DSCF1213 copy

สวัสดีค่ะ ในหัวข้อ “เล่นกับไฟ” พาท่านผู้อ่านถึงในตอนที่สาม เรื่องราวที่ฝนจะนำมาเล่าสู่กันฟังโดยในตอนนี้จะมาพูดถึง หลอดประหยัดไฟและหลอด LED เจ้าหลอดประหยัดไฟเนี่ย ก็คือพวกหลอดตะเกียบ หลอดผอม หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ นั่นแหละค่ะ ที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนทางรัฐฯรณรงค์ให้เราเลือกใช้แทนหลอดไส้ ปัจจุบันนั้น มีเทคโนโลยีที่มาแทนที่หลอดประหยัด ก็คือหลอดไฟ LED ก็จะพาไปดูเทียบกันในแง่มุมต่างๆ ว่าจะเลือกใช้ดีไหม และเจ้า LED มันเหมือนๆกันหมด ซื้อที่ไหนก็ได้ ใช่หรือเปล่าน้า….

chart copy

ทบทวนกันซักเล็กน้อย ใครจำได้ให้เอ้า ฝนให้ไปสิบกะโหลกก่อนเลย  ประเภทของหลอดไฟแบ่งออกได้เป็น หลอดมีไส้ , หลอดแบบปล่อยประจุ (หลอดประเภทนี้อาศัย Ballast) และ LED โดยวิธีการให้กำเนิดแสงนะ ส่วนใครที่ลืมไปแล้วยังไปอ่านทบทวนตอน 1 และ ตอน 2 ได้เลย

เล่นกับไฟ ตอน32

หลอดไฟที่เราใช้ในครัวเรือนนั้นก็มีอยู่ไม่กี่ประเภทหรอกค่ะ คือ พวกหลอดตะเกียบ หลอดผอม ส่วนใครที่อยากจะประหยัดไฟหน่อยก็จัดเป็น LED เสียเลย

2

อย่างหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ เวลาไปซื้อใหม่มาเปลี่ยนหลอดเดิมที่บ้านเราเนี่ย ดูอะไรกันบ้าง ง่ายๆเลย

  • กินไฟกี่ Watt > อยากได้กินไฟน้อย เท่า หรือมากกว่าเดิม ก็เลือกเอา
  • ขั้วหลอดแบบไหน > ถ้าขั้วหลอดกับโคมไฟตรงกันถึงจะใช้ด้วยกันได้นะคะ ส่วนมากแบบครัวเรือนฝ้าเพดานไม่เกิน 3 เมตร โคมไฟดาวน์ไลท์ที่ใช้มักจะเป็นขั้ว E27
  • สีของแสงอะไร > อยากให้บรรยากาศห้องเราโทนอบอุ่นหรือสว่างเย็นตาก็เลือกเอาให้ถูกใจ
  • อายุการใช้งานยาวนานแค่ไหน > แน่นอนว่า อายุการใช้งานจะสูงกว่าหลอดทั่วไปในการกินไฟเท่ากัน บอกให้เข้าใจกันซักหน่อย ว่าหลอดไฟทั่วไปนั้น อายุการใช้งานจะมากจากการที่นำหลอดไปทดสอบและจำนวนหลอดครึ่งหนึ่งนั้นขาด จะนำมาเป็นอายุการใช้งานของหลอดไฟ

ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้ มักจะอยู่บนกล่องของหลอดไฟอยู่แล้วค่ะ

3

ส่วนสิ่งที่หลายๆคนอยากรู้กันว่า หลอดนี้ สว่างเท่ากับหลอดนี้ไหมนะ จะดูยังไง นี่เลยค่ะ เราต้องหาตัวอักษรนี้ให้เจอบนกล่องหรือบนตัวผลิตภัณฑ์ นั่นคือ lm หรือ lumen (ลูเมน) เพราะเป็นหน่วยของปริมาณแสง ยิ่งมาก..แปลว่าก็ยิ่งสว่างค่ะ และอีกตัวที่เห็นจะลืมไม่ได้ สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบกันในหลอดหลายๆประเภท ก็คือ ประสิทธิภาพของการส่องสว่าง มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อวัตต์ มันหมายถึงว่า ทุกๆกำลังไฟ 1 วัตต์ที่เราจ่ายไปให้หลอดไฟ จะให้ปริมาณแสงเท่าไหร่ ตัวเลขน้อยๆ ก็ยิ่งไม่ดี

images

แล้ว LED คืออะไรหนอ ทำไมตอนนี้ใครๆก็อยากให้เราใช้ LED กัน มันถูกย่อมาจากคำว่า Light Emitting Diode หรือ ไดโอดเปล่งแสง ซึ่งไม่ใช่สิ่งใหม่ในชีวิตประจำวันเราเลยนะ ไหนๆก็จะต้องเริ่มใช้งาน LED กันแล้ว แว๊บมาอ่านให้รู้จักกันเสียหน่อยว่า มีประวัติกันยังไง

4

พูดถึง ผู้ให้กำเนิดหลอดไส้ หรือพ่อของหลอดไฟ ก็ต้อง โทมัส อัลวา เอดิสัน ใช่ไหมค่ะ แต่ LED เนี่ยก็มีคุณพ่อเหมือนกัน ถูกคิดค้นโดย นิก โฮลอนแยก ค่ะ ปัจจุบันเป็น consulting scientist ที่ GE

236788-live-and-let-die-1973-487x387

LED เนี่ยมันอยู่กับเรามาซักระยะแล้ว เอาเป็นว่าถ้าใครทันหนังเจมส์ บอนด์ สมัย Roger Moore เล่น ตอน  Live and Let Die (1970s) จะเห็นนาฬิกาที่มี LED แสดงสถานะอยู่ ณ ตอนนั้นมันคง ว้าว มากๆเลย เพราะสิ่งประดิษฐ์ของสายลับ 007 แต่ละอย่างล้ำเหลือ

pulsar-led

พอต่อมา เอ้า สิ่งเหล่านี้มันเริ่มจะเป็นจริงและซึมมาอยู่ในชีวิตเราเรื่อยๆ เช่น เครื่องคิดเลข หรือ เวลาเรากดรีโมททีวี แล้วมีแสงสีแดงๆที่เป็นจุดบอกสัญญาณที่ทีวี ตรงนั้นก็คือ LED ที่ซ่อนอยู่เพื่อบอกสถานะของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งสวิตช์ไฟบางรุ่นก็มีซ่อน LED เอาไว้เพื่อตอนมืดๆเราจะได้มองเห็นว่าสวิตช์อยู่ไหน ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เลยใช่ไหมล่ะ

5

เพียงแต่ มันเพิ่งจะพัฒนาขึ้นมาให้มีการส่องที่สว่างขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น เหมาะสำหรับการใช้เป็นอุปกรณ์ส่องสว่าง มากกว่าเป็นอุปกรณ์บอกสถานะเหมือนแต่ก่อนซะแล้วหล่ะ จากเม็ด ไดโอด เล็กๆที่มีแค่สีแดง เหลือง ก็แปลงสภาพกันมาเป็น เม็ดสีฟ้า และนำมาเคลือบด้วย ฟอสเฟอที่มีสีเหลืองๆ (ที่เราเห็นเม็ด LED ในหลอดไฟสีเหลืองก็คือสิ่งนี้แหละ) เพื่อให้ได้ออกมาเป็นแสงขาว เหมาะสำหรับการใช้งาน โดยคนที่คิดค้นได้ก็เป็นหนุ่มยุ่นค่ะ  คุณ Shuji Nakamurs ปัจจุบันก็เป็นผู้ผลิตเม็ด LED นี่แหละ

1402023598_17835

ซึ่งการคิดค้นเม็ด LED นี้ขึ้นมา พูดเลยว่าสามารถทำให้โลกของเราสวยงามมากขึ้นนะคะ ข้อจำกัดของหลอดไฟสมัยก่อนๆที่ทำไม่ได้ พอเป็น LED ด้วยขนาดที่เล็ก สีสันหลากหลาย  แล้วยังรูปร่างให้เลือกใช้กับงานต่างๆได้ง่าย ไม่แปลกเลยที่ในต่างประเทศนั้น นิยมใช้ LED ในงานออกแบบกันเยอะไปหมด ถึงแม้ในบ้านเราจะตื่นตัวกันช้ากว่าคนอื่นแต่ทางรัฐบาลเอง หรือ กฟฝ. ก็ออกนโยบายโปรโมทให้หันมาใช้ LED กันแล้วตามสื่อต่างๆ ในหลายๆประเทศนั้น หลอดไฟที่เป็นประเภทก๊าซปล่อยประจุหรือหลอดไส้นั้น ถูกห้ามใช้ไปแล้วด้วยก็มี

ชนิดหรือประเภท LED นั้น จะแบ่งตามลักษณะการใช้งานของหลอดนะ ซึ่งฝนจะขอพูดถึงประเภทที่เราใช้กันบ่อยๆแล้วกัน คือแบบ Replacement หรือเอามาแทนที่หลอดเดิมได้เลย

เล่นกับไฟ ตอน339

สมมุติเหตุการณ์ซักหน่อย ในห้องทำงาน เดวิด กำลังเคลียร์งานอย่างสบายใจอยู่ๆหลอดไฟดาวน์ไลท์ก็กระพริบขึ้นมาและท่าทางจะจากเดวิดไปในไม่ช้า

เล่นกับไฟ ตอน345

พอเอาออกมาดู จะเห็นว่า หลอดเริ่มขั้วเหลือง หรือเริ่มดำแล้ว ไหนๆก็ไหนๆ แล้ว อยากจะให้มันสว่างกว่านี้ ในราคาค่าไฟที่สบายกระเป๋า อายุการใช้งานยาวนาน เดวิดจะทำยังไง เลยเดินไปร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า เลือกหลอดไฟมา 2 แบบ

เล่นกับไฟ ตอน347

จากเดิมที่เคยใช้หลอดตะเกียบ 14 w ปริมาณแสง 800 lm ขั้ว E27 สี warmwhite แต่อยากจะให้มันสว่างกว่านี้ เดวิดเลยดูข้างกล่องเอา 23 w ตั้ง 1460 lm สว่างดี ล่ะกันแต่ปรากฎว่า…..โคมไฟสั้นกว่าหลอดซะอย่างนั้นแหะ มันไม่สวยเอาซะเลยเวลามองเห็น เหมือนมีขี้มูกย้อยจากเพดาน แถมยังกินไฟมากกว่าอีกด้วย

เล่นกับไฟ ตอน348

LED ที่วางอยู่ข้างๆ เลยหยิบมาใส่ดู เอ้า ใส่ได้ ขั้ว E27 เหมือนกัน

เล่นกับไฟ ตอน346

เอา 3 อย่างมาลองวัดตัวกันดูชัดๆ จะเห็นว่าหลอดที่ตอบโจทย์เดวิดที่สุดคือ เจ้าหลอด LED เพราะนอกจากจะกินไฟเท่าเดิม แต่ให้ความสว่างเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ลองดูจากประสิทธิภาพของหลอดไฟ จะเห็นว่า LED นั้นทุกๆ 1 วัตต์ ให้ปริมาณแสง 100 ลูเมน ส่วนอายุการใช้งานนั้น ก็มากกว่าเค้า เท่ากับเปลี่ยนหลอดตะเกียบไปหลายหลอด กว่า LED จะเสีย (อายุการใช้งานของ LED นั้น มาจากการนำหลอดไปทดสอบจำนวนมากและแสงลงลด 70% นับเป็นอายุของ LED แต่ไม่ดับนะคะ) เดวิดเลยรีบเปลี่ยนมาใช้ LED ซะเลยไหนๆก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าตามที่ต้องการ

 

เอาล่ะค่ะ สำหรับในตอนนี้ เพื่อนๆผู้อ่านพอจะนึกภาพรวมๆของหลอดประหยัดและ LED กันออกแล้วใช่ไหมค่ะ ในตอนหน้านั้น ฝนจะพาไปเลือกดู LED ที่มีอยู่ในท้องตลาดและมาเปรียบเทียบกัน ว่าอย่างไหน ดี ควรซื้อ กันบ้าง

มีคำถามสามารถคอมเม้นไว้ได้นะ พบกับฝนใหม่คราวหน้าค่ะ