DSCF1186 copy

สวัสดีค่ะ กำลังจะหมดปีพุทธศักราช 2557 กันแล้วนะคะ บทความเรื่อง เล่นกับไฟ ก็ยังไม่ทิ้งกันไปไหน เข้าสู่ปีใหม่พร้อมกันนะคะ คราวนี้ฝนจะพาไปเลือกดู LED ที่มีอยู่ในท้องตลาดและมาเปรียบเทียบกัน ว่าอย่างไหน ดี ควรซื้อกันบ้าง

เวลาเดินไปที่ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างหรือห้างสรรพสินค้า เคยมีงงกันบ้างหรือไม่ค่ะ ว่าต้องหยิบหลอดไฟไหนขึ้นมากันแน่ แน่นอนว่าวิธีการเลือกเบื้องต้นนั้นสามารถตามไปอ่านได้จากตอนก่อนนห้านี้นะคะ อ่ะ ลายแทง >> เล่นกับไฟตอนที่ 1 : เล่นกับไฟตอนที่ 2 : เล่นกับไฟตอนที่ 3 แต่ทีนี้ หลอดไฟก็มีทั้งยี่ห้อที่เรารู้จักคุ้นหน้าคุ้นตา หรือแม้กระทั่งยี่ห้อที่ไม่เคยเห็น ราคานั้นก็มีให้เลือกหลากหลายเช่นกัน เพื่อนๆเคยสงสัยไหมค่ะ หลอด LED ประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกัน ยี่ห้อต่างกัน ราคาต่างกัน แล้วเราจะเลือกอย่างไร ฝนเลยหยิบหลอดไฟ LED 2 ประเภทมา Unpack กันซักหน่อยเปิดเทียบให้ดูว่า มันต่างกันยังไงนะ

หมายเหต : สำหรับหลอดไฟที่ได้นำมาใช้ทดสอบนั้น ได้รับการสนับสนุนจากทาง Philips ค่ะ ส่วนหลอดไฟยี่ห้ออื่นๆฝนจัดการหามาเอง ในแง่การใช้งานแบบผู้บริโภคอย่างเราๆ ฝนไม่ได้เจาะลึกรายละเอียดในทางเทคนิคมาก เอาเป็นข้อสังเกต เพื่อผู้บริโภค ทุกท่านสามารถนำไปเลือกใช้ดูแบบไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เฉพาะทางค่ะ โดยจะเลือกนำหลอดที่เห็นได้บ่อย ใช้ในบ้าน คอนโด หาซื้อเปลี่ยนง่าย มาจับเทียบกันให้ดูนะคะ

เล่นกับไฟ ตอน334

ชิ้นที่ 1 : หลอด LED 4 w ประเภททดแทนหลอดไส้หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ สีของแสง Cool Daylight หรือ 6000-6500 เคลวิน ขั้ว E27 เป็นหลอดยอดนิยมค่ะ ทำหน้าตาเลียนแบบหลอดไส้ และขั้วหลอดที่สามารถทดแทนหลอดไส้ได้ทันที สำหรับ LED ประเภทนี้จะมี Adaptor อยู่ด้านในตัวหลอดแล้ว เพราะออกแบบมาให้ “ทดแทน” นี่แหละ

2

เริ่มที่กล่องของหลอดไฟกันก่อน จับพลิก ตีลังกาให้ดู จะเห็นว่าโดยรอบเป็นข้อมูลเฉพาะของตัวสินค้า บอกรายละเอียดที่ต้องรู้แบบครบ กระดาษกล่องหนา แข็งแรง

3

ส่วนกล่องสีเขียวๆอันนี้กระดาษค่อนข้างบางค่ะ และก้นกล่องไม่แน่นหนา มีโอกาสที่ระหว่างการซ้อนกันหลายๆกล่อง หรือแรงกระแทกจากการขนส่ง จะทำให้หลอดเสียหายหรือหลุดออกมาจากกล่องได้ ส่วนรายละเอียดโดยรอบกล่องนั้นมีให้ไม่มาก และค่อนข้าง Manual พอสมควร เพราะใช้ปากกามาจุดเพื่อบอกประเภทสินค้า อาจจะมีการคลาดเคลื่อนในเรื่องกล่องกับผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกัน

เล่นกับไฟ ตอน336

เปิดฝากล่องละนะ

เล่นกับไฟ ตอน326

บรรจุภัณฑ์ของหลอดไฟ แข็งแรงเพราะมีการยึดหลอดด้วยกระดาษแข็งด้านในลดการกระแทกเสียหายได้ โอกาสเอียงกระเท่เร่น้อย

เล่นกับไฟ ตอน337

ส่วนการยึดหลอดแบบนี้มีโอกาสที่หลอดจะเสียหายมากกว่า เนื่องจากวิธีการใช้ส่วนนึงของกล่องมายึดหลอด และกระดาษที่นำมาใช้ทำกล่องไม่หนาเท่าที่ควร

เล่นกับไฟ ตอน351

หยิบออกมาเทียบกัน จะเห็นว่าขนาดของ Philips จะเล็กกว่านิดนึงค่ะ ซึ่งไม่ค่อยแตกต่างเท่าไหร่ แต่จะมีผลต่อเมื่อขนาดของโคมไฟเล็ก ส่วนพลาสติกที่ใช้ครอบด้านนอกจะเห็นว่า Philips จะมีสีออกไปทางเหลืองนิดๆ

DSCF1165 copy

เปิดเทียบกันให้ดูนะคะ การเทียบค่าสีของแสงโดยปกตินั้นใช้ค่า CRI ที่เป็นค่ามาตรฐานแต่ปัจจุบัน LED นั้นเป็นข้อยกเว้นค่ะ หากอยากทราบว่าแสงของ LED ที่ใช้มีคุณภาพดีหรือไม่ ให้ดูจากสี Skintone ของคนเรานี่แหละว่า ส่องใส่เราแล้ว ดูป่วย ไหม จะเห็นว่าทางขวามือให้สีออกมาที่ขาวซีดกว่าด้านซ้ายที่ยังคงให้ผิวที่ดูมีเลือดฝาดกว่าเล็กน้อย จะบอกว่าสี Cool Daylight นี่ดูออกค่อนข้างยากหน่อยค่ะ แต่ว่าเป็นสีที่นิยมเอาไปใช้กันในโรงพยาบาล แล้วหากเลือกหลอดไฟที่ส่องออกมาแล้ว ดูชืด ป่วย ไม่มีชีวิวตชีวา จะมีผลในต่อความรู้สึกของผู้ป่วยเหมือนกันนะคะ

เล่นกับไฟ ตอน361

ชิ้นที่ 2 : จากนั้นลองมาเทียบกันในอีกอุณหภูมิสีของแสงที่นิยมใช้ในครัวเรือนกันอย่างมากคือสีของแสง Warm white หรือ 2700-3000 เคลวิน ขั้ว E27 โดยขนาดที่ฝนนำมาเทียบกันนั้น 5 w ซึ่งจริงๆแล้วในการกินไฟ 5 w สี warmwhite จะให้ความสว่างใกล้เคียงกับ 4 w สี Cool Daylight นะคะ เห็นหรือเปล่าว่า ขนาดของหลอดไฟทั้งสองค่อนข้างต่างกันค่ะ ซึ่งไม่มีผลต่อคุณภาพแสงเท่าไหร่เพียงแต่จะทำให้ใส่โคมไฟได้ขนาดไหนเท่านั้น

DSCF1168

ลองเปิดเทียบดูจะเห็นว่าทางซ้ายมือสีของแสงที่กระทบลงมือนั้นออกเหลือเขียว ซึ่งเพี้ยนกว่าความเป็นจริงเป็นอย่างมาก ส่วนด้านขวา ( Philips) จะให้แสงออกเหลือส้ม คล้ายสีของแสงจากหลอดไส้ค่ะ

เล่นกับไฟ ตอน382

ชิ้นที่ 3 : ไฟอีกประเภทที่เรามักจะเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่ใช้ตกแต่งและส่องเน้น มีองศาของแสงให้เลือกคือหลอดไฟ Halogen MR16 ขั้ว GU 5.3 หรือขั้วเสียบ

เล่นกับไฟ ตอน380

ใช้กับโคมไฟหน้าตาแบบนี้ค่ะ จะมีตัวโคมไฟ และ Adaptor แปลงไฟจาก 220 v เป็น 12 v (หน้าตาโคมอาจจะเหลี่ยมหรือกลมก็ได้นะ มีหลายหลาก)

เล่นกับไฟ ตอน398

 

เมื่อใส่หลอดไฟเข้าไปจะมีลักษณะหน้าตาแบบนี้

เล่นกับไฟ ตอน3102

บางรุ่นของโคมไฟมีหน้าปิดด้วยกระจก และสามารถกันละออกน้ำได้ ใช้บริเวณที่ชื้นเช่นห้องน้ำ ระเบียง ยืดอายุหลอดไฟ ( ดูที่ IP Rating ที่ระบุที่ตัวโคมจะบอกได้ว่าโคมอันนี้สามารถทนน้ำได้หรือไม่ )

เล่นกับไฟ ตอน383

LED ก็ทำหลอดลักษณะเดียวกัน เพื่อมาทดแทนเจ้า Halogen เช่นกันค่ะ เอาหล่ะ มาดูที่ตัวกล่องของผลิตภัณฑ์กันบ้างนะคะ ข้างกล่องจะเป็นหน้าตาของผลิตภัณฑ์ค่ะ

เล่นกับไฟ ตอน386

ด้านข้างกล่อง จะเห็นว่ากล่องของทาง Philips ให้รายละเอียดครบและกล่องแข็งกว่า

เล่นกับไฟ ตอน387

ด้านก้นกล่องค่ะ

เล่นกับไฟ ตอน388

บริเวณด้านบน

เล่นกับไฟ ตอน390

เมื่อนำมาวางเทียบกัน ทั้ง 3 แบบคือ Halogen , LED , LED ของ Philips จะเห็นว่าหน้าจาต่างกันเล็กน้อย

เล่นกับไฟ ตอน389

ขั้วหลอดมีลักษณะเดียวกันคือ GU5.3 ค่ะ จะเห็นว่าหลอด LED ของ Philips จะขนาดใกล้เคียงกับ Halogen

DSCF1206 copy

เมื่อเปิดแสงสว่างให้ดูเทียบกันจะเห็นว่าทางขวามือแสงที่ออกมาอมเขียว เหลือง ชัดเจนมาก ส่วนของทางขวาจะเห็นว่าสีออกไปโทนส้ม เหลือง ซึ่งใกล้เคียงกับสีของ Halogen มากกว่า

จะเห็นว่าเมื่อนำมาเปิดเทียบกันแล้วนั้น หลอดไฟ LED จะมีค่อนข้างหลากหลายราคาและหลากหลายในท้องตลาดบ้านเรา แต่การเลือกหลอดที่มีคุณภาพคุ้มค่าต่อการจ่ายเงินของเราไปนั้นอาจจะต้องดูรายละเอียดประกอบกันเพิ่มเติมไปด้วย เช่น ขนาดเมื่อใส่โคมไฟ ความคงทนของหลอดไฟ การกินไฟ สีของแสงที่ออกมา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ แน่นอนว่าวิธีบ้านๆที่ง่ายสุดคือเลือกเอาที่มียี่ห้อที่คุ้นหูค่ะ หาซื้อได้ง่าย มี มอก. รับประกัน จะได้ปลอดภัยเวลาใช้งาน

มีคำถามสามารถคอมเม้นไว้ได้นะ แล้วฝนจะมาตอบให้ พบกับฝนใหม่คราวหน้าค่ะ 🙂