20140110134619

รถไฟความเร็วสูง เชียงใหม่-พิษณุโลก จัดเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ต้องการให้เป็นโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางสำหรับประชาชนด้วยความเร็วราว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยรัฐบาลอยู่ระหว่างการร่วมมือกับญี่ปุ่นในการเร่งผลักดันเส้นทางรถไฟดังกล่าวนี้

สำหรับไฮสปีดเทรนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่มีระยะทางประมาณ 296 กิโลเมตร แนวเส้นทางต่อจากช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก จำนวน 5 สถานี คือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และสถานีเชียงใหม่ รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งมีหลายรูปแบบดังนี้คือ แนวเส้นทางระดับพื้นดิน(At Grade) 59 กิโลเมตร แนวยกระดับ(Viaduct) 110 กิโลเมตร รูปแบบทางลอดใต้สะพานรถไฟ(Short span Bridge) 102 กิโลเมตร และรูปแบบอุโมงค์ (Tunnel) 25 กิโลเมตร โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีหน่วยซ่อมบำรุง 3 แห่งที่อำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และที่อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

DSCF7216

ทั้งนี้ตามผลการศึกษาของสนข.พบว่ามีมูลค่าการลงทุนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ประมาณ 2.2 แสน ล้านบาท จำแนกออกเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 2.14 แสนล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ 6,500 ล้านบาท โครงการมีความคุ้มค่าช่วยพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) 32,693 ล้านบาท มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน(B/C Ratio) 1.21% มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR) 13.82%
โดยจากการประมาณการณ์ผู้โดยสาร กทม.-พิษณุโลก ในปีแรกจะมีผู้ใช้บริการรวมประมาณ 26,500 คน ประกอบด้วย

สถานี จำนวนผู้โดยสาร (คน)
บางซื่อ 9,700
ดอนเมือง 2,400
พระนครศรีอยุธยา 2,100
ลพบุรี 1,600
นครสวรรค์ 3,200
พิจิตร 2,000
พิษณุโลก 5,500

หากครบเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ จะมีผู้ใช้บริการรวม 44,500 คน

สถานี จำนวนผู้โดยสาร (คน)
บางซื่อ 16,700
ดอนเมือง 4,200
พระนครศรีอยุธยา 3,400
ลพบุรี 1,600
นครสวรรค์ 3,800
พิจิตร 2,500
พิษณุโลก 4,400
สุโขทัย 2,100
ศรีสัชนาลัย 1,600
ลำปาง 2,800
ลำพูน 1,400

สำหรับในปีที่ 10 เพิ่มขึ้นเป็น 66,100 คน ปีที่ 20 เพิ่มเป็น 80,200 คน และปีที่ 30 เพิ่มเป็น 96,600 คน ทั้งนี้ได้คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในเส้นทางช่วงกรุงเทพ-เชียงใหม่นี้ว่าผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้น 2.5% ต่อปี นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 3.4% ต่อปี

Chiangmai0060

ส่วนผลประโยชน์ทางตรงนั้นจะช่วยประหยัดพลังงานในการเดินทาง ช่วยลดมลพิษ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง ช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ผลประโยชน์ทางอ้อมจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ธุรกิจการค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การสร้างงานสร้างอาชีพ และยังช่วยชี้นำการพัฒนาเมืองและอสังหาริมทรัพย์

โดยที่ผ่านมาได้จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครบถ้วนทั้งหมดแล้ว ขณะนี้เหลือเพียงความเห็นชอบผลการศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)เท่านั้นก็จะเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินโครงการต่อไปภายใต้ความร่วมมือพัฒนาโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นนั่นเอง

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,193 วันที่ 18 – 21 กันยายน พ.ศ. 2559

Banner_Awards_2016 copy