4 (1)

AP Thailand ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย โครงการที่พัฒนาประกอบไปด้วย ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียม ซึ่งมีทำเลที่ตั้งในเขตชุมชน เมืองหรือใกล้ศูนย์กลางทางธุรกิจ สามารถเดินทางได้สะดวก และเน้นแบบบ้านที่มีสไตล์ตรงกับความต้องการผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม แต่ละทำเล ภายใต้แบรนด์ดังต่อไปนี้

profile01-ar2013

หลังจากเปิดโครงการ AP Academy ไปเมื่อกลางปีที่แล้ว ข่าวคร่าวของบริษัทก็หายเงียบไปพักๆ ใหญ่ จนล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ AP เพิ่งเปิดตัว “Life Sukhumvit 48” และสามารถปิดการขายได้ภายใน 2 วัน! มาแรงขนาดนี้ เกมส์จะพลิกให้ตลาดคอนโดที่อยู่ครึ่งๆ กลางๆ กลับมาผงาดได้อีกครั้งหรือไม่ แล้วทิศทางอสังหาริมทรัพย์อีกครึ่งปีจะเป็นอย่างไร เราไปหาคำตอบผ่านมุมมองของ “คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) พร้อมๆ กันเลยค่ะ

K-Anupong

แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตราการมาช่วยกระตุ้นภาคอสังหาฯ แต่สถานการณ์ปัจจุบันก็ยังน่าเป็นห่วง คุณอนุพงษ์มองว่า บริษัทอสังหาฯ ยุคนี้ รายใหญ่แข่งกันเอง และพยายามรุกล้ำเข้าไปใน Market Share ของอีกฝ่าย ไม่มีบริษัทไหนสามารถครองตลาดได้ด้วยสินค้าเพียงอย่างเดียว เมื่อก่อนแต่ละบริษัทจะมีจุดเด่นในสินค้าของตัวเอง แต่ตอนนี้หลายที่ก็เริ่มปรับกลยุทธ์ เข้าไปชิมลางในสินค้าประเภทอื่นๆ ที่ตัวเองที่ไม่ได้แข็งแรง เพราะต้องการโต

“สำหรับ AP ปัจจุบันครบ 25 ปี เราต้องปรับตัวอยู่ตลอด ซึ่งผมมองว่าธุรกิจโตได้ด้วย “พนักงาน” บริษัทต้องการคนที่ทำงานเป็น แล้วสามารถจัดการตัวเองได้อย่างอิสระ ไม่ต้องรอเจ้านาย ผมทำเรื่อง academy มา 2-3 ปี ทุกวันนี้มันตอบโจทย์แล้ว มันช่วยเราในการโต และ…ถ้าเราไม่ใช่ 1 ใน 3 บริษัทก็จะไม่มีที่ยืน เพราะตามทฤษฎีการตลาดคนจะจำได้แค่ 1-3 เท่านั้น แต่ก็ไม่ควรมองแต่เป้าหมายข้างบน ควรระวังข้างล่างด้วย ทุกวันนี้มีบริษัท(หน้าเก่า)รายใหม่ที่มาแรงมากๆ” 

ส่วนภาวะเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง หลักๆ น่าจะขึ้นอยู่กับความมั่นใจของผู้บริโภค โชคดีที่ธุรกิจอสังหา cashflow คือหัวใจ ถ้าเรามีวินัยก็ไม่มีอะไรน่าห่วง สมมติว่าถ้าครึ่งปีหลัง สภาพเศรษฐกิจไม่ดี AP ก็ปรับแผนเปิดโครงการใหม่ หรือลดงบประมาณในการซื้อที่ดินลง 

Life-Sukhumvit-48_s

ปีนี้ AP ตั้งเป้ารับรู้รายได้ไว้ที่ 23,700 ลบ. ซึ่งจะรับรู้รายได้มาจากสินค้าแนวราบมูลค่า 13,800 ลบ. และจากคอนโดมิเนียมมูลค่า 9,900 ลบ. โดยในไตรมาส 4 ของปี 2559 จะเป็นช่วงที่บริษัทฯ จะรับรู้รายได้เป็นจำนวนมากจาก 8 คอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างเสร็จพร้อมส่งมอบในช่วงนั้น ได้แก่ RHYTHM สุขุมวิท 42, RHYTHM อโศก, RHYTHM สุขุมวิท 36-38, Aspire สาทร-ท่าพระ, Aspire งามวงศ์วาน,  Aspire วุฒากาศ, Aspire สาทร-ตากสิน 3 และ Galerie 39  ซึ่งไม่นับรวมคอนโดมิเนียมโครงการอื่นๆ ที่ก่อสร้างเสร็จและทะยอยรับรู้รายได้ไปก่อนหน้า 

Screen Shot 2559-06-21 at 8.56.06 AM

และในโอกาสที่ปีนี้ AP ล่วงเข้าวัยเบญจเพส ครบรอบ 25 ปี วันนี้เราขอพาไปย้อนอดีต “เปิดประวัติอสังหาของ AP Thai” กันค่ะ 😉

info_AP-01

1991: จุดเริ่มต้นของวันนี้

จากการแนะนำของผู้ใหญ่ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่เชื่อมโยง อนุพงษ์ อัศวโภคิน และพิเชษฐ วิภวศุภกร ให้มาพบกัน จากต่างคนต่างที่มาแต่ด้วยวิธีคิดและวิสัยทัศน์ที่เหมือนกัน ทั้ง 2 ท่านจึงตกปากรับคำที่จะร่วมสร้างธุรกิจไปด้วยกัน โดยเริ่มจากการสร้างวิธีคิดใหม่ในการใช้ ‘พื้นที่’ กับการเปิดตัวทาวน์โฮมโครงการแรกภายใต้ชื่อ พิชาดา ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตการอยู่อาศัยในอดีตไปอย่างสิ้นเชิง

“การที่เราจะแตกต่างจากคู่แข่งได้ เราก็ต้องทำสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้า การพัฒนาคอนโดมิเนียม และ ทาวน์เฮ้าส์ในเมือง เป็นแนวคิดตั้งแต่วันแรกที่เริ่มธุรกิจ และเราก็ต้องเป็นเจ้าแรกๆ ในตลาดที่พัฒนา โครงการในเมืองก่อนผู้ประกอบการรายอื่นๆ” นี่คือวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารทั้ง 2 ท่านวางไว้ ณ วันแรกของ การทำธุรกิจร่วมกัน เมื่อปี 1991 

RE_MG_9711

“ทุกคนพร้อมช่วยกัน” คุณภมร ประเสริฐสรรค์ Chief Business Group – TH เล่าถึงการทำงานในตอน นั้นว่า ตนเองเข้าทำงานเป็นวิศวกรคุมงานก่อสร้าง แต่ก็ต้องมาช่วยเรื่องงานขายด้วย เพราะตอนนั้น บริษัทมีพนักงานไม่มาก ตอนไปคุมงานก่อสร้าง ก็ต้องไปช่วยขายด้วยเรียกว่าต้องทำทุกอย่าง ซึ่งทุกคนก็เต็มที่  เพราะขนาดคุณพิเชษฐ กับคุณอนุพงษ์ ก็ลงมาช่วยงานขายด้วยตนเอง

1994 : เริ่มต้น “ปทุมวัน รีสอร์ท” จุดพลุให้ตลาดคอนโดติดรถไฟฟ้า

หลังจากที่ทาวน์โฮมในทำเลต่างๆ เดินหน้าประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว AP เดินหน้าไปอีกขั้นตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้กับการเป็นเจ้าแรกในวงการอสังหาริมทรัพย์ที่ขยับมาจับตลาดคอนโดมิเนียม ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริง ณ ขณะนั้นที่รถไฟฟ้าเพิ่งเริ่มวางแผนก่อสร้าง และการอยู่คอนโดมิเนียมถือเป็นเรื่องใหม่อย่างมากในตอนนั้น

แต่สัญชาติญาณของผู้บริหารทั้ง 2 สองเชื่อว่า การมาของรถไฟฟ้าจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ต่อวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย แต่ติดปัญหาตรงที่ เงินทุน จะหาเงินจากไหนมาซื้อที่ดินและก่อสร้าง การกู้เงินจึงเป็นหนทางเดียวที่ทำให้เป้าหมายของทั้งสองพาร์เนอร์เป็นจริง

คอนโด-ปทุมวัน-รีสอร์ท-PATHUMWAN-RESORT

“สิ่งที่ทำให้คณะกรรมการสินเชื่อของเรามั่นใจและตัดสินใจปล่อยสินเชื่อให้กับ AP คือ ความตั้งใจในการทำงานของผู้บริหารทั้งสองท่าน ซึ่งทำให้เราเชื่อว่าโครงการปทุมวัน รีสอร์ท นี้จะไปได้” คุณศิริพงษ์ สมบัติศิริ ซึ่งอดีตเป็นผู้บริหารบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ธนสยาม เล่าให้เราฟังถึงเหตุผลที่อนุมัติสินเชื่อ

“ปทุมวัน รีสอร์ท เป็นคอนโดมิเนียมโครงการแรกของบริษัทฯ ที่อยู่ติดสถานีรถไฟฟ้า เปิดตัวด้วยมูลค่าสูงถึง 1,900 ลบ. มูลค่ามากกว่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ หลายร้อยเท่า ราคาขายที่ 45,000 บาท/ตร.ม. ซึ่งถือว่าสูงมาก ณ ขณะนั้น ต้องยอมรับว่าเราตอนนั้นใจกล้ามาก คุณพิเชษฐเชื่อว่าโครงการขายได้แน่เพราะอยู่ในเมืองและอยู่ติดรถไฟฟ้า ผมก็มั่นใจว่าเราทำได้ โครงการนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัทในการกล้าคิดต่างอย่างก้าวกระโดดจริง” อนุพงษ์ อัศวโภคินกล่าว

1999 :  หลังฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ

1394894885-errorJPG-o

วิกฤตการเงินครั้งใหญ่ในปี 1997 ส่งผลกระทบต่อ AP โดยตรง ถึงแม้บริษัทฯ จะไม่มีเงินกู้สกุลต่างประเทศ แต่ก็ต้องเผชิญกับปัญหาสภาพคล่อง ลูกค้าถูกเลิกจ้าง รายได้ลด ทิ้งดาวน์ ไม่โอน พร้อมกับการแบก ภาระหนี้ที่สูงถึง 1,000 ลบ. แต่มีเงินในบริษัทไม่ถึง 100 ล้าน สารพัดวิธีถูกนำมาใช้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับบริษัท ซึ่งนำมาซึ่งปี 1999 เอพีเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายแรกๆ ที่ฟื้นตัวจากวิกฤติ โดยสิ่งที่อนุพงษ์ และพิเชษฐไม่เคยทิ้งเลยคือ “พนักงาน”

“ตอนนั้นมีโครงการที่ยังขายไม่หมดอยู่ทั้งสิ้น 3 โครงการคือ บ้านมนวดี บ้านเงาไม้ และปทุมวัน รีสอร์ท เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน จึงตัดสินใจยอมปรับลดราคาบ้านลงมา  20% และลดราคาขาย โครงการปทุมวัน รีสอร์ท จาก 45,000 มาอยู่ที่ 35,000 บาท/ตร.ม. ขายแล้วยังเหลือกำไรนิดหน่อย ดีกว่าแบกภาระดอกเบี้ยไว้ โครงการก็ขายไม่ได้”

“ปัญหาที่เกิดขึ้นพนักงานระดับบริหารทุกคนรับรู้ คุณอนุพงษ์ คุณพิเชษฐเรียกทุกคนไปคุย เราทุกคนก็บอกว่าเราจะเดินไปด้วยกัน รู้ว่าตอนนั้นมีความเสี่ยง แต่เรามั่นใจว่าผู้บริหารทั้งสองท่านจะนำพาองค์กรให้ผ่านวิกฤตไปได้” กิตติยา พงษ์ปูชนีย์กุล หนึ่งในผู้บริหารที่ดูแลด้านบัญชีในขณะนั้นพาเราย้อนไปสัมผัสถึงความเชื่อที่พนักงานทุกคนมีต่อผู้บริหารทั้งสอง

“บริษัทอยู่ได้เพราะพนักงาน ตอนนั้นเราปรับลดค่าใช้จ่ายหลายอย่าง แต่ที่เราไม่ลดคือ เงินเดือนของพนักงานระดับกลางและระดับปฎิบัติการ ซึ่งเราไม่ลดและก็ไม่มีการปลดพนักงาน ความร่วมมือร่วมใจของพนักงานทุกคน ทำให้เราผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดมาได้  คุณอนุพงษ์กล่าวถึงเรื่องการดูแลพนักงานในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง

2000: เดินหน้าเป็นบริษัทมหาชน

วิกฤติต้มยำกุ้งทำให้หลายบริษัทหายไปจากวงการ ขณะที่หลายบริษัทยังอยู่ในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ AP รอด! เพราะความกล้าในการตัดสินใจประกอบกับการคิดหาหนทางเดินหน้าอย่าง ไม่ยอมแพ้ของสองผู้บริหาร จากวิฤกติทำให้ราคาที่ดินตกอย่างมาก อนุพงษ์และพิเชษฐเลย ตัดสินใจเปิดไพ่ใบสุดท้าย ด้วยการใช้เงินที่เหลือซื้อที่ดินจากปรส. มาทำโครงการใหม่ ภายใต้ชื่อ บ้านกลางกรุง และบ้านกลางเมือง พร้อมเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ในการพัฒนาโครงการ ซึ่งนำมาสู่ยุค เฟื่องฟูของเอพีจนขยับตัวเข้าสู่การเป็นบริษัทมหาชนในที่สุด

004-24-06-2010l

“ตอนนั้นคิดกันเยอะว่าจะใช้ชื่ออะไร ผมบอกกับทีมงานไม่ต้องคิดมากสื่อสารตรงๆ ไปเลย ว่าบ้านเดี่ยวก็เป็น บ้านกลางกรุง ทาวน์เฮ้าส์ก็เป็นบ้านกลางเมือง วันแรกที่เราเปิดขายบ้านกลางเมือง รามคำแหง ต้องแจกบัตรคิว” คุณอนุพงษ์กล่าว

2

“เราเปลี่ยนวิธีคิดในการทำโครงการจัดสรรใหม่หมด หมุนการวาง Master Plan โครงการให้กลับกัน เดิมหลายบริษัทฯ จะเก็บที่ดินพื้นหน้าโครงการไว้เพื่อทำเป็นแปลงขาย แล้วดัน Clubhouse ไปไว้แปลงหลังสุด เพราะที่ดินถูกกว่า เรามองต่างมุม เห็นมูลค่าของ Facilities ที่เป็นตัว ดึงดูดให้คนอยากอยู่ในโครงการ เลยปรับการออกแบบใหม่หมุนให้มาอยู่ด้านหน้า และก็ขายดีปิดโครงการได้อย่างรวดเร็ว”

2002 : คิดจะเป็นผู้นำต้องกล้าที่จะต่าง

ThongLor 2

ทุกโครงการที่เปิดตัวล้วนประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ AP เข้าสู่ยุคเฟื่องฟู เดินนำบริษัทอื่นๆ ไปหลายก้าว วิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้างบ้านสำหรับคนเมืองที่ทั้งสองตั้งไว้ตั้งแต่วันแรกที่จับมือกันเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แต่ทั้งสองก็ยังไม่หยุดที่จะท้าทายตัวเองต่อ เดินหน้าคิดการใหญ่ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัย ของคนกรุงเทพ ด้วยการยกระดับการพัฒนาทาวน์เฮ้าส์ สู่การเป็น HI-END TOWNHOME สร้างความแตกต่างในการออกแบบ ใส่ใจในรายละเอียด ทั้งงานสถาปัตยกรรมภายนอกและ การจัดวางสเปซภายใน ตลอดจนงานภูมิสถาปัตยกรรมโดยรอบ ภายใต้คอนเซ็ปต์  BIG CITY  เพื่อมุ่งสร้างความภาคภูมิใจใน การอยู่อาศัย ท่ามกลางศักยภาพของทำเลกลางเมืองอย่างแท้จริง

“เพราะเราเชื่อว่าทุกคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน บ้านต้องสะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้าน” คุณอนุพงษ์ เล่าถึงแนวคิดที่สะท้อนออกมาในการออกแบบโครงการบ้านกลางกรุง British Town ทองหล่อ โครงการต้นแบบของ HI-END TOWNHOME ที่สร้าง TALK OF THE TOWN ให้กับวงการอสังหาฯ

2007 : AP NEXT CHAPTER

ความสำเร็จวันนี้ คงไม่ใช่สูตรความสำเร็จในวันพรุ่งนี้สำหรับ 2 ผู้บริหาร ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ของ AP กับการเปลี่ยนเพื่อเติบโตไปอีกขั้น หลังจากชื่อเสียงของบริษัทได้ถูกแสตมป์ไว้กับการเป็นผู้นำตลาดทาวน์โฮมในเมือง ด้วยชื่อแบรนด์ที่ Strong มากอย่าง ‘บ้านกลางเมือง’ และ ‘บ้านกลางกรุง’ บทพิสูจน์ต่อไปคือ การรุกตลาดคอนโดมิเนียม เพื่อครองภาพการเป็นรายแรกที่พัฒนาคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้า ขณะที่ตอนนั้นหลายบริษัทฯ ไม่มีใครสนใจสินค้านี้

LIFE CONDO ถือเป็นคอนโดมิเนียมที่สร้างชื่อเสียงให้ AP อีกครั้ง กับจุดเด่นของแบรนด์ที่เข้าใจถึงความต้องการของ คนรุ่นใหม่อย่างลึกซึ้ง ทั้งภาพลักษณ์ที่สื่อสารออกมาผ่านแคมเปญโฆษณา จนสื่อมวลชนเขียนข่าวแซว ถึงวิธีคิดของผู้บริหารที่นำสีมาเป็น Gimmick ว่าคอนโดอะไรมาเป็นสีๆ รวมถึงความเจ๋งของตัวสินค้า ที่เรียกว่าไม่กี่ก้าวถึงรถไฟฟ้าจริงๆ 

Life @ Sathorn 10-mail

“ไม่มีความสำเร็จใดเป็นนิรันดร์ ความสำเร็จในวันนี้ไม่ใช่ความสำเร็จในวันพรุงนี้ ถ้าเราหลงอยู่กับความสำเร็จในอดีต เราก็จะไม่สามารถก้าวต่อไปในอนาคตได้ เพราะเราจะติดกับดักความสำเร็จของตัวเอง” คุณอนุพงษ์ กล่าวเพื่อกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรกล้าที่จะเปลี่ยน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่

ไม่เพียงเท่านั้นเอพีเติบโตอย่างแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่หยุดที่จะพัฒนาสินค้าทั้งคอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม และบ้านเดี่ยวผ่านหลากหลายแบรนด์ที่คุ้นหูคนกรุงเทพกันเป็นอย่างดี โดยมุ่งมั่นที่จะตอบสนองลูกค้าทุกไลฟ์สไตล์ ในหลากหลายเซกเมนท์ ผ่านทำเลศักยภาพที่คัดสรรเป็นอย่างดี

2014: INTERNATIONAL PARTNERSHIP

01AP MEC

ก้าวเข้าสู่ระดับสากล กับการลงนามในสัญญาร่วมทุนพัฒนาคอนโดมิเนียมร่วมกับ Mitsubishi Estate Group บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสินทรัพย์เป็นอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำปรัชญาแนวคิด ในการออกแบบสเปซจากทางญี่ปุ่นมาผสมผสานกับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของคนไทย เพื่อนำมาซึ่ง นวัตกรรมดีไซน์ที่ยกระดับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทยเทียบเท่าสากล

“เราเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าตลอดเวลา และนั่นคือวิถีของ AP” 

2015 : เปิดตัว AP ACADEMY เพราะ “คน” คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด

7

คน เป็นเรื่องที่ผู้บริหารทั้ง 2 ท่านคำนึงถึงเสมอ ไม่ว่าจะผ่านเหตุการณ์ร้ายดีมามากแค่ไหน สิ่งที่คุณอนุพงษ์และคุณพิเชษฐไม่เคยมองข้ามคือ พนักงานในองค์กร เมื่อองค์กรใหญ่ขึ้น จำนวนโครงการที่ต้องพัฒนาก็มากขึ้น ศักยภาพของคนก็ต้องได้รับการพัฒนาให้สอดรับเช่นกัน เมล็ดเงินการลงทุนกว่า 300 ลบ. ที่ 2 ผู้บริหารยอมทุ่ม เพื่อผลักดันให้ AP ACADEMY สถาบันเพื่อการเรียนรู้ครบวงจร ด้านอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างคนคุณภาพ ที่นำมาสู่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพออกสู่สังคม

2016 : AP THINK SPACE ครบรอบ 25 ปี

knowledge sharing

เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากรายได้จากหลักไม่กี่ร้อยล้านในวันเริ่มต้น พุ่งทะยานขึ้นจนถึงสองหมื่นกว่าล้าน วันนี้เอพีพร้อมก้าวเข้าสู่ปีที่ 25 กับการเดินหน้าสานต่อพันธกิจสำคัญขององค์กรในการมุ่งพัฒนานวัตกรรมการอยู่อาศัยสำหรับคนเมือง ผ่านการผสานวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างรุ่นก่อตั้งอย่าง นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้ากับมุมมองทีมบริหารและพนักงานรุ่นใหม่ ที่เป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อน ให้กว่า 100 โครงการ  มูลค่ารวมเกือบ 112,000 ลบ. ที่อยู่ในแผนงานธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

1

“AP ในวัยเบญจเพส ถ้าเทียบกับคน ก็อายุประมาณ 35-40 ปี เป็นวัยที่พลังเยอะ และอัดแน่นด้วยประสบการณ์ ยังไม่หมดแรงที่จะเดิน ถือว่าเป็นช่วงพีคขององค์กร ”  คุณอนุพงษ์กล่าวทิ้งท้าย

#AP25YEARS #APSPACE