ห้องน้ำสำเร็จเปิด1

สุขาอยู่หนใด? และห้องน้ำนั้นสำคัญไฉน ……. ห้องน้ำเป็นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ของการใช้ชีวิตในประจำวันอย่างที่ทุกคนรู้กัน บางคนหัดร้องเพลงในห้องน้ำ บางคนใช้เป็นพื้นที่ส่วนตัวปล่อยทุกข์ บางคนชอบเอาไว้ถ่ายรูป Selfie เชคความสวยความงาม…..กิจกรรมหลายๆอย่างที่ดูเผินๆเหมือนไม่สำคัญอะไร แต่สามารถทำให้ชีวิตแต่ละวันเดินราบเรียบนะคะ  ปัจจุบัน ห้องน้ำ ก็ได้พัฒนารูปแบบมาให้เราได้เห็นกันเรื่อยๆจากห้องน้ำตามทุ่งนา จนมาเป็นห้องน้ำมิดชิดที่สะอาดเรียบร้อย วันนี้หัวข้อที่เราจะมาพูดถึงก็คงไม่พ้นเรื่องห้องน้ำค่ะ แต่จะเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เราจะมาอัพเดทให้เพื่อนๆได้รู้จักกัน กับ “ห้องน้ำสำเร็จรูป” ค่ะ

8a89126c016cef61729bdd273c3f8a42

เพื่อนๆอาจจะคุ้นตากับ ห้องน้ำสำเร็จรูป จากภาพด้านบน อาจไม่ใหม่สำหรับบ้านเรา แต่ห้องน้ำแบบนี้เป็นห้องน้ำแบบชั่วคราว จะพบได้ทั่วไปตามการจัดงานต่างๆ สำนักงานขาย หรือแม้แต่ห้องน้ำที่ใช้ในตู้คอนเทนเนอร์ ก็จัดอยู่ในห้องน้ำสำเร็จรูปเหมือนกันนะ แต่ไม่ใช่ในสิ่งที่เราจะพูดถึงต่อไปนี้นะ เพราะห้องน้ำสำเร็จรูปที่ใช้ในอาคารพักอาศัยไม่ว่าจะเป็นโรงแรม บ้าน และคอนโดมิเนียม ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ค่ะ

ggห้องน้ำสำเร็จรูปถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาโดยประเทศญี่ปุ่น ใน ค.ศ.1964 เป็นปีที่ ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกค่ะ ด้วยความที่ผู้คนที่แห่มาชมการแข่งขันมีจำนวนมาก การก่อสร้างโรงแรมจึงต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ทันช่วงการแข่งขัน เลยผลิดเจ้าห้องน้ำสำเร็จรูปออกมาเพื่อแก้ปัญหา ทั้งแรงงานและเวลาอันสั้นจากนั้นตามมาด้วย อพาร์ตเมนท์ บ้าน และคอนโดมิเนียม  ต่อมา เจ้าห้องน้ำสำเร็จรูปก็ได้รับความนิยมมากขึ้นๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป จนตอนนี้เพื่อนๆเอง คงสังเกตเห็นแล้วนะคะว่าในประเทศไทยเองก็เริ่มมีผู้ประกอบการนำเอาห้องน้ำสำเร็จรูปมาใช้กันแล้ว  มาดูเหตุผลกันค่ะทำไมผู้ประกอบการถึงเลือกห้องน้ำสำเร็จรูปมาใช้ในการก่อสร้าง ?

 

ด้วยเหตุผลข้างต้นต่างๆ เหล่านี้เอง ผู้ประกอบการหลายๆเจ้าจึงเปลี่ยนจากการก่อสร้างแบบธรรมดา มาเป็นห้องน้ำสำเร็จรูป  แถมยังมีแนวโน้มในการใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ ดังนั้น เหล่าบรรดาผู้ซื้อบ้านยุคใหม่อย่างเราๆ จึงควรที่จะเรียนรู้เรื่องของเจ้าห้องน้ำสำเร็จรูปไว้นะคะ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ถ้าหากเราจะต้องซื้อบ้านซักหลัง หรือคอนโดซักห้อง แล้วมีการนำระบบห้องน้ำสำเร็จรูปเข้ามาใช้เนี่ย มันมีคุณสมบัติอะไร ที่เราควรรู้บ้าง แล้วจะเหมาะกับการใช้ชีวิต หรือ Lifestyle ของเราหรือเปล่า

คุณสมบัติที่น่าสนใจของห้องน้ำสำเร็จรูปคือ มีประสิทธิภาพในการกันน้ำรั่วซึม เนื่องจากตัวมันเองมีรอยต่อระหว่างส่วนต่างๆน้อย เช่น รอยยาแนวของหระเบื้องต่างๆ รอยต่อระหว่างผนัง เป็นต้น  ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดการรั่วซึมได้ สิ่งที่ตามมาด้วยติดๆคือ การทำความสะอาดตามร่องยาแนวค่ะ ไม่ต้องมานั่งปวดหลังขัด ในส่วนความลาดเอียงของพื้นห้องน้ำสู่ท่อระบายน้ำ….กรรมวิธีการผลิต ที่มีควบคุมมาจากโรงงาน ปัญหาการลาดเอียงหรือการเกิดน้ำขังจึงเกิดได้น้อยกว่ามากๆเมื่อเทียบกับช่างที่ปูหน้างาน  แต่ถ้าเจ้าตัวนี้เกิดปัญหาขึ้นมาละก็จะต้องตามช่างที่มีความชำนาญเรื่องนี้เท่านั้นนะคะ

ส่วนใหญ่ผนังของห้องน้ำสำเร็จรูปจะใช้วัสดุ แผ่นเรียบ น้ำหนักเบา มีรอยต่อน้อย ในส่วนเปียกจะหล่อพื้นกับผนังต่อกันทำให้มีจุดรั่วซึมน้อยมาก และวัสดุที่ใช้จะง่ายต่อการทำความสะอาด ใช้ฟองน้ำถูก็เพียงพอแล้ว เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบห้องน้ำสำเร็จรูปนะคะ ใครที่ ชอบพื้นสัมผัสของกระเบื้องลวดลายต่างๆ  ห้องน้ำที่มีพื้นที่จัดเต็ม เช่น อ่างล้างมือแบบ his&her พร้อมอ่างอาบน้ำ อาจจะไม่ค่อยถูกใจเจ้าห้องน้ำสำเร็จรูปนี้เท่าไหร่นัก เพราะเนื่องด้วย “ขนาด” ของห้องน้ำที่ไม่มีหลากหลายให้เลือก ออกแบบมากะทัดรัด เพื่อประหยัดเนื้อที่ใช้สอยส่วนอื่นๆ อยากจะขยับขยายต่อเติมเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

ในส่วนของการซ่อมแซมห้องน้ำ ห้องน้ำสำเร็จรูปก็ดูจะสะดวกและง่ายดายกว่าห้องน้ำแบบเดิมอยู่พอตัว เพราะการซ่อมแซม เราสามารถทำได้โดยไม่รบกวนห้องด้านล่างเหมือนการเดินท่อแบบเดิมๆ ที่จะใช้วิธีการเจาะท่อลงไปใต้ฝ้าของห้องด้านล่าง แต่เราสามารถซ่อมอยู่ภายในห้องของเราเองได้เลย โดยจะมีข้อแม้ว่า ช่างที่ใช้ ต้องเป็นช่างเฉพาะของทางบริษัทผู้ผลิตห้องน้ำสำเร็จรูปเท่านั้นนะคะ  (ซึ่งโดยปกติ ถ้าหากเราซื้อบ้านหรือคอนโดที่เป็นโครงการ เจ้าของโครงการจะมีการร่วมมือกันกับบริษัทผู้ผลิตห้องน้ำสำเร็จรูปอยู่แล้วค่ะ)

คงพอจะเห็นความแตกต่างกันคร่าวๆแล้วใช่มั้ยคะ งั้นเรามาดูกันต่อว่า ตัวห้องน้ำสำเร็จรูปเนี่ยมันแตกต่างจากห้องน้ำแบบเดิมที่เราเคยเห็นกันตรงไหนบ้าง

tabletable1

table2

เริ่มจะน่าสนใจแล้วใช่มั้ยคะ ครั้งต่อไปเราจะมาดูกันต่อ ว่าเอ…ส่วนต่างๆ ของห้องน้ำนี่ทำมาจากอะไร ทำไมถึงได้มีคุณสมบัติที่ต่างจากห้องน้ำปกติ แล้วถ้าห้องน้ำประเภทนี้เสียขึ้นมา เราจะทำยังไงดี อย่าลืมติดตามกันในตอนที่ 2 นะคะ

เรียบเรียงบทความโดย : นางสาวพรรณิดา ชยสิทธิ และ นางสาวพรรณนภา ประคองกลาง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง