อยู่สบายในแนวราบตอน – ต่อเติมบ้านอย่างไรให้เพิ่มมูลค่า ตอนที่ 2 (ย้อนไปอ่านตอนเก่าๆได้ที่นี่นะคะ)
สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านที่น่ารัก คุณนายกลับมาพร้อมคำสัญญาจากตอนที่แล้วนะคะ ที่ว่าจะเอาตัวอย่างการต่อเติมบ้านแบบเก๋ไก๋ มาให้คุณผู้อ่านดูกัน J ทั้งสองตัวอย่างและภาพทั้งหมดเอามาจาก www.dezeen.com นะคะ
ตัวอย่างแรก คุณนายชอบมาก ช่างอาร์ตเสียนี่กระไร เป็นผลงานของสถาปนิกฝรั่งเศส ต่อเติมบ้านในปารีส ซึ่งเป็นบ้านเก่าตั้งแต่ราวปี คศ 1920 (ตัวบ้านเก่าคือทางซ้ายมือนะคะ)
โดยต่อเติมส่วนที่เป็น ห้องซ้อมดนตรีชั้นบน และโรงจอดรถชั้นล่าง ลงไปตรงซอกระหว่างบ้านที่มีอยู่เดิม จนชนรั้วที่ใช้ร่วมกับเพื่อนบ้าน
นี่ด้านหน้าบ้านค่ะ
อันนี้ตอนกลางวันเวลาปิดประตูโรงรถ เป็นอย่างงี้ค่ะ
นอกจากการต่อเติมแล้ว สถาปนิกได้ทำการปรับปรุงภายในของบ้านเก่าซะใหม่ ด้วยการเปิดฝ้าออกเพื่อโชว์ส่วนโครงสร้างของหลังคาที่เป็นไม้เก่า และเพิ่มการเจาะช่องแสงจากบนหลังคาค่ะ
ส่วนของบ้านเก่า ที่ทำการปรับปรุงใหม่
ภายในห้องซ้อมดนตรี ส่วนต่อเติมใหม่
สำหรับบ้านหลังต่อมานะคะ ซึ่งคุณนายก็ชอบอีกเช่นกัน เป็นการต่อเติมบ้านเก่าจาก ศตวรรษ ที่ 19 ที่อยู่แถวตอนเหนือของกรุงลอนดอน โดยส่วนต่อเติมนี่ยื่นออกมาที่สวน หน้าตาเป็นแบบนี้อะ สวยแปลกมะ ^ ^
ส่วนต่อเติมชิ้นบนที่เห็นยื่นออกมาจากผนังอิฐ อันนั้นเพื่อเป็นห้องนั่งเล่น ส่วนต่อเติมที่อยู่ชั้นล่างจะเป็นส่วนขยายของออฟฟิส
สถาปนิกบอกว่า ส่วนต่อเติมเนี้ย ตั้งใจที่จะออกแบบให้มีการดึงแสงธรรมชาติเข้ามา ต้องการให้โอบล้อมไปกับสวนหลังบ้าน และต้องการให้ได้วิวของต้นวอลนัทที่อยู่ใกล้ๆ นั้น
เห็นมั้ยคะ ขนาดแค่ส่วนต่อเติมยังต้องมีคอนเซป ต้องคิดกันขนาดนี้
แต่ละผนังของส่วนต่อเติมนั้น จะเป็นกระจกทั้งผืน หรือไม่ก็เป็นผนังทึบทั้งผืน โดยหลังคาและผนังจะเป็นวัสดุชนิดเดียวกัน ซึ่งการสร้างสถาปัตยกรรมแบบนี้จะทำให้รู้สึกเหมือนการพับกระดาษแบบโอริกามิ
มีการลดระดับของพื้นในส่วนต่อเติมชิ้นล่างลงมา เพื่อว่าจะไดไม่รู้สึกกลืนๆไปกับสภาพแวดล้อม จะสร้างเป็นคอร์ตเล็กๆ เพื่อให้ดูจมๆ กลืนไปกับสวน
ทีนี้ขอพาไปดูด้านในกันบ้าง
หูว์ แสงธรรมชาติกันเต็มๆ ตรงส่วนออฟฟิสที่ชั้นล่าง
ส่วนต่อเติมชั้นบนที่เป็นห้องนั่งเล่น ผนังทำหน้าที่ล้อมกรอบให้โฟกัสไปที่ต้นวอลนัต เหมือนกับเป็นรูปภาพ แถมยังมีการดึงแสงลงมาจากด้านบนอีกเช่นเคยค่ะ
เป็นยังไงคะ ตัวอย่างทั้งสอง จะเห็นว่าเขาให้ความสำคัญกับเรื่องการดึงแสงธรรมชาติเข้ามาในตัวอาคารมากๆ แต่ถ้าบ้านเราจะเอามาประยุกต์ก็ต้องพิจารณาเรื่องความร้อนด้วยนะคะ เราอาจจะใช้วิธีดึงแสงที่ไม่ต้องถึงขนาดเป็น Direct light จากท้องฟ้าขนาดนี้ค่ะ
XOXO
คุณนายสวนหลวง
ผู้บริหาร สวนหลวงบ้านและที่ดิน