ถนน กรุงเทพฯ ทรุด

จากเหตุการณ์ ถนนพระราม 4 ทรุด ในวันที่ 18 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา กทม. ก็ได้ตรวจสอบความเสี่ยงในการยุบตัว โดยใช้เครื่องมือ Ground Penetrating Radar หรือเรดาห์ชนิดทะลุทะลวงผิวดินที่ไม่ทำลายพื้นถนนและสามารถตรวจจับได้ว่าตรงไหนมีความเสี่ยงในการยุบตัวหรือไม่ สรุปแล้วก็คือ พบจุดเสี่ยง 114 จุดใน 32 เขต ตามรายงานครับ

ที่มา: หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน

กทม.เผยผลสำรวจถนนเมืองกรุง พบ 114 จุด ใน 32 เขต มีความเสี่ยงในการยุบตัว เตรียมนำเครื่องGPR ตรวจสอบอีกครั้ง ส่วนอีก 17 เขตไม่มีปัญหา ขณะที่เหลืออีก 1 เขต ยังไม่ส่งรายงาน

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยผลการสำรวจถนน ตรอก ซอย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หลังจากได้มีการสั่งการให้ 50 สำนักงานเขตทำการสำรวจ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีประวัติการซ่อมบำรุงบ่อยครั้ง ซึ่งขณะนี้มีสำนักงานเขต 49 เขต ได้รายงานผลการสำรวจปรากฏว่า มี 17 เขต ที่ไม่พบว่า มีถนนหรือจุดที่มีความเสี่ยงในการยุบตัว ส่วนอีก 32 เขต พบมีผิวทางเท้า และผิวถนนที่มีความเสี่ยงในการยุบตัว รวมจำนวน 114 จุด ซึ่ง กทม.โดยสำนักการโยธาจะได้เร่งดำเนินการตรวจสอบทั้ง 114 จุด ซ้ำอีกครั้ง ด้วยเครื่องGround Penetrating Radar (GPR) ที่จะไม่ทำลายพื้นถนน และหากพบว่าจุดใดมีความเสี่ยงสูงจะได้เร่งดำเนินการแก้ไข เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของประชาชนต่อไป

สำหรับ 17 เขต ที่ไม่พบว่ามีถนนที่เสี่ยงต่อการยุบตัว ประกอบด้วย เขตคันนายาว

บางเขน วังทองหลาง สายไหม หนองจอกห้วยขวาง พระโขนง บางกอกน้อย หนองแขมทวีวัฒนา คลองสาน บางขุนเทียน ทุ่งครุ ธนบุรีจตุจักร ดอนเมือง และ หลักสี่

ส่วนของ 114 จุด ที่มีรายงานว่ามีความเสี่ยง อาทิ บริเวณ ถ.เสรีไทย เขตบึงกุ่ม ถ.ลาดปลาเค้า ถ.ลาดพร้าววังหิน ถ.โชคชัย 4 ถ.นาคนิวาส ถ.สุคนธสวัสดิ์ เขตลาดพร้าวถ.นิมิตรใหม่ เขตคลองสามวา, ถ.รามคำแหงเขตบางกะปิ ถ.ราชวงศ์ ถ.เจริญกรุง และถ.พระรามที่ 4 เขตสัมพันธวงศ์, ถ.พระรามที่ 1 บริเวณหน้าหอศิลป์ และหน้าสยามดิสคัฟเวอรี่ถ.วิทยุ บริเวณแยกเพลินจิต ถ.ราชดำริ บริเวณแยกสารสิน ถ.พระรามที่ 4 บริเวณแยกมหานครและบริเวณแยกสะพานเหลือง และถ.พญาไทบริเวณหน้ามาบุญครอง เขตปทุมวัน, บริเวณคอสะพาน ซ.อินทามระ 45 เขตดินแดง

ถ.สุขุมวิท ถนนพระรามที่ 4 ถ.อาจณรงค์ถนนพระรามที่ 3 ถนนสุนทรโกษา ถนนรัชดาภิเษก ซ.สุขุมวิท 26, 36, 40, 42 เขตคลองเตย, ถ.เจริญกรุง จากแยกเฉลิมพันธุ์ ถึงคลองกรวย ซ.เจริญกรุง 57 จากถ.เจริญกรุงถึงถ.เจริญราษฎร์, ถ.สาทรใต้ จากแยกวิทยุ ถึงเชิงสะพานสาทร ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ จากแยกนรินทร์ ถึงถ.จันทน์เก่า ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 17 จาก ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ ถึงถ.นางลิ้นจี่ และ ถ.สวนพลู จากถ.สาทรใต้ ถึงแยกวิทยุการเงิน เขตสาทร, บริเวณผิวจราจรและทางเท้าตามคลองต่างๆ และบริเวณใกล้ กับรางรถไฟตัดกับถนนพระราม 9 (มอเตอร์เวย์)เขตสวนหลวง, ถ.เพชรเกษม และถ.จรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกใหญ่, ถ.เพชรเกษมจากคลองราชมนตรี ถึงบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ เขตบางแค, ถนนอรุณอมรินทร์ฝั่งขาเข้า ปากทางแยกใกล้ปากซอยอรุณอมรินทร์ 51 เขตบางพลัด

ถ.ราชสีมา ช่วงแยกราชสีมา ตัดถนนศรีอยุธยาและช่วงหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ถ.สวรรคโลก บริเวณแยกยมราช ถนนพระรามที่ 5 บริเวณแยกสะพานแดง, บริเวณหน้าปั๊ม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริเวณใกล้ทางเข้าวังสวนจิตรลดา เขตดุสิต,ถ.พญาไท บริเวณสี่แยกพญาไท บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS ไปถึงบริเวณสี่แยกราชเทวีบริเวณหน้าอาคารวรรณสรณ์ บริเวณหน้าสำนักงานเขตราชเทวี บริเวณเชิงสะพานหัวช้างปากซอยวิบูลย์ศรี ถ.พระรามที่ 6 บริเวณสี่แยกตึกชัย บริเวณหน้ากรมทรัพยากรธรณี ถ.ราชวิถีบริเวณซอยราชวิถี 12 บริเวณหน้าวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก บริเวณประตูระบายน้ำพรหมโยธี แยกสามเหลี่ยมดินแดง ถ.ศรีอยุธยาบริเวณทางเท้าหน้าสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และถ.เพชรบุรีบริเวณปากซอยเพชรบุรี 3, ถ.พหลโยธิน ทั้งสองฝั่ง บริเวณคอสะพานข้ามคลองบางซื่อหน้าวัดไผ่ตันบริเวณ ขุดดันท่อประปาถนนพหลโยธินช่วงคลองสามเสน ถึงคลองบางซื่อ(ขณะนี้อยู่ระหว่างทำการก่อสร้างตามแผนที่จุดที่เป็นบ่อพักใหญ่)ถ.พระรามที่ 6 บริเวณสามแยกโรงกรองน้ำถ.กำแพงเพชร 5 บริเวณหลังโรงเรียน สามเสนวิทยาลัย ถ.เศรษฐศิริ บริเวณหน้าร้านสามเสนวิลลา และบริเวณสี่แยกสะพานควาย ซึ่งเคยมีการทรุดตัวเมื่อปี2551 และ ถ.สุขุมวิท 71 เขตวัฒนา