00-teasor-SCG-experience-µËÕ‡µ‘¡§√—«-ª—≠À“∫È“π∑√ÿ¥

หนึ่งในบรรดาปัญหาบ้านทรุดที่มักคาใจเจ้าของบ้านคือ หลังจากต่อเติมครัวแล้ว พอใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ครัวส่วนต่อเติมมักจะทรุดหลุดออกมาจากตัวบ้าน…

1. ทำไมจึงทรุด ?

kitchen-4-subsidence problems-20150714

บ้านปกติมักลงเสาเข็มยาวลึกถึงชั้นดินแข็งจึงได้รับแรงพยุง 2 ส่วนคือ “แรงเสียดทานจากดินอ่อน” และ “แรงดันจากชั้นดินแข็ง” ในขณะที่ครัวส่วนต่อเติมมักลงแค่เสาเข็มสั้น  จึงมีแรงพยุงเพียงส่วนเดียวคือแรงเสียดทานจากดินอ่อนเท่านั้น  และนี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้ครัวส่วนต่อเติมทรุดตัวเร็วกว่าบ้าน

2. ทรุด ร้าว รั่ว

kitchen-4-subsidence problems-20150714

การต่อเติมครัวหรือส่วนต่อเติมใดๆ นอกจากจะต้องแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านแล้วควรจบงานรอยต่อพื้นและผนังให้ถูกต้องด้วยข้อผิดพลาดที่พบบ่อยคือ ช่างมักก่อผนังหรือหล่อพื้นชนเชื่อมติดกับบ้านเดิม ต่อมาเมื่อพื้นดินทรุดตัวลงจากน้ำหนักกดทับของส่วนต่อเติม (อาจรวมถึงปัจจัยอื่น เช่น พื้นดินถมไว้ไม่นานพอ หรือเคยเป็นบ่อบึงมาก่อน เป็นต้น) ส่วนต่อเติมก็จะทรุดตามพื้นดินจนเกิดการฉีกขาดแตกร้าวบริเวณรอยต่อ ทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ง่าย วิธีที่ถูกต้องคือให้ใช้โฟมคั่นระหว่างรอยต่อดังกล่าว (ทั้งพื้นและผนัง) ก่อนจะยาแนวด้วย PU หรือ Silicone นอกจากนี้ เพื่อให้การทรุดตัวเป็นไปอย่างช้าๆ อาจเลือกใช้วัสดุกับเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักเบา รวมถึงกระจายน้ำหนักเฉลี่ยหลายด้านเพื่อหลีกเลี่ยงการทรุดตัวแบบเอียง

3. ทรุดแบบเอียงๆ !

kitchen-4-subsidence problems-20150714

หากนำโครงสร้างของครัวส่วนต่อเติมไปฝากไว้กับบ้านเดิม ฝั่งด้านนอกซึ่งลงเสาเข็มสั้นจะทรุดตัวก่อน ในขณะที่ฝั่งด้านในซึ่งยึดกับโครงสร้างบ้านเดิมแม้จะยังไม่ทรุดในช่วงแรก แต่ในภายหลังก็จะฉีกขาดออกมาในที่สุด กลายเป็นการทรุดตัวแบบเอียงซึ่งอันตรายในแง่โครงสร้าง และนับเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก

4. ทำอย่างไรไม่ให้ทรุด ?

kitchen-4-subsidence problems-20150714

บ้านทรุดหรือส่วนต่อเติมทรุดนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติ เพราะสิ่งก่อสร้างย่อมมีการทรุดตัวเป็นธรรมดา แต่การทรุดตัวจะเกิดขึ้นน้อยมากหรือแทบไม่ทรุดเลย หากลงเสาเข็มยาวถึงชั้นดินแข็ง สำหรับกรณีมีพื้นที่จำกัด อาจลงทุนเลือกใช้เสาเข็มแบบ Micro Pile เพื่อความสะดวกในการก่อสร้าง และความแข็งแรงมั่นคงของส่วนต่อเติม

Source of Information: