ย้อนไปเมื่อ 5-10 ปีก่อน เวลาจะซื้อ ?️ บ้านซักหลัง หลายๆ คนคงเลือกจากทำเลที่เราถูกใจเป็นอันดับแรก แล้วค่อยไปสำรวจตามโครงการต่างๆ ที่รายล้อมอยู่แถวนั้น แต่…สิ่งที่เราเห็นนั่น เป็นเพียง “ส่วนหนึ่ง” ที่ถูกเลือกโดยผู้พัฒนาโครงการ เราไม่มีทางรู้เลยว่า บ้านหลังนี้อยู่ไปแล้วจะเป็นยังไง (อยู่แล้วรวยมั้ย? )  ? เดินทางสะดวกรึเปล่า ?️ การก่อสร้างมีคุณภาพแค่ไหน ถ้าวันหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นมาล่ะ เราควรจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ?

และนั่นคือคำถามที่อยู่ในใจของ “บีมเธียรรุจ ธรณวิกรัย”  และ “โอ๋สุเชฏฐ์ ฤทธีภมร” สองหนุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง www.thinkofliving.com เว็บไซต์ที่กลายเป็นสื่อกลางในการเลือกซื้อบ้านแห่งยุคนี้

พอดีมีโอกาสได้นั่งคุยกับสอง CEO หนุ่ม เลยขอใช้หน้าเว็บไซต์เป็นพื้นที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของ Think of Living รวมไปถึงภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสิ่งที่น่าจับตาในปีนี้กันซักหน่อย

จุดเริ่มต้นของ www.thinkofliving.com

โอ๋: ผมรู้จักบีมครั้งแรกในคอร์สอบรมด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างคนต่างไปหาความรู้เพิ่มเติมเลยมีโอกาสได้คุยกันและเห็นตรงกันว่า ปัญหาของคนซื้อบ้านในเวลานั้น คือ เราไม่มีความรู้มากพอที่จะตัดสินใจ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเวลาเราซื้อบ้านหลังหนึ่ง เราไม่ได้ซื้อด้วยเงินสด แต่เรากู้  20-30 ปีถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่แทบจะทำให้ลืมตาอ้าปากไม่ได้เลย

บีม: ซึ่งก่อนที่จะก่อตั้ง www.thinkofliving.com ข้อมูลในเชิงลึกของโครงการต่างๆ แทบจะไม่มีเลย ทำให้เราสองคนเริ่มคิดที่จะพัฒนาเว็บไซต์นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลาง ให้ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์รายโครงการ ช่วยให้คนไทยในการตัดสินใจเลือกบ้านที่เหมาะสมกับตัวเอง

นับตั้งแต่วันแรกที่ร่วมกันตั้ง www.thinkofliving.com ขึ้น ทั้งสองคนได้วางทิศทางของเว็บไว้แค่ไหน

โอ๋: ตอนแรกก็ไม่ได้คิดไปไกลมาก แค่ให้ไม่หลุดจาก DNA ที่วางไว้คือ  พยายามทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลมากพอในการเลือกซื้อบ้านที่เหมาะสมกับตัวเอง ในช่วงแรกๆ ประมาณปี 2011 เราวนอยู่กับการหารูปแบบที่เหมาะสมของเว็บไซต์ และ Content ที่ถูกต้องและถูกใจผู้บริโภค ซึ่งมันยากตรงที่ไม่มีคนทำมาก่อน เราปรับกันเยอะมาก และปัจจุบันรูปแบบของเราก็กลายเป็นมาตรฐานของทุกบริษัท

บีม: ส่วนในช่วง 2-3 ปีต่อมา เป็นช่วงที่เราพยายามทำให้คนรู้ว่าสิ่งที่เราทำคืออะไร และผู้บริโภคร่วมถึงผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ซึ่งยากมาก กว่าที่หลายบริษัทจะเข้าใจ และยอมรับให้เรานำข้อมูลเชิงลึกทั้งแง่บวกลบของโครงการมาเปิดเผย โชคดีที่เราผ่านจุดนั้นมาแล้ว

โอ๋: แต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา เราเริ่มคิดอีกแบบหนึ่ง หลังจากรีวิวของเรามีแบบแผนที่ชัดเจน และกลายเป็นมาตรฐานในการเลือกซื้อและพัฒนาโครงการเราก็เริ่มมองไปข้างหน้า ออกจากกรอบของโลกออนไลน์ ด้วยการเริ่มต้นเขียนหนังสือ ว่าด้วยข้อมูลเบื้องต้นที่ควรรู้ในการเลือกซื้อบ้าน เรื่อยไปจนถึงเทคนิคในการมองหาทำเลน่าอยู่ โดยเล่มนี้เราไม่ขาย แต่จะแจกฟรีในงาน Event ทุกครั้งที่ Siam Paragon

บีม: Event ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและถือเป็นเวทีที่ทำให้เราและแฟนเพจได้รู้จักกันจริงๆใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านก็มาเจอเราที่นี่ได้เลย

กว่าจะเป็น 1 รีวิวของ Think of Living

รีวิวเจาะลึกฉบับแรกโดย Think of Living

โอ๋: รีวิวแรกๆ ของเรามีขนาดประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4 ตอนนี้น่าจะประมาณ 100 หน้า และไม่ใช่ว่าอยากเขียนอะไรได้ ทุกบทวิเคราะห์จะต้องสอดคล้องกับ DNA ของเรา คือช่วยให้ทุกคนเลือกซื้อบ้านที่เหมาะกับตัวเอง ดังนั้นตั้งแต่การเดินเข้าไปทำรีวิว การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การเขียน เราจะนึกถึงข้อนี้ตลอด และพอเขียนจบแล้ว เราต้องตอบได้ว่า บทความนั้นได้ช่วยตอบโจทย์ให้คนซื้อบ้านที่เหมาะกับตัวเองรึเปล่า ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

รีวิวโครงการผ่านมุมมองสถาปนิก

บีม: สิ่งที่ทำให้รีวิวของ www.thinkofliving.com แตกต่างจากที่อื่น คือเราเลือก “สถาปนิก” มาวิเคราะห์โครงการ ซึ่งความที่เรียนมาทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างบ้าน สถาปนิกจะมีมุมมองที่ต่างจากคนอื่นๆ เข้าใจว่าฟังก์ชั่นบ้านแต่ละส่วนถูกออกมาเพื่ออะไร และเหมาะสมกับใคร

3 รีวิวโดนใจที่แนะนำว่าต้องอ่าน!

รีวิวแรกแนะนำให้อ่านตามโครงการที่เราสนใจและอย่าลืมอ่านของโครงการใกล้ๆกันด้วยเพราะนั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราเห็นว่าโครงการนี้เหมาะกับเราแค่ไหนแล้วเวลาไปดูโครงการจริงๆเหมือนเราทำการบ้านไปก่อนสงสัยอะไรจะได้ถามเซลล์ไปเลย

รีวิวแนะนำฉบับที่ 2 แฟลตปลาทอง

จริงๆ แฟลตปลาทองคงไม่ใช่โครงการที่เราจะซื้อหรอก แต่มันมีหลายแง่มุม ที่ทำให้เรากลับมาคิดได้ว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ เรากำลังมองหาบ้านแบบไหน แล้วบ้านที่อยู่ไปนานๆ โดยที่ไม่มีคนดูแล สภาพจะเป็นอย่างไร

รีวิวแนะนำฉบับที่ 3 บทความชุดแฟลตดินแดง

บทความวิเคราะห์แฟลตดินแดง และการปฏิรูป การปรับเปลี่ยนใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งจริงๆ เป็นโครงการที่ทำได้ยาก แต่ถ้าทำได้ก็จะกลายเป็นบทเรียนให้กับโครงการอื่นๆ

แนวทางของ Think of Living ในปีนี้

บีม: ปัจจุบันรีวิวก็ยังถือเป็น Content หลักของ Think of Living โดยที่ผ่านมาเราพยายามทำให้ครอบคลุมทุกทำเล ทั้งกรุงเทพฯปริมณฑล และครบทุกกลุ่มสินค้า ซึ่งในปีนี้ เราวางแผนที่จะพัฒนาคุณภาพของรีวิวให้ดีขึ้น มีการใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่นนำ Drone มาใช้วิดีโอรีวิว เพื่อให้เนื้องานออกมาดีที่สุด

โอ๋: และปีนี้จะมีการจัด Event 3 ครั้ง

  • ครั้งที่ 1: ExtraOrdinary Living วันที่ 4-7 .. ณ สยามพารากอน
  • ครั้งที่ 2 Think of Living in Central Ladprao วันที่ 20-26 .. ณ เซ็นทรัล ลาดพร้าว
  • ครั้งที่ 3 Living Expo วันที่ 17-20 .. ณ สยามพารากอน

ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เราขยับออกไปจากใจกลางเมือง ไปสู่ลาดพร้าวที่กำลังจะกลายเป็น New CBD ของกรุงเทพฯ

Event ไม่ใช่แค่งานขาย แต่เป็นพื้นที่พบปะและปรึกษาปัญหาบ้านๆ

บีม: โดยทั่วไป Event ของอสังหาริมทรัพย์จะมีอยู่ 2 แบบ คือแต่ละบริษัทจัดกันเอง กับอาศัยตัวกลาง เช่น สมาคมอสังหาฯ แล้วดึงบริษัทต่างๆ มาขายโครงการ แต่ Think of Living ไม่ได้คิดแบบนั้น เราต้องการพื้นที่ที่ทำให้เรากับแฟนเพจได้เจอกันนอกเว็บไซต์   พร้อมปรึกษาปัญหาคาใจเรื่องบ้านๆ โดยทุกครั้งจะมีธีมพิเศษ ล้อไปกับสถานการณ์ในเวลานั้นและหนังสือที่เราเขียนขึ้นมา ซึ่งบริษัทอสังหาที่มาร่วมกับเรา จะสรรหาโครงการที่ใกล้เคียงกับธีมมากที่สุด

หนังสือ: พระเอกของงาน

โอ๋: ทุกๆ ครั้งในการจัด Event เราจะมีการแจกหนังสือ ซึ่งเรียกว่าเป็นหัวใจหลักของงานเลย โดยเราจะกำหนดธีมให้ล้อไปกับงาน อย่าง งานครั้งแรกหนังสือชื่อว่าทุบกระปุกซื้อบ้านเนื้อหาจะเริ่มตั้งแต่วางงบประมาณ เลือกทำเล เรื่อยไปจนถึงความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับวัสดุ  สอดคล้องกับก้าวแรกของ Think of Living ในการจัด Event และถ้าใครเก็บครบทุกเล่มก็น่าจะมีข้อมูลพอที่จะไปแนะนำคนอื่นได้ด้วยซ้ำ

บีม: ส่วนครั้งนี้..ความที่เขียนมาจนครบหมดแล้ว เราเลยขอเขียนอะไรที่แหวกแนวหน่อย หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่าอยู่นอกกรอบ โดยรวบรวมโครงการที่อยู่อาศัยแปลกๆ ทั่วโลก มาให้อ่านเป็นกรณีศึกษา ความตั้งใจของหนังสือเล่มนี้ คือปรารถนาให้ผู้อ่านที่กำลังจะหาที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดของชีวิตให้ได้แรงบันดาลใจ ในการช่วยสร้างสรรค์มุมต่างๆของที่อยู่อาศัยให้เข้ากับชีวิตของตนเอง

โอ๋: เราตั้งใจจะทำออกมาให้อ่านง่าย อ่านแล้วเข้าใจในบริบทของความแปลกและ การนอกกรอบ เพราะสุดท้าย “กรอบ” ที่เราเคยยึดติด มันอาจจะไม่มีอยู่จริง หรือมันอาจจะเป็นแค่กรอบของคนอื่น หาใช่กรอบของตัวเราแต่อย่างใด

แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ในยุคเปลี่ยนผ่าน

โอ๋: อสังหาริมทรัพย์ในอีก 5 ปีข้างหน้า ความสำคัญจะขึ้นอยู่กับการจัดระบบคมนาคมของบ้านเรา ถ้าเราสามารถเชื่อมต่อได้ครบทุกเส้น เป็นเครือข่ายใยแมงมุม  มีระบบรางเป็นตัวหลักที่วิ่งอยู่ในเมือง และระบบรางที่ลากคนจากในเมืองไปยังพื้นที่รอบนอก ทำให้คนไม่จำเป็นต้องกระจุกตัวอยู่ในเมือง แต่สามารถขยับออกไปอยู่ชานเมือง แล้วเดินทางโดยรถไฟฟ้าสถานีใกล้บ้าน ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของภูมิทัศน์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด

ปัจจุบันราคาคอนโดใกล้รถไฟฟ้าแพงมาก แทบจับไม่ได้ แต่ถ้าในอนาคตมีสถานีเพิ่มขึ้น เท่ากับเป็นขยายพื้นที่ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และดึงราคาโครงการใกล้รถไฟฟ้าให้ลดลงมา นอกจากนี้ยังเป็นการกระจายคนให้ออกไปอยู่ตามทำเลต่างๆ และสร้างชุมชนใหม่ให้เกิดขึ้น

Proptech กับการปรับตัวของผู้ประกอบการ

บีม: เป็นกระแสที่มาแรงมากในช่วงนี้ บรรดาบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายรายก็เริ่มปรับองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิตอล เริ่มดึงพันธมิตรด้าน StartUp มาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปได้ไกลขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องจับตากันและแน่นอนว่าถ้าทำได้สำเร็จธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็คงมีสีสันมากขึ้น ?

ลงทะเบียนรับหนังสือเล่มใหม่ ? “อยู่นอกกรอบ” คลิกที่นี่ แล้วมาเจอกันที่งาน ➡️️  Think of Living Condo Expo 2017 ⬅️  วันที่ 4-7 พ.ค. นี้  บริเวณชั้น 1 Siam Paragon นะคะ ?