ขออัพเดทกฏหมายลูกภาษีที่ดิน ที่เพิ่งประกาศใช้ไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมาค่ะ โดยเราเลือกจากประเด็นที่คนชอบถามเข้ามาเยอะที่สุด อาทิ บ้าน-คอนโดให้เช่า เสียภาษียังไง? และ ต้องปลูกต้นไม้เยอะแค่ไหน  ถึงจะนับเป็นเกษตรกรรม?

สำหรับคนที่มีบ้าน-คอนโดให้เช่า แต่ไม่แน่ใจอัตราการคิดภาษี ว่าอาจต้องเสียตามอัตราพาณิชยกรรมมั้ย? ตามกฏหมายลูกภาษีที่ดิน ล่าสุดที่ออกมาคือ เสียตามอัตราที่อยู่อาศัย เริ่มต้นที่ 0.02% (บ้านมูลค่า 1 ลบ. จ่าย 200 บาท) สูงสุดไม่เกิน 0.3% โดยมีรายละเอียดดังนี้

แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

  1. เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะให้บุคคลใช้เพื่อการอยู่อาศัย เช่น ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัย หรือให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย ให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย
  2. ให้ครอบคลุมถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อสร้าง หรือปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยด้วย เช่น บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง เป็นต้น
  3. ไม่รวมถึงโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา หรือสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้ขายตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

กฏหมายลูกภาษีที่ดินที่อยู่อาศัย กฏหมายลูกภาษีที่ดินที่อยู่อาศัย

มาต่อกัน “ที่ดินเกษตรกรรม” บ้าง ในเมื่ออัตราภาษีน้อยเหลือเกิน เริ่มต้นแค่ 0.01% สูงสุดไม่เกิน 0.15% ทำให้เราเริ่มเห็นว่ามีที่ดินใจกลางเมืองบางแปลง  เริ่มเอาต้นไม้มาลง อย่างกรณีของที่ดินแถวรัชดา ที่กลายเป็นแปลงมะนาวขนาดใหญ่ไปแล้ว

ว่าแต่ต้องปลูกต้นไม้ หรือเลี้ยงสัตว์ขนาดไหนล่ะ ถึงจะนับเป็นเกษตรกรรมได้ ลองมาดูรายละเอียดจากกฏหมายลูกตามเอกสารด้านล่างเลยค่ะ

กฏหมายลูกภาษีที่ดินเกษตรกรรม กฏหมายลูกภาษีที่ดินเกษตรกรรม กฏหมายลูกภาษีที่ดินเกษตรกรรม กฏหมายลูกภาษีที่ดินเกษตรกรรม

สำหรับใครที่อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจ่ายภาษีที่ดิน สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สุดท้าย 31 ต.ค. นี้