48692474

เป็นที่ทราบกันดีว่า มีที่ดินหลายแปลงในเมืองไทย ทั้งพัฒนาแล้วและยังไม่ได้พัฒนา เป็นสมบัติของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมๆ แล้วก็ประมาณ 234,976 ไร่  แยกเป็น

ea27d8a3หัวลำโพงปี 2549 โดยคุณสิงห์คม บริสุทธิ์

1. ที่ดินเพื่อการเดินรถ ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก (Core Business) จำนวน 198,674.71 ไร่ ประกอบด้วย:
1.1 พื้นที่เขตราง 189,586.27 ไร่
1.2 ย่านสถานี 5,333.24 ไร่
1.3 บ้านพัก/ที่ทำการ 3,755.25 ไร่ และ

14322141231432214178l

2. ที่ดินสำหรับการพาณิชย์ (Non-Core Business) จำนวน 36,302.18 ไร่ ประกอบด้วย:
2.1 ที่ดิน ศักยภาพต่ำ 21,536.80 ไร่
2.2 ที่ดิน ศักยภาพกลาง 7,218.12 ไร่
2.3 ศักยภาพสูง เช่น ที่บริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน รัชดาภิเษก ย่านพหลโยธิน และสถานีแม่น้ำ 7,547.32 ไร่

ซึ่งมีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินเฉลี่ยปีละ 1,600 ล้านบาท

976418_476812172394340_8930116_o

ล่าสุดทางประชาชาติธุรกิจได้รวบรวมที่ดินให้เช่าแปลงใหญ่ๆ ของ รฟท. มาดูพร้อมๆ กันว่ามีที่ไหนบ้าง และแต่ละแปลงครอบครองโดยใคร

train-draf1คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

1. สนามกอล์ฟหัวหิน

สนามกอล์ฟหัวหิน

  • เนื้อที่: 500 ไร่ 
  • ผู้เช่า: บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
  • หมดสัญญา: ปี 2558
  • ค่าเช่าก่อนหมดสัญญา: 476,000 บาท

2. Sofitel Centara Hua Hin

02_Exterior

  • เนื้อที่: 71.65 ไร่
  • ผู้เช่า: Centara Grand Beach Resort & Villas Hua Hin
  • หมดสัญญา: ต้นปี 2559
  • ค่าเช่าก่อนหมดสัญญา: 6.8 ล้านบาท

3. ตลาด อตก.

market1

  • เนื้อที่: 39.45 ไร่
  • ผู้เช่า: อตก.
  • หมดสัญญา: ปี 2560
  • ค่าเช่าก่อนหมดสัญญา: 53.54 ล้านบาท

4. ที่ดินสถานีสุไหงโก-ลก

  • เนื้อที่: 23.91 ไร่
  • ผู้เช่า: บริษัท ส่งเสริมการตลาด จำกัด
  • หมดสัญญา: หมดไปตั้งแต่ปี 2555
  • ค่าเช่าก่อนหมดสัญญา: 1.37 ล้านบาท

5. สำนักงานใหญ่ปตท.

img-about-faq-visit

  • เนื้อที่: 22.26 ไร่
  • ผู้เช่า: ปตท.
  • หมดสัญญา: หมดไปตั้งแต่ปี 2556
  • ค่าเช่าก่อนหมดสัญญา: 800 ล้านบาท

หลังจากต่อสัญญาเพิ่มอีก 30 ปี ราคาตกลงกันได้ที่จำนวน 1,350 ล้านบาท (จากการเสนอราคาในช่วงแรกอยู่ที่วงเงิน 1,792 ล้านบาท) ซึ่งได้มีการนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟท.และของปตท.เห็นชอบมาแล้ว จำแนกออกเป็น งบเพื่อการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ วงเงิน 150 ล้านบาท งบเพื่อก่อสร้างอาคารสูง 17 ชั้นเพื่อให้พนักงานรฟท.อยู่อาศัย วงเงิน 450 ล้านบาท งบในส่วนที่เหลืออีกจำนวน 700 ล้านบาทจะจ่ายเป็นเงินสดก้อนแรกก่อน 300 ล้านบาท โดยงบที่เหลืออีก 400 ล้านบาทนั้นขอแบ่งจ่ายเป็นระยะเวลา 4 ปีๆละ 100 ล้านบาท [อ้างอิงจากข้อมูลของฐานเศรษฐกิจ]

6. Twin Tower Hotel

135300

  • เนื้อที่:  6.53 ไร่
  • ผู้เช่า: Golden Asset
  • หมดสัญญา: ปี 2564
  • ค่าเช่าก่อนหมดสัญญา: 3.29   ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีที่ดินอีก 3 แปลง ที่รฟท. เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ และเตรียมเปิดประมูลเพื่อล้างหนี้

1. รอบสถานีบางซื่อ

App-map-BTS-696x380

  • เนื้อที่: 218 ไร่
  • มูลค่า: 68,000 ล้านบาท
  • แผนการพัฒนา: ทั้งโครงการใช้เวลาพัฒนา 15 ปี แบ่ง 3 ช่วง ระยะสั้น 5 ปีแรก เริ่มโซน A 35 ไร่ ห่างสถานี 50-100 เมตร พัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร อาคารสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม 3-4 ดาว ศูนย์อาหาร ลงทุน 10,000 ล้านบาท, แผนระยะกลาง 10 ปี เป็นโซน B 78 ไร่ อยู่ด้านตะวันออกของสถานี ห่างตลาดนัดจตุจักร 700 เมตร พัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรม ศูนย์การค้า ศูนย์แสดงสินค้า ลงทุน 24,000 หมื่นล้านบาท
    แผนระยะยาว 15 ปี เป็นโซน C 105 ไร่ อยู่บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต 2 และสวนสาธารณะ 3 แห่ง เหมาะพัฒนาที่อยู่อาศัยหรือเมืองใหม่ มีทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน สปอร์ตคอมเพล็กซ์ ลงทุน 34,000 ล้านบาท และโซน D 87.5 ไร่เป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการเดินทาง เช่น ที่จอดรถ และทางเดินเชื่อม

2. สถานีแม่น้ำ

Screen Shot 2558-11-12 at 4.01.07 PM

  • เนื้อที่: 277 ไร่
  • มูลค่า: 10,413 ล้านบาท
  • แผนการพัฒนา: เบื้องต้นจะพัฒนาเป็นอาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย

3. ที่ดินกม. 11 (ถ. กำแพงเพชร)

257612-52ecf8af1dc19

  • เนื้อที่: 359 ไร่
  • มูลค่า: 18,370 ล้านบาท
  • แผนการพัฒนา: พัฒนาอาคารพาณิชยกรรม สำนักงาน และที่อยู่อาศัย ขณะนี้ทางการรถไฟฯ อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการลงทุนให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556

มีรายงานเพิ่มเติมว่า BTS ได้เสนอโมเดลพัฒนาที่ดิน กม. 11 เบื้องต้นให้กับกระทรวงคมนาคมมี 5 ส่วน คือ

  1. สร้างคอนโดฯ 5,000 ยูนิต รองรับพนักงานการรถไฟฯ 5,000 ครัวเรือน ออกแบบเป็นห้องชุด 2 ไซซ์ 42 และ 56 ตร.ม. โดยบริษัทสร้างให้ฟรี เพื่อแลกเปลี่ยนกับการพัฒนาพื้นที่ส่วนที่เหลือ มูลค่า 10,000 ล้านบาท
  2. พื้นที่ค้าขายสำหรับผู้ประกอบการที่ค้าขายบริเวณ กม.11 เดิม
  3. สวนสาธารณะ
  4. คอนโดฯ ให้เช่าสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง
  5. พื้นที่เชิงพาณิชย์

ขอบคุณข้อมูล

  • ประชาชาติ
  • ฐานเศรษฐกิจ