20140110134619

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้หารือโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 669 กม. เป็นความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันจะเริ่มสร้างจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กม.เป็นระยะแรก อยู่ระหว่างประเมินมูลค่าโครงการใหม่ จากเดิมประเมินไว้ 224,416 ล้านบาทคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบก.ค.นี้ ออกแบบรายละเอียดปี 2560 และสร้างปี 2561

นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังเสนอว่า รายได้ค่าโดยสารจากรถไฟความเร็วสูงอย่างเดียวไม่พอ ต้องพัฒนาพื้นที่ควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรม สถานี หรือพื้นที่ 2 ข้างทาง อาจจะไม่ได้พัฒนาตลอดเส้นทาง แต่พัฒนาช่วงมีศักยภาพ จะทำให้ผลตอบแทนโครงการในเชิงการเงินดีขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีให้นโยบายการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ประกอบการลงทุนด้วย

ส่วนเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ จะมีปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้มีความปลอดภัย การจัดโซนในการเดินรถ การปรับปรุงจุดเชื่อมต่อและการเข้าถึงระบบรถไฟ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และรถไฟชานเมืองสายสีแดง อีกทั้งหลังจากทดลองการเดินรถตู้ขนส่งสินค้าขนาด 12 ฟุต จากหนองปลาดุก-แหลมฉบัง จะต้องมีการศึกษาตลาดเพิ่มเติมเพื่อจะจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (SPV) ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เบื้องต้นได้เปิดสำนักงานเพื่อสำรวจและพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟที่บริษัท โตโยต้า ทูโช (ประเทศไทย) แล้ว

“เส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร ทางญี่ปุ่นตกลงจะทำการศึกษาให้ไทยแล้ว ขณะนี้เริ่มไปพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะเริ่มศึกษาช่วงตั้งแต่แม่สอด-นครสวรรค์ก่อน แต่ไทยได้ให้ดำเนินการศึกษาช่วงนครสวรรค์-มุกดาหารไปด้วย”

20140111135005

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ร่วมกับญี่ปุ่นศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แนวเส้นทางไฮสปีดเทรนรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กม. หลังผลการศึกษาออกมาแล้ว โดยตัวโปรเจ็กต์ผลตอบแทนการเงินไม่คุ้ม ต้องพัฒนาพื้นที่ควบคู่ไปกับสถานีรถไฟด้วย มี 5 สถานี ได้แก่ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก กำลังพิจารณาจะพัฒนาพื้นที่สถานีไหนเป็นเมืองใหม่ได้บ้าง

“มี 2 วิธีคือ สร้างสถานีบนที่ใหม่และพัฒนาเมืองใหม่ไปด้วย หรือสร้างบนตำแหน่งเดิม ก็จะใช้วิธีการจัดรูปที่ดินเหมือนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยรอบสถานีรัศมี 2 ตร.กม. ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีจะทำให้ที่ดินเป็นระเบียบมากขึ้น ถ้าสร้างที่ใหม่จะใช้เวลา 10 ปี กำลังดู 5 สถานี จะนำร่องที่ไหนได้บ้าง จะมีสภาพัฒน์มาช่วยด้วย เพราะรู้เรื่องแผนการพัฒนาภูมิภาคและพัฒนาเมือง ส่วนญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ”

ที่มาข่าว: ประชาชาติ

inside_Cover banner copy