ผู้ค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
แบรนด์ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ขยายตัวสู่ต่างประเทศ
ในปี 2559 ผู้ค้าปลีกที่ประสบความสำเร็จในประเทศของตนเอง แสดงความสนใจที่จะขยายสู่ต่างประเทศ คิดเป็น 40% ของผู้ค้าปลีกใหม่ในช่วงปีดังกล่าว โดยประเทศอันดับต้นๆ คือญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย การขยายตัวได้รับแรงผลักดันส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของยอดขายและความคึกคักของตลาดในประเทศ รวมถึงความต้องการแบรนด์ใหม่ๆ จากเจ้าของศูนย์การค้าในภูมิภาค
มากกว่าครึ่งของผู้ค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่เข้าสู่ตลาดใหม่ในปี 2559 คือคาเฟ่และร้านอาหาร สะท้อนว่าความต้องการของผู้บริโภคต่ออาหารจากเอเชียนั้นมีอยู่มาก ด้านผู้ค้าปลีกออสเตรเลีย ส่วนใหญ่เป็นร้านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รองเท้า และเครื่องใช้ในบ้าน ที่ขยายเข้าสู่นิวซีแลนด์
ด้านการขยายเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของผู้ค้าปลีกสัญชาติจีน ส่วนใหญ่มาจากผู้ค้าปลีกด้านแฟชั่นจากในประเทศที่เปิดสาขาในต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ค้าปลีกชั้นนำในจีนนั้นยังคงถูกครอบครองโดยแบรนด์ต่างชาติ ผู้ค้าปลีกจากจีนยังใช้การขยายตัวสู่ต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการยกระดับฐานะของแบรนด์ในสายตาของผู้บริโภคชาวจีนอีกด้วย
ผู้ค้าปลีกนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้
ผู้ค้าปลีกนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ผู้ค้าปลีกรายหลายได้ผสมผสานประสบการณ์ในการซื้อสินค้าที่ร้าน เข้ากับสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลเหล่านี้คือสิ่งที่้ผู้ค้าปลีกต้องการ ควบคู่ไปกับยอดขายออนไลน์
ผู้ตอบแบบสอบถามของเราเกือบครึ่งหนึ่ง เผยว่าพวกเขาได้ใช้หรือตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าในร้านค้าของตนเอง การรวบรวมข้อมูลว่าลูกค้าคือใคร สินค้าที่ลูกค้าซื้อหรือทดลองคืออะไร และลูกค้าใช้เวลาในร้านค้าอย่างไร คือข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีที่ใหม่ๆ อย่างเทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented Reality) และบีคอนส์ (Beacons) นั้นถือว่ายังอยู่ในช่วงแรกของการนำมาใช้จริง
มุ่งความสนใจไปยังตลาดที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังตลาดอื่นๆ
ผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่คาดว่า ตลาดค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกจะยังคงมีความท้าทายในปี 2560 ซึ่งหมายความว่าผู้ค้าปลีกจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและลงทุนในตลาดที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างยอดขายได้ ตลาดที่เติบโตแล้วจะยังคงเป็นจุดมุ่งหมายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการขยายสาขา ฮ่องกง คือตลาดที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีจำนวนผู้ค้าปลีกมากขึ้นที่ต้องการขยายสาขาไปยังประเทศนี้ ที่ค่าเช่าลดลงมาอยู่ในระดับที่สามารถจ่ายได้มากขึ้น ตลาดใหญ่ๆ อย่างจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และออสเตรเลียยังติด 5 อันดับแรกเช่นเดียวกับการสำรวจในปีที่แล้ว
การที่ผู้ค้าปลีกมีความระมัดระวังในการขยายสาขา ส่งผลต่อจำนวนทำเลและขนาดในการขยายสาขา โดยเฉลี่ยผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่ามีแผนจะขยายสาขาไปยัง 4 ประเทศ ลดลงจาก 5 ประเทศในปี 2559