13782644791378264501l

(เครดิตภาพ: prachachart.net)

คสช.ปลดล็อกโครงการขนาดใหญ่ค้างพิจารณา EIA  โละบอร์ดผู้ชำนาญการ 9 ชุดรวด ทั้งเหมืองแร่ ปิโตรเลียม โรงไฟฟ้า สาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย และแหล่งน้ำ เร่งให้จบใน 45 วัน ดึง 3 สมาคมอสังหาฯ สถาปนิก ถกแนวทางให้โบนัสผังเมืองเพิ่ม 20% คมนาคมลุ้นเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ ท่าเรือปากบาราได้อานิสงส์

873837f8

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2557 ที่ผ่านมา  ถือเป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากปัญหาการเมืองคลี่คลาย เพื่อเร่งพิจารณา EIA (รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม) โครงการสำคัญที่ค้างพิจารณาอยู่จำนวน 24 เรื่อง ที่ประชุมมีมติอนุมัติ EIA ทั้งหมด 

 14041090401404109087l

(เครดิตภาพ: prachachart.net)

โดยเฉพาะโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมซึ่งเป็นแผนงานเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งแรกที่ประชุมได้อนุมัติมี EIA รถไฟทางคู่ 2 สาย ได้แก่ สายจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. และสายลพบุรี-ปากน้ำโพ 143 กิโลเมตร มอเตอร์เวย์สายพัทยา-มาบตาพุด ถนนเชื่อมมรดกโลกสายกบินทร์บุรี-ปักธงชัย โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ต.เกาะเปริด อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี จากนี้ไปกระทรวงคมนาคมสามารถขออนุมัติก่อสร้างได้ทันที

อีกทั้งอนุมัติโครงการเหมืองแร่ 3 แห่ง ได้แก่ เหมืองแร่โดโลไมต์ เหมืองแร่หินอุตสาหกรรม และเหมืองชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนของ บมจ.ปูน ซิเมนต์ไทย โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่บ้านฉาง จ.ระยอง ปรับปรุงท่าเรือสงขลาของกรมธนารักษ์ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนบางปะกง ชุดที่ 5 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุม อนุมัติให้ปรับปรุงคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.) จำนวน 9 ชุดใหม่ เนื่องจากครบวาระ โดยจะแต่งตั้งผู้ชำนาญการตามความเหมาะสมต่อไป เพราะที่ผ่านมาบางท่าน อาจให้ความคิดเห็นเกินเลยไปจาก ข้อเท็จจริงและกฎหมาย ทำให้การพิจารณาโครงการล่าช้าเกินกรอบเวลาที่กำหนด ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน ดังนั้น หากเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในส่วนนี้ชัดเจนการพิจารณาโครงการจะเร็วขึ้น

นายเกษมสันต์กล่าวว่า คณะกรรมการ คชก.ทั้ง 9 ชุดที่จะปรับเปลี่ยนใหม่ ได้แก่

  1. ชุดพิจารณาผู้มีสิทธิ์ขอรับใบอนุญาตทำอีไอเอ
  2. ชุดพิจารณาอีไอเอด้านเหมืองแร่และอุตสาหกรรมถลุงหรือแต่งแร่
  3. ด้านพัฒนาปิโตรเลียมและระบบขนส่งทางท่อ
  4. ด้านอุตสาหกรรม กลั่นน้ำมัน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมีและแยกหรือแปรงสภาพก๊าซธรรมชาติ
  5. ชุดด้านอุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภคที่สนับสนุน
  6. ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดินและบริการชุมชน
  7. ด้าน โรงไฟฟ้าพลังความร้อน
  8. ด้านโครงสร้าง พื้นฐานและอื่น ๆ และ
  9. ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ

re

และยังมีภารกิจเร่งด่วนคือหาแนวทางในการทำงานร่วมกับภาคเอกชนที่มีปัญหาเรื่องการขอ EIA  โดยจะเชิญตัวแทนผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั้งคอนโดฯ-แนวราบ บริษัทที่ปรึกษา สถาปนิก และเจ้าหน้าที่ สผ. ทั้ง 4 ปาร์ตี้ มาหารือ สะท้อนปัญหาการทำงานก่อนรวบรวมประเด็นเข้าพิจารณาในที่ประชุม คชก.เพื่อหาทางแก้ไข ประเด็นที่จะหารือ เช่น ระบบโบนัส ซึ่งเป็นมาตรการจูงใจให้ภาคเอกชนพัฒนาโครงการโดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียว ตามที่กำหนดไว้ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

เช่น หากเจ้าของโครงการจัดทำพื้นที่พักน้ำและออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน (Green Building) ตามมาตรฐานมูลนิธิอาคารเขียวที่ไทยรองรับ จะได้โบนัสในการพัฒนาเพิ่มขึ้น สามารถก่อสร้างพื้นที่อาคารเพิ่มไม่เกิน 20% เป็นต้น จากที่ผ่านมา ไม่เคยนำเกณฑ์นี้มาพิจารณา เนื่องจากผังเมือง กทม.เพิ่งประกาศใช้กลางปี 2556 ประกอบกับไม่เคยนำระบบ FAR (อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) และ OSR (อัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม) มาใช้ โดยจะหารือ คชก.ว่าจะกำหนดแนวทางพิจารณาอย่างไร ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการทั้งระบบ ไม่ว่าจะ เป็นอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้างโรงแรม โรงงาน ศูนย์การค้า

p8

ด้าน 3 สมาคมอสังหาฯนำโดย  นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า สมาคมกับตัวแทนสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เตรียมประเด็นหารือกับ สผ.หลายเรื่องหลัก ๆ คือ

  1. การ พิจารณารายงาน EIA โครงการที่อยู่อาศัยซึ่งเข้าข่ายได้รับโบนัสเพิ่ม ตามเกณฑ์ผังเมืองรวม กทม. เช่น ออกแบบอาคารตามมาตรฐานอาคารเขียว ซึ่งประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์สถาบันอาคารเขียวไทย, การจัดทำบ่อหน่วงน้ำพื้นที่กักเก็บน้ำฝน ฯลฯ จากปัจจุบันไม่มีหลักเกณฑ์คำนวณขนาดบ่อหน่วงน้ำที่ชัดเจน ทำให้โครงการที่ปฏิบัติตามเกณฑ์ยังไม่ได้รับโบนัสในการพัฒนาเพิ่ม
  2. ขอให้จัดทำคู่มือหลักปฏิบัติ (Code of Conduct) เรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน ลดการใช้ดุลพินิจ และ
  3. ให้คอนโดฯที่มีพื้นที่อาคารรวมไม่เกิน 1 หมื่น ตร.ม.ไม่ต้องจัดทำรายงาน EIA ให้พิจารณา แต่ให้ยึดคู่มือหลักปฏิบัติเป็นแนวทางลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในโครงการ

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า โครงการขนาดใหญ่ของคมนาคมยังไม่ผ่านการพิจารณาบอร์ดสิ่งแวดล้อมจำนวนมากเช่นเดียวกัน อาทิ รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร ที่เพิ่มขนาดพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง (ดีโป) ที่มีนบุรีใหม่ สายสีแดง (ตลิ่งชันศาลายา) ระยะทาง 14 กิโลเมตร สายสีแดง (ตลิ่งชัน-ศิริราช) 6 กิโลเมตร สายสีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) 10 กิโลเมตร รวมถึงรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ คชก. ได้แก่ สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร คาดว่า จะเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดสิ่งแวดล้อม ส.ค.นี้ นอกนั้นมี สายมาบกะเบา-จิระ, นครปฐมหัวหิน, สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ,โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา เป็นต้น

Pagbara4

ภาพจำลอง โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ