Akashi-kaikyo_bridge3สะพาน Akashi-Kaikyō ในญี่ปุ่นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก

สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามแม่น้ำ ภูเขา ถนนและทางรถไฟ การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง (เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีความต่อเนื่องระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว

roman bridge

สะพานในยุคแรก จะสร้างด้วยท่อนไม้ หรือหิน โดยมีลักษณะโครงสร้างแบบเรียบง่าย โดยใช้โครงสร้างช่องโค้ง (arch) พบเห็นได้ในยุคโรมัน สำหรับสะพานที่ใช้สำหรับเป็นทางส่งน้ำ เริ่มก่อสร้างโดยใช้ซีเมนต์  สะพานอิฐ เริ่มมีการสร้างในยุคต่อมา

wp_000368

สะพานเชือก เป็นสะพานที่ขึงทั้งสองข้างของหน้าผาด้วยเชือก และขั้นที่เหยียบอาจจะเป็นแผ่นไม้หรือว่าเชือก ได้มีการเริ่มใช้โดยจักรวรรดิอินคาในบริเวณเทือกเขาแอนดีส (Andes) ในทวีปอเมริกาใต้ ก่อนยุคการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป ในคริสตศตวรรษที่ 15

800px-Iron_Bridge

ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมได้นิยมนำเหล็กมาทำเป็นสะพาน โดยเชื่อมต่อในระบบโครง สำหรับสะพานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา

800px-Chamaimaruchet_bridge

ในเมืองไทยเริ่มมีการสร้างสะพานอย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 อาทิ สะพานชมัยมรุเชฐ สะพานผ่านพิภพลีลา และสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ปัจจุบันบางแห่งถูกต่อเติมขยายออกไปจนหมดสภาพดั้งเดิม คงเหลือเพียงป้ายโลหะชื่อสะพานไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้…วันนี้เราขอพาไปดู  10 สะพานที่ยาวววววที่สุดในกรุงเทพฯ ส่วนจะมีอะไรบ้างไปดูพร้อมกันเลยค่า 😉

Basic RGBคลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

 1. สะพานพระราม 3

1310298326634262

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1996
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 2000
  • ความยาว: 1,864 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: Ed.Zublin Ag.Wayss & Freytag And Stecon Joint Venture
  • ค่าก่อสร้าง: งบประมาณแผ่นดิน 411,489,540 บาท และจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) 2,481,181,265 เยน

เชื่อมระหว่างถ.รัชดาภิเษกและถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี กับถ.เจริญกรุงและถ.พระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ (จึงมีชื่อเรียกกันติดปากว่าสะพานกรุงเทพ 2) เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร เนื่องจากสะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้างสะพานพระราม 3 ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้

rama3-01

นอกจากนี้แล้ว สะพานพระราม 3 ยังเป็นสะพานแบบอสมมาตรที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย และเหตุที่สะพานมีระดับสูงและช่วงทางลงยาวมาก ทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และล่าสุดมีรถชนกันต่อเป็นทอด ๆ ถึง 21 คัน ก่อนหน้านั้นเคยมีรถพ่วงเบรกแตกและชนต่อ ๆ กันแบบนี้มาแล้วด้วย นอกจากนั้นในทางลงด้านถนนเจริญกรุงก็ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นทางลาดชัน จึงเกิดเหตุรถพุ่งเข้าชนบ้านที่อยู่ตรงทางลง ทำให้ต้องมีการสร้างแผงปูนขึ้นกั้นบริเวณบ้านที่อยู่ทางลงด้านนี้

2. สะพานภูมิพล หรือสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม

fa5f11b563598e8ac2ecb479042c374bPhoto by : Tetra

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 2003
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 2006
  • ความยาว: สะพานภูมิพล 1 ยาว 702 เมตร สะพานภูมิพล 2 ยาว 582 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: TNNS Joint Venture, Taisei, Nishimatsu, NKK และ Sino Thai.

Bhumibol Bridge 30

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถ.วงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อมระหว่างถ.พระรามที่ 3, ถ.สุขสวัสดิ์, ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย และถ.กาญนาภิเษก ลักษณะเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องการจราจร ทางด้านเหนือหรือ “สะพานภูมิพล 1” เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพางเขตยานนาวา กรุงเทพฯ กับต.บางยอ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ “สะพานภูมิพล 2” เชื่อมระหว่าง ต.ทรงคนองกับต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ลักษณะโครงสร้างสถาปัตยกรรมมีรูปร่างเพรียว เพื่อความประหยัด ผู้ออกแบบกำหนดให้ระหว่างสะพานทั้งสองช่วง มีลักษณะคล้าย หัวแหวน โดยออกแบบให้มีลักษณะคล้ายพระธำมรงค์ ถวายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สะพาน 1ขวา สะพาน2 ซ้าย

การก่อสร้างการเชื่อมสะพาน ใช้วิธีก่อสร้างทั้งสองฝั่งมาบรรจบกันตรงกลาง โดยทีมแขวนสะพานกำหนดระยะการเชื่อมสะพานแค่ 6 เดือน โดยการเชื่อมใช้พื้นคอนกรีตหนักอัดแรงหนักชิ้นละ 480 ตัน มาเชื่อมกัน โดยใช้เครนคู่ขนาดยักษ์ในดึงคอนกรีตขึ้นจากเรือขนส่งด้านล่าง ซึ่งการยกคอนกรีตมีเวลาแค่ 4 ชม./วันเท่านั้น เพื่อเปิดทางให้การจราจรทางน้ำให้เป็นปกติ ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างเพียง 4 เดือนเท่านั้น จากกำหนดเดิม 6 เดือน ซึ่งบันทึกในสถิติโลกว่า เป็นการสร้างสะพานขึงคู่ที่สร้างเร็วที่สุดในโลก

800px-Chao_Phraya_Phra_Pradaeng_Mega_Bridge_2-edit

3. สะพานพระราม 7

20131119140245490

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1990
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 1992
  • ความยาว: 933.19 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด, บริษัท โอบายาชิ คอร์โปเรชั่น จำกัด และบริษัท นันทวัน จำกัด
  • ค่าก่อสร้าง: 1,008,000,000 บาท

20131119140116917

สะพานพระราม 7 เปิดใช้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแทนสะพานพระราม 6 เชื่อมกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี มีรูปแบบการสร้างเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง ในปัจจุบันเปิดเส้นทางเดินรถจราจร 6 ช่องทาง เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด

20131119140355802 4. สะพานพระราม 9 หรือสะพานแขวน

800px-Rama_IX_Bridge-2

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1984
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 1987
  • ความยาว: 782 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: บริษัท ฮิตาชิ โซนโซน คอร์ปอเรชั่น โตเกียว คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บริษัท โกบี สตีล จำกัด
  • ค่าก่อสร้าง: 1,418,100,000 บาท

RamaIX-1

สะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับน้ำหนัก ถือเป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย และจัดอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก

rama8_01

5. สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ 

1024px-Bkksaphanphut0609

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1929
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 1932
  • ความยาว: 678 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: บริษัท ดอรแมนลอง ประเทศอังกฤษ
  • ค่าก่อสร้าง: 4,000,000 บาท 

SapanBhud

สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพฯครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ด้วยพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของร. 1 ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมกรุงเทพฯกับฝั่งธนเข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ที่ปลายถ.ตรีเพชร ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 ถัดจากสะพานพระราม 6

 1812918619_f1cb885277

ในปัจจุบัน สะพานพระพุทธฯ มีลานสาธารณะให้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นลานกีฬาของเด็กนักเรียนในย่านนั้นด้วย นอกจากนี้ ในยามค่ำคืนพื้นที่ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้าจนถึงใต้สะพานพระปกเกล้าในปัจจุบัน ประมาณ 18-01.00 น. จะเป็นตลาดนัดยามค่ำคืน ที่มีสินค้าแฟชั่นหลากหลาย​ทั้งอุปกรณ์​ตกแต่งมือถือเคส​ ฟิล์ม​ ซีดี​และสินค้ามือสอง อาทิ เสื้อ กางเกง กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ อีกทั้งยังมีศิลปินอิสระ มารับวาดภาพและขายภาพวาดด้วย ด้วยราคาที่แสนถูก ประกอบกับรูปแบบที่กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่น ทำให้ตลาดสะพานพุทธในปัจจุบันคลาคล่ำด้วยวัยรุ่นจำนวนมากทุกค่ำคืน

p16fmkukrhf013dp3cusnj1v7h3

6. สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

20131119135157888

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1971
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 1973
  • ความยาว: 280 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: บริษัท โอบายาชิ-กูมิ จำกัด และ บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
  • ค่าก่อสร้าง: 117,631,024.98 บาท

ปิ่นเกล้า

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตรเชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางพลัด-เขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย

20131119135332693

ได้รับพระราชทานนามว่า “สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล

20131119135359573

7. สะพานกรุงธน หรือสะพานซังฮี้

Krung_Thong_Bridge_05499

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1954
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 1957
  • ความยาว: 649 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: FUJI CAR MANUFACTURING CO.,LTD.
  • ค่าก่อสร้าง: 24,837,500 บาท

48106028

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถ.ราชวิถีเชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ประกอบด้วยโครงสะพานเหล็กยาว 6 ช่วง เชิงสะพานทั้งสองฝั่งเป็นคอนกรีต มีทางเท้าทั้งขนาบสองข้าง ช่วงลอดกลางสะพานสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 7.50 เมตร เป็นสะพานที่เปิดไม่ได้

30189299-01_big

ที่มาของชื่อ ซังฮี้ เกี่ยวพันกับเครื่องกิมตึ้ง ซึ่งเป็นชื่อเครื่องถ้วยชามของประเทศจีน มีลวดลายต่าง ๆ ตกแต่งสวยงาม ในร.5  นิยมสั่งถ้วยชามเหล่านี้มาจากจีนเพื่อใช้และสะสมเป็นของมีค่า และเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตขึ้น ได้พระราชทานนามตำหนัก ถนน สะพาน และคลองต่างๆ ภายในวัง เป็นชื่อเครื่องกิมตึ้งทั้งสิ้น เช่น ชื่อถนนด้านหลังพระราชวัง พระราชทานนามว่า ซังฮี้ แปลว่า ความยินดี มา 2 อย่างพร้อมกัน (ซัง แปลว่า คู่ ฮี่ แปลว่า ความยินดี)

7541368

ถนนซังฮี้ในตอนแรกที่สร้างมีระยะทางจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปสุดบริเวณด้านหลังพระราชวังดุสิตและได้ขยายต่อมาในภายหลัง สมัยร.6 เมื่อครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามสถานที่หลายแห่งนั้น ถนนซังฮี้ก็เป็นถนนหนึ่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อไปเป็น “ถนนราชวิถี” เมื่อมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ในสมัยรัฐบาลของจอมพลป. พิบูลสงคราม ขณะทำการสร้าง ประชาชนทั่วไปยังไม่ทราบชื่อสะพานอย่างเป็นทางการจึงเรียกชื่อสะพานว่า สะพานซังฮี้ เพราะสะพานนี้เริ่มต้นปลายถนนซังฮี้ทางด้านฝั่งพระนคร ต่อมาเมื่อสร้างเสร็จแล้วรัฐบาลได้ตั้งชื่อสะพานว่า “สะพานกรุงธน” นั่นเอง

SANYO DIGITAL CAMERA

8. สะพานกรุงเทพ

Bangkok_Krung_Thep_bridge

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1954
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 1957
  • ความยาว: 626 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: FUJI CAR MANUFACTURING CO.,LTD.
  • ค่าก่อสร้าง: 31,912,500 บาท

Krungthep_rama3_bridges

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 3 รองจากสะพานพระราม 6 และสะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถ.ตก เขตบางคอแหลม ทางฝั่งพระนคร กับบริเวณสี่แยกบุคคโลในพื้นที่ทางฝั่งธนบุรั ใช้ในการคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและปิด-เปิด ให้เรือรบเข้าออก ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตอัดแรง โดยวิธีการอิสระซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย มีช่องทางจราจร 4 ช่อง

aHR0cDovL3BlMS5pc2Fub29rLmNvbS9ucy8wL3VpLzI3MC8xMzU0Njg1LzE0NzAyODVfMTg4MzQ4NDI0Njg3MzI5XzE2MjA2NTM4MDRfbl8xMzg3MjY5MTA3LmpwZw==

ปัจจุบัน สะพานกรุงเทพยังคงเปิด-ปิดอยู่ เพื่อให้เรือสินค้าที่แล่นเข้าออกเป็นประจำผ่าน แต่เมื่อมีการเปิด-ปิดสะพาน ก็ต้องมีการปิดการจราจร ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นอันมาก อีกทั้งเป็นสะพานที่อายุกว่า 50 ปี ทำให้มีปัญหาด้านกลไกเปิด-ปิดสะพานอยู่บ่อยครั้ง รัฐบาลจึงทุ่มงบสร้าง “สะพานพระราม 3” ที่สูงพอให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร

9.สะพานพระราม 8

wp_20141228_10_57_38_pro

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1999
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 2002
  • ความยาว: 475 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: Buckland & Taylor

Rama_VIII_Bridge's_Pylon

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกทม. มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (มูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัดบรรจบกับปลายถ.วิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย

Pier_5

สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ยาวติดอันดับ 5 ของโลก รองจากเยอรมันนีซึ่งติดอันดับถึง 3 สะพาน และเนปาลโดยนับจากความยาวช่วงของสะพาน โดยมีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศวิทยาในน้ำ บริเวณด้านล่างซึ่งเป็นฐานของเสาถูกพัฒนาเป็นสวนสาธารณะหรือสวนหลวงพระราม 8

kon01100655p1

สิ่งพิเศษสุดของสะพานพระราม 8 ที่สะพานอื่นในกรุงเทพฯ ยังไม่มีก็คือ ที่ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจก ลักษณะคล้ายดอกบัว สูงจากพื้นดินถึง 165 เมตร หรือสูงเท่าตึก 60 ชั้น พื้นที่ 35 ตารางเมตร จุคนได้ครั้งละเกือบ 50 คน แต่การก่อสร้างส่วนนี้จะแล้วเสร็จภายหลังพร้อม ๆ กับลิฟต์ของคนพิการซึ่งอยู่หัวมุม 2 ฝั่งแม่น้ำ เนื่องจากโครงสร้างเสาสูงเป็น แบบตัว Y คว่ำการขึ้นลงจุดชมทิวทัศน์จึงต้องติดตั้งลิฟต์ทั้งในแนวเฉียงและแนวดิ่ง โดยเป็นแนวเฉียงจากพื้นดิน 80 เมตรก่อน จากนั้นจึงเป็นแนวดิ่งอีก 155 เมตร แต่บรรทุกได้เที่ยวละประมาณ 5 คน ใช้เวลาขึ้น-ลง 2-3 นาที นอกจากนี้ยังมีลิฟต์ธรรมดาอยู่คนละด้านเพื่อใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลและตรวจตราสะพาน

maxresdefault

10. สะพานพระราม 6

DIGITAL CAMERACredit Photo: Chaoprayanews

  • เริ่มสร้าง: ค.ศ. 1922
  • สร้างเสร็จ: ค.ศ. 1926
  • ความยาว: 442.08 เมตร
  • ก่อสร้างโดย: เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศส
  • ค่าก่อสร้าง: 2,714,113.30 บาท

1340796225

สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของประเทศไทยเชื่อมระหว่างแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ สร้างตามแบบ Cantilever ประกอบด้วยสะพานเหล็ก 5 ช่วง ส่วนหนึ่งเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กให้รถยนต์ทุกชนิดผ่าน อีกส่วนหนึ่งเป็นทางรถไฟ พร้อมทางเดินเท้า 2 ด้าน

Rama-6-BridgeCredit Photo: Chaoprayanews

 

สะพานพระราม 6 สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริษัท เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมาเนื่องจากชนะการประมูลโดยอาศัยค่าเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่อ่อนตัว (1 ฟรังก์แลกได้ 5 บาท) เมื่อเปรียบเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษที่ผูกติดกับทองคำ (1 ปอนด์แลกได้ 11 บาท) ซึ่งในเวลานั้นเงินบาทผูกติดกับเงินปอนด์อังกฤษด้วย

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานได้ถูกกองทัพสหรัฐและอังกฤษทิ้งระเบิดจนช่วงกลางสะพานขาดเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 และได้ซ่อมแซมใหม่โดยบริษัทดอร์แมนลอง (ผู้รับเหมาจากประเทศอังกฤษที่เคยประมูลการก่อสร้างสะพานพระราม 6 แต่แพ้การประมูลเพราะค่าเงินปอนด์แข็งเกินไป) และบริษัทคริสเตียนนี แอนด์ นีลเส็น (ไทย) จำกัด ในระหว่าง ค.ศ. 1950 – 1953

29683-147

ปัจจุบันสะพานพระราม 6 ปิดการจราจรส่วนที่เป็นถนน เมื่อมีการก่อสร้าง สะพานพระราม 7 เป็นสะพานคู่ขนาน แล้วนำส่วนที่เป็นถนนแปรสภาพเป็นทางรถไฟ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ช่วง ชุมทางบางซื่อ – นครปฐม สำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 2003 แต่เวลาใช้งานจริงต้องให้รถไฟแล่นผ่านไปครั้งละขบวน เพื่อป้องกันไม่ให้สะพานทะลายลงมาเพราะรับน้ำหนักเกินพิกัด

 800px-Rama_6_bridge