ช่วงวิกฤต Covid-19 แบบนี้รายรับคงน้อยลงกันหลายบ้านเลยใช่มั้ยคะ ในขณะที่รายจ่ายก็ยังคงมีอยู่ ภาครัฐจึงออกมาตรการช่วยเหลือในการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าและประปามาช่วยให้เรามีเงินไปใช้จ่าย ได้มากน้อยก็รับไว้ก่อนละกัน …สำหรับใครยังไม่ได้ยื่นขอคืนเงินประกันไฟฟ้า-ประปา และยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ก่อนอื่นขอบอกให้สบายใจก่อนว่า ไม่มีกำหนดปิดลงทะเบียน เราสามารถขอเงินคืนได้เรื่อยๆ นะคะ วิธีลงทะเบียนก็ไม่ยาก เรารวบมาสรุปให้เข้าใจง่ายๆ แล้วค่ะ
หลายคนสงสัย..ทำไมถึงมีการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าและประปา?
- เป็น 1 ในมาตรการช่วยเหลือของรัฐ ในภาวะวิกฤตจากการระบาดของโควิท-19 ที่เปิดให้ทุกบ้านมาขอค่าประกันคืนได้ สำหรับค่าประกันการใช้ไฟฟ้าจะมีมูลค่าเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าและจำนวนเฟสที่ใช้งานตามบ้านพักอาศัย ส่วนค่าประกันการใช้น้ำประปาจะขึ้นอยู่กับขนาดมาตรวัดน้ำค่ะ
ซึ่งตามปกติแล้วเราจะได้เงินประกันคืนก็ต่อเมื่อ เราไม่ต้องการใช้น้ำไฟแล้ว และได้ไปขอยกเลิกการใช้บริการ แต่ด้วยสถานกาณ์ช่วงโควิท-19 ทาง กฟน. (การไฟฟ้านครหลวง) / กฟภ. (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) /กปน. (การประปานครหลวง) และ กปภ. (การประปาส่วนภูมิภาค) จึงอนุมัติให้เราขอเงินประกันส่วนนี้คืนได้ โดยไม่ต้องไปยกเลิกการใช้น้ำไฟ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเรื่องเงินให้กับประชาชนทุกคน
สำหรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าเปิดให้เริ่มขอเงินคืนได้ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไปไม่มีหมดเขต และจะเริ่มได้รับเงินคืนตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 ส่วนเงินประกันการใช้ประปาเปิดให้เริ่มขอเงินคืนได้ตั้งแต่ 15 เมษายน 2563 และจะเริ่มได้รับเงินคืนตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563
เงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าและประปา คืออะไร
- เงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าและประปา คือ เงินที่เราจ่ายให้รัฐล่วงหน้าตอนที่มาขอใช้ไฟฟ้า เหตุผลที่รัฐขอเก็บค่าประกันเพราะว่า การเก็บค่าน้ำค่าไฟในแต่ละเดือน จะเป็นแบบใช้ไปก่อน จ่ายทีหลัง ถ้าเกิดเดือนไหนเราไม่จ่าย รัฐก็จะหักเอาจากค่าประกันนี่แหละค่ะ
วันนี้เรามี 5 เรื่องต้องรู้ ก่อนขอคืนเงินประกันการใช้น้ำและไฟฟ้ามาฝาก สำหรับการขอคืนประกันการใช้ไฟฟ้ามีรายละเอียดออกมาค่อนข้างครบแล้ว ส่วนประกันการใช้ประปาเรายังไม่ทราบรายเอียดเยอะนัก ก็จะรวมมาเล่าให้เยอะที่สุดแล้วกัน เริ่มจากส่วนของประกันการใช้ไฟฟ้ากันก่อน
หลังจากมีการเปิดให้ลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไปเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 25 มีนาคม 2563 เราสังเกตได้ว่าหลายๆ คน ยังคงมีคำถามในใจ ก็จะเห็นตามหน้า Facebook ทั้งของ กฟน. และ กฟภ. เลย เราลองอ่านดูแล้วเห็นว่าหลายๆ คำถาม สงสัยในจุดเดียวกัน เราขอสรุปแบ่งมาให้เป็นเรื่องๆ 5 ข้อ ให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายๆ กันเลย
1. ใครมีสิทธิขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
- ผู้มีสิทธิขอคืนเงินประกันไฟฟ้ามีอยู่ 2 กลุ่ม คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านพักอาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก ซึ่งสิทธิจะเป็นของผู้ที่มายื่นเรื่องขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า เรียกง่ายๆ ว่าผู้ที่เคยเสียเงินไว้นั่นเอง แต่ผู้อื่นก็มีสิทธิขอคืนแทนได้ ถ้าเจ้าของเงินประกันอนุญาต แบ่งเป็นกรณีหลักๆ 4 กรณี
- บุคคลธรรมดา
- คนที่มีสิทธิขอรับเงินคืนคือ ผู้ยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้าเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกรณีนี้กัน ขอคืนง่ายสุด ได้รับเงินคืนไวสุด เพราะไม่ต้องโอนสิทธิให้ผู้อื่น วิธีดูง่ายๆ ว่าใครเป็นผู้ขอใช้ไฟฟ้าก็คือดูชื่อจากใบแจ้งค่าไฟฟ้าได้เลย
- ในกรณีที่ผู้ยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้าเสียชีวิตไปแล้ว หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ เช่น ถ้าอากงเป็นคนยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้าไว้นานมากแล้วจนท่านเสียชีวิต ทายาทหรือผู้จัดการมรดกก็มีสิทธิขอคืนเงินแทนได้
- ผู้ที่เป็นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ใช่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า เช่นกรณีที่เราซื้อบ้านมือ 2 มา นั่นหมายความว่ากรรมสิทธิ์ของบ้านหลังนั้นเป็นของเรา แต่ผู้ยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้าเป็นเจ้าของบ้านคนเดิม กรณีนี้คนซื้อบ้านต่อจากผู้อื่นจะสามารถยื่นขอเงินประกันคืนได้ หากเจ้าของบ้านเดิมหรือเจ้าของโครงการจัดสรรให้สิทธิเจ้าของบ้านใหม่ และมอบอำนาจให้ค่ะ
- บ้านเช่า ก็เช่นเดียวกับบ้านมือ 2 คือหากเจ้าของบ้านที่เป็นผู้ยื่นขอใช้ไฟฟ้าอนุญาต ผู้เช่าบ้านสามารถทำเรื่องขอแทนได้
- ผู้ยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า เป็นผู้ขอรับเงินคืนเอง
- เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ใช่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า สามารถขอเงินคืนได้เช่นเดียวกับกรณีของบุคคลธรรมดา แต่ต้องให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าให้สิทธิแก่บริษัทที่ซื้อบ้านต่อ และมอบอำนาจให้ไปขอเงินประกันคืนแทนได้
- กรณีที่บริษัทไปขอเช่าบ้านเพื่อเปิดเป็นออฟฟิศ ก็สามารถขอเงินคืนแทนได้เช่นกัน แต่ต้องให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าให้สิทธิแก่บริษัทที่เช่าบ้าน และมอบอำนาจให้ไปขอเงินประกันคืนแทน
2. ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากใคร กฟน. หรือ กฟภ.
3. ขอผ่านช่องทางไหน?
เราใส่ Link ที่คลิกไปหน้าลงทะเบียนมาให้แล้ว ซึ่งเราลองแล้วสะดวกดี กรอกง่าย ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย แต่รองรับเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้ยื่นขอใช้ไฟฟ้าเป็นคนขอคืนเงินเองนะคะ ส่วนกลุ่มที่ต้องใช้เอกสารอื่นๆ เช่นกรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าเสียชีวิตไปแล้ว หรือเป็นเจ้าของบ้านแต่ชื่อในใบแจ้งค่าใช้ไฟฟ้าไม่ใช่ชื่อเรา หรือเป็นผู้เช่าบ้านจะยื่นแทน จะยื่นเอกสารผ่านทาง Online ยังไม่ได้นะคะ
สำหรับการลงทะเบียนของกลุ่มที่ต้องใช้เอกสารเพิ่ม ทางกฟน. จะเปิดที่ทำการไฟฟ้านครหลวง 18 เขต ให้ยื่นเรื่องได้ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ส่วน กฟภ. สามารถทำเรื่องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แต่ทางสำนักงานขอความร่วมมือ ว่าอย่าเพิ่งไปกันในช่วงสถานการ์ Covid-19 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ถ้าใครสะดวกช่องทางอื่นๆ ก็มีรองรับเช่นกัน เราลองกดดูแล้ว สุดท้ายก็จะ Link เข้ามาที่ Website ด้านบนนี่แหละ
สำหรับใครที่ไม่ได้มีอินเตอร์เน็ต สามารถโทรไปลงทะเบียนได้เช่นกัน เราลองโทรแล้วช่วงประมาณ 9 โมง ใช้เวลารอประมาณ 5 นาที ก็จะมีเจ้าหน้าที่สอบถามเลขประจำตัวประชาชนและตรวจสอบสิทธิพร้อมทั้งลงทะเบียนให้ เราว่าแค่เตรียมใบแจ้งค่าไฟไว้กับตัว / เลขประจำตัวประชาชน / เลขที่บัญชีที่จะให้โอนเงินเข้า ก็จะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนแล้ว
4. ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?
จะได้รับเงินคืนวันไหน ได้คืนเท่าไหร่
- ทาง กฟน. และ กฟภ. จะเริ่มคืนเงินให้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 ไล่ตามลำดับคิวที่ลงทะเบียนนะคะ ถ้าใครสงสัยว่าทำไมเงินยังไม่เข้า ก็เข้าไปตรวจสอบสถานะได้ที่ Link เดิมที่เคยลงทะเบียนไว้ ซึ่งแต่ละบ้านจะได้รับเงินไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับมิเตอร์ที่ใช้อยู่ มีอัตราเงินประกัน เรายกตัวอย่างมาให้ ตามนี้
จำนวนเงินประกันขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ขอไว้ ขนาดเล็กสุดจะเป็น 5(15) แอมป์ หมายความว่ามิเตอร์ตัวนี้มีขนาด 5 แอมป์ และใช้ไฟได้ไม่เกิน 15 แอมป์ ได้เงินคืน 300 บาท ซึ่งบ้านหรือคอนโดส่วนใหญ่ก็จะขอมิเตอร์กันที่ขนาด 15(45) แอมป์ ได้เงินคืน 2,000 บาท เป็นจำนวนไม่เยอะนัก สำหรับช่วงนี้ไม่ว่ารัฐจะช่วยเท่าไหร่ก็รับไว้ก่อนค่ะ ^^
ได้คืนผ่านช่องทางไหน?
ตอนที่เราลงทะเบียนออนไลน์ จะมีให้เลือกช่องทางการรับเงิน ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคลเลย ทั้งพร้อมเพย์ หรือจะโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ไม่ได้ผูกกับพร้อมเพย์ก็ได้ หรือกรณีที่รองรับผู้ที่ไม่ได้เปิดบัญชีธนาคารก็สามารถรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสใน 7-11 ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมนะคะ
หลังจากที่เราเลือกช่องทางการรับเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ก็ให้รอ SMS ที่จะมาแจ้งเราเรื่องผลการลงทะเบียน โดยเราจะได้รับรหัส 6 หลัก ให้เอารหัสนี้กับบัตรประชาชนไปแจ้งเรื่องรับเงินได้ที่ 7-11 เลยค่ะ
5. คำถามยอดฮิต..จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากขอคืนเงินประกันไฟฟ้า?
- ถ้าเราทำเรื่องขอคืนเงินประกันไฟฟ้าไปแล้ว กฟน. และ กฟภ. จะยังดูแลมิเตอร์ให้เราเหมือนเดิมมั้ย?
- เหมือนเดิมค่ะ เพราะ เงินที่เราขอคืนได้นั้นคือ เงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้้า ไม่เกี่ยวกับมิเตอร์ไฟฟ้านะคะ สำหรับมิเตอร์ กฟน. และ กฟภ. ยังดูแลให้เราอยู่
- ถ้ามิเตอร์ไฟฟ้ามีปัญหาหรือต้องเปลี่ยนใหม่ ทางกฟภ. จะพิจารณาจากสาเหตุของการชำรุด หากสาเหตุเกิดจากผู้อยู่อาศัย เช่น ใช้ไฟเกินขนาดมิเตอร์ ทำให้ขดลวดไหม้ กรณีนี้ท่านต้องจ่ายเอง แต่หากเป็นการชำรุดจากภัยธรรมชาติ กรณีนี้การไฟฟ้าเป็นผู้รับผิดชอบเปลี่ยนคืนให้ฟรี ซึ่งไม่ว่าจะขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าหรือไม่ กฎระเบียบก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว
- ยังเหมือนเดิมนะคะ คือ ทางการไฟฟ้านครหลวงก็จะยังมีการแจ้งเตือนก่อนจะตัดไฟ 28 วัน และหากยังไม่จ่ายก็จะโดนตัดไฟไปตามระเบียบค่ะ
- ไม่มีค่ะ กฟน. และ กฟภ. ยังดูแลไฟฟ้าให้เราตามปกติ เราแค่เสียสิทธิในการรับเงินไปเท่านั้น ซึ่งมาตรการนี้ไม่มีกำหนดปิดโครงการ เราสามารถขอคืนเมื่อเราสะดวกได้เรื่อยๆ นะคะ
ปิดท้ายด้วยการขอเงินประกันประปาคืนจาก กปน. และ กปภ. ซึ่งยังมีรายละเอียดออกมาไม่เยอะนัก เราจึงทำสรุปออกมาเป็นตารางข้างล่าง
เราคิดว่าสำหรับกรณีที่เป็นเจ้าของเงินประกันขอเงินคืนเอง คงขอคืนผ่าน Website ได้เหมือนกับกรณีของไฟฟ้านั่นแหละค่ะ แต่ในกรณีอื่นๆ คงต้องรอประกาศจากทาง กปน. และ กปภ. อีกที
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังจะขอคืนเงินประกันไฟฟ้าและประปา เพื่อให้เราได้มีเงินใช้กันได้อย่างไม่สะดุด และช่วยเยียวยาหลายๆ ครอบครัวได้ในช่วงวิกฤต Covid-19 สำหรับใครที่ยื่นเรื่องขอคืนเงินประกันแล้ว ติดขัดตรงไหน แก้ไขอย่างไร หรือมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม มาแชร์กันได้เลยค่ะ เผื่อเป็นประโยชน์ให้กับทุกบ้านที่กำลังขอเงินประกันคืนในช่วงนี้นะคะ
ข้อมูลจาก : การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การประปานครหลวง, การประปาส่วนภูมิภาค