นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะทำงานกำกับติดตามการพัฒนาที่ดินไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่แต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการนโยบายรัฐ วิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซูเปอร์บอร์ด ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานทำโรดแมปและแผนปฏิบัติการ รวม ถึงกำหนดตัวชี้วัดในการพัฒนา ที่ดินของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมดคณะทำงานได้มีการประชุมครั้งแรก โดยให้ ร.ฟ.ท. รายงานข้อมูลที่ดินที่ไม่ได้ใช้การเดินรถทั้ง หมด 3.6 หมื่นไร่ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- ที่ดินที่มีศักยภาพต่ำ ส่วนใหญ่เป็นการให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย ทำการเกษตร มีสัญญาทั้งหมด 9 พันสัญญา เนื้อที่ 2.1 หมื่นไร่ ร.ฟ.ท. มีรายได้จากค่าเช่าปีละ 63 ล้านบาท
- ที่ดินที่มีศักยภาพปานกลาง เช่น ที่ดินให้เช่าที่ตลาดนัดจตุจักร เป็นต้น มีอยู่ 5.5 พันสัญญา เนื้อที่ 7.2 พันไร่ ร.ฟ.ท. มีรายได้ปีละ 2 พันล้านบาท ในกลุ่มที่ 3 ที่ดินมีศักยภาพสูง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ที่ดิน 5 แปลงใหญ่ อาทิ ที่ดินบริเวณตึกแดงติดกับบริษัท เอสซีจี, ที่ดินสถานีรถไฟบางซื่อ, ที่ดินสถานีแม่น้ำ,ที่ดิน กม. 11 และที่ดินสถานีมักกะสัน เนื้อที่ 1.5 พันไร่ สำหรับกลุ่มที่ 2 เป็นที่ดินบริเวณ 25 สถานีทั่วประเทศที่มีศักยภาพเนื้อที่ 4.7 พันไร่
- ที่ดินบริเวณจตุจักร สวนรถไฟ เนื้อที่ 900 ไร่ และกลุ่มที่ 4 พื้นที่ว่างเปล่าของ 43 สถานีทั่วประเทศ เนื้อที่ 300 ไร่
นอกจากนี้ ยังให้ ร.ฟ.ท. ไปหาข้อมูลราคาประเมินและราคาที่ดินแต่ละแปลง เพื่อนำมาวางแผนการพัฒนาที่ดินให้มีรายได้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น
นายอำนวยกล่าวว่า คณะ ทำงานจะเสนอแผนการพัฒนาที่ ร.ฟ.ท. ทั้งหมด ให้ คนร. เห็นชอบในการประชุมที่จะมีขึ้นวัน ที่ 12 ต.ค.2559 โดยคณะทำ งานจะมีการประชุมสรุปแผนกันอีกครั้งวันที่ 29 ก.ย.2559
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงช่วงบาง ซื่อ-รังสิตซึ่งการรถไฟได้รับงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างจากการกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้าโดยก่อสร้างสัญญาที่ 1 สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงซึ่งคืบหน้าแล้ว 47% และสัญญาที่ 2 งานโยธาช่วงบางซื่อ-รังสิตคืบหน้าแล้ว 67% และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกลต่างๆ ซึ่งมีความคืบหน้าแล้ว 0.83%
“การดำเนินการยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้และจะสามารถเปิดใช้งานได้จริงในปี 2563 ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนใช้บริการในช่วงแรกประมาณ 100,000 คน ต่อวันอย่างแน่นอน” นายวุฒิชาติกล่าว
สำหรับความคืบหน้า การ ก่อสร้างที่สถานีกลางบางซื่อบริเวณ นั้นภาพรวมขณะนี้มีความคืบหน้าของโครงการประมาณ 38% โดยที่ผ่านมามีความล่าช้าเนื่อง จากติดการรื้อย้ายท่อส่งน้ำมันโดยสถานีนี้มีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นชั้นใต้ดิน พื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้น ไปยังชั้นจำหน่ายตั๋วและมีทางเชื่อม ต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำ เงิน ที่สถานีบางซื่อ ส่วนชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถง พักคอยและรับผู้โดยสารรวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์