบริษัทของ SB โฟกัสมากในเรืองของการทำเฟอร์นิเจอร์ คือเราคิดว่าเราทำตรงนี้ได้ดี และน่าจะทำได้ดีกว่าคนอื่น ในขณะที่บางอย่างที่เราเห็นคนอื่นมี แล้วเราต้องไปทำเพื่อให้มีเนี่ย เราอาจจะไม่ได้ทำได้ดีก็ได้ ฉะนั้นตรงนี้ก็อาจจะเป็นจุดนึงที่ถ้าได้ทำแล้วไม่ดี คุณจะทำไหม คุณมีความแตกต่างมั้ย อย่างศูนย์การค้าเนี่ย ถ้าถามว่าวันหนึ่ง SB ทำศูนย์การค้า ลุกค้าจะมาศูนย์การค้าเรามั้ย อาจจะไม่มาก็ได้เนอะ เพราะฉะนั้น เราคิดว่า win-win อย่างมี Partner เช่น …. เราเป็น Partner กัน เค้าก็เป็นผู้เชี่ยญชาญในเรื่องของศูนย์การค้า เราก็เข้าไปอยู่ในส่วนของเค้า อย่างปีหน้าก็จะมีเปิดศูนย์แถวราชพฤกษ์ด้วย 

ถ้าให้เราเข้าไปพัฒนาศูนย์การค้าเอง อาจจะไม่ใช่ธุรกิจที่เราชำนาญ เราเลือกว่าแบบนี้เราชวน Partner ที่เราสนิท เค้าก็พัฒนาศูนย์การค้า เราก็พัฒนาศูนย์เฟอร์นิเจอร์ไปดีกว่า แต่ก็อยู่ด้วยกัน วิธีนี้ลูกค้าน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะฉะนั้นแนวทางของ SB ที่ผ่านมาเป็นยังไงก็จะเป็นแบบเดิมนีีแหละ

สุดท้ายนะครับ อย่างปีหน้าเนี่ยจะมีห้าง Super Luxury เกิดขึ้นในประเทศไทยอีก 2-3 แห่ง เช่น Central Embassy หรือ Emquartier พวกที่แพงๆไปเลย SB มองตลาดนี้ไว้มั้ยครับ จะเข้ามั้ย หรือยังไงครับ

จริงๆตลาดนี้ดูดีนะคะ แต่ว่าจะเป็น Niche Market มากๆ ในกลุ่มของลูกค้าที่รวยมากๆ ซึ่งเรารู้สึกว่าตลาดมันเล็ก ขณะเดียวกันความคาดหวังของลูกค้าอาจจะสูง เช่น พวกแบรนด์นำเข้า พวก CK Brand แพงๆ ถ้าถาม SB เราอาจจะขออยู่ที่ตลาดกลางนี้ไว้ก่อนดีกว่า ไม่ต้องถึง A+ เอาแค่ B+ หรือ A- ก็พอค่ะ ซึ่งเราถือว่าเราชำนาญมากกว่า

ครับวันนี้ทาง Think of Living ต้องขอขอบคุณ คุณหนูเล็กมากนะครับ หากมีโอกาสหน้า เปิด SB สาขาใหม่หรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางเราก็จะขอไปสัมภาษณ์คุณหนูเล็กอีกนะครับ

ค่ะ ยินดี สวัสดีค่ะ

และนี่คือบทสัมภาษณ์ของ คุณธัญญรักข์ ชวาลดิฐ Marketing Director จาก SB Furniture ครับ