%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%a9%e0%b8%90-3

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมามีหลายๆ อย่างที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มหาทางออกหรือว่าปรับรูปแบบของการดำเนินกิจการไปจนถึงการปรับสัดส่วนของรูปแบบโครงการที่พัฒนาเพราะปัจจัยลบต่างๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจอีกทั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจหรือว่าช่วงอายุของผู้ซื้อที่มีแนวโน้มลดลง

นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เรนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการเริ่มการเปลี่ยนแปลงให้เห็นบ้างแล้วในบางเรื่องในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา และหลายอย่างเริ่มเห็นแบบชัดเจนในปีที่แล้ว หรือเริ่มมีผู้ประกอบการบางรายประกาศแนวทางมาบ้างแล้วในปีนี้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในส่วนของผู้ซื้อที่มีต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสังหาริมทรัพย์รวมไปถึงปัจจัยที่เกิดจากนโยบายการระวังของหน่วยงานต่างๆ แต่มีผลโดยตรงต่อการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประเด็นหรือปัจจัยที่น่าสนใจและจับตามองมีดังต่อไปนี้

  • ความเชื่อมั่นคนไทยเป็นปัจจัยสำคัญ

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและปัจจัยลบหลายอย่างมีผลต่อความเชื่อมั่นของคนไทยทำให้ใช้จ่ายลดลงและมีผลต่อเนื่องไปถึงเศรษฐกิจโดยรวม

  • การออกแบบน่าสนใจมากขึ้น

โครงการที่อยู่อาศัยพาณิชยกรรมและโครงการประเภทอื่นๆมีการออกแบบที่ทันสมัยรูปแบบแปลกตาใช้บริการของนักออกแบบระดับโลกมากขึ้นทั้งนี้เพื่อต้องการสร้างความแตกต่างและน่าสนใจในตลาด

เนื่องด้วยรูปแบบอาคารและการบริการที่อาจจะไม่ได้แตกต่างกันมากนักหลายๆโครงการทั้งที่อยู่อาศัยค้าปลีกโรงแรมหรือการบริการรูปแบบต่างๆพยายามสร้างความน่าสนใจด้วยความแตกต่างและประทับใจให้กับลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีน่าประทับใจ

  • ช่วงเวลาของผู้ประกอบการรายใหญ่

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาน่าจะเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ครองความเป็นเจ้าตลาดในตลาดอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทและยิ่งชัดเจนมากขึ้นไปอีกเมื่อมีการควบรวมกิจการ ร่วมมือกันและกันของรายใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้บริษัทใหญ่ยังมีช่องทางในการระดมทุนมากกว่ารวมไปถึงมีเครดิตสูกว่าในการขอสินเชื่อ

ผู้ประกอบการหลายรายพยายามเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้มากขึ้นโดยการร่วมมือหรือว่าตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาระบบที่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าตั้งแต่ก่อนที่จะซื้อไปจนถึงบริการหลังการขาย

  • ตลาดที่อยู่อาศัย Luxury

โครงการที่อยู่อาศัยในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมามีโครงการราคาแพงเปิดขายมากขึ้นแม้จะยังไม่มากเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวมแต่ก็สร้างความฮือฮาได้ต่อเนื่องเพราะมีโครงการระดับนี้เปิดขายต่อเนื่องโดยเฉพาะในทำเลเมืองชั้นใน และราคาขายก็มากขึ้นเรื่อยๆ

อาคารสำนักงานมีพื้นที่ว่างเหลือน้อยลงทุกปีโดยเฉพาะอาคารสำนักงานเกรด A ใน CBD และพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า / ใต้ดิน อาคารสำนักงานที่สร้างเสร็จในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและที่จะเสร็จในอนาคตเกือบทั้งหมดเป็นอาคารเกรด A

  • ศูนย์การค้าขนาดใหญ่เท่านั้น

แม้ว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะมีคอมมูนิตี้มอลล์เปิดใหม่มากมายแต่ศูนย์การค้าใหม่เปิดให้บริการเช่นกันแม้จะไม่มากแต่ว่าแต่ละโครงการก็มีพื้นที่มากกว่า 30,000 ตารางเมตรทั้งนั้นบางโครงการมีพื้นที่เป็นแสนตารางเมตรทำให้พื้นที่รวมของศูนย์การค้ายังมากเป็นอันดับที่หนึ่ง

  • ธนาคารเป็นตัวแปรสำคัญ

ความเข้มงวดของธนาคารในการตรวจสอบการขอสินเชื่อนั้นทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบค่อนข้างมากมียอดการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 40,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลางและหน้าใหม่ก็มีปัญหาเช่นกัน

  • การลงทุนภาครัฐ

เมื่อภาคเอกชนชะลอการลงทุนในส่วนของตนเองลงเพื่อรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของคนไทยออกไปในช่วงนี้ อีกทั้งรอดูว่ารัฐบาลจะลงทุนโครงการต่างๆ มากขึ้นแค่ไหน ถ้ารัฐบาลเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ก็จะช่วยให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้นและความเชื่อมั่นรวมไปถงกำลังซื้อของคนไทยจะกลับมาผลักดันเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น

ประเด็นต่างๆ ทั้ง 10 ประเด็นที่กล่าวถึงนั้นบางประเด็นเกิดขึ้นมาแล้วหลายปีแต่ก็ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องต่อไปในอนาคตหรือบางอย่างเพิ่งเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและชัดเจนในปีนี้เท่านั้น แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นได้ชัดมากขึ้นในอนาคตเพราะปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวแปรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ เรื่องของ Property Tech ในขณะที่หลายประเด็นอาจจะมีผลหรือต้องจับตามองในปีนี้เท่านั้น เช่น ความเข้มงวดของธนาคาร ความเชื่อมั่นของคนไทย และการลงทุนภาครัฐที่จำเป็นต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น