ผังเมือง รีวิว คอนโด รถไฟฟ้า บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ร่างผังเมือง กดเพื่อขยายใหญ่

สำหรับผู้อ่านที่ไม่เคยทราบเรื่องผังเมืองมาก่อนเลย โดยปกติแล้วเนี่ยผังเมืองหนึ่งๆจะมีอายุ 5 ปีครับ สามารถต่อขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ซึ่งปัจจุบัน 2554 เป็นปีที่ผังเมืองฉบับเดิมหมดอายุไปแล้ว และอยู่ระหว่างการต่ออายุครั้งแรก ดังนั้น กทม. ก็ต้องมีการร่างผังเมืองฉบับใหม่ขึ้นมา ให้กับประชาชนเสนอข้อคิดเห็นและทำการอนุมัติใช้งานในระดับต่อไป ผังที่เห็นนี้ก็คือผังเมือง กทม. แบ่งเป็นสีต่างๆกันตามความสามารถในการใช้งานที่ดินแต่ละผืนครับ

นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า แม้ปัจจุบันร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) จะอยู่ระหว่างดำเนินการเปิดรับฟังความเห็นของประชาชน แต่จากการประเมินในตามร่างผังเมืองรวม กทม.เบื้องต้นจะพบว่าคอนโดมิเนียม จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการกำหนดการสร้างอาคารขนาดใหญ่หรือที่อยู่อาศัยรวมขนาดเกิน 1 หมื่นตร.ม.ได้นั้นจะต้องอยู่ริมถนนที่มีความกว้างเกิน 12 เมตรหรือกว้างเกินกว่า 16 เมตร การกำหนดดังกล่าวเท่ากับเป็นการคุมกำเนิดการสร้างอาคารสูงในเมืองที่อยู่ในซอย โดยเฉพาะในย่านสุขุมวิท พหลโยธิน ที่ไม่มีถนนที่มีความกว้างตามร่างผังเมืองรวมกำหนดเลยหรือมีก็น้อยมาก

อย่างไรก็ตามแม้ กทม.จะชี้แจงว่ามีการตัดถนนใหม่ที่มีความกว้าง 12 เมตรหรือ 16 เมตรขึ้นไปเพิ่มอีก 126 เส้นทางจากเดิมมี 25 เส้นทาง แต่เส้นทางใหม่จะเป็นการตัดสู่บริเวณนอกเมือง ซึ่งก็จะไปเจอกับข้อกำหนดผังเมืองที่เป็นผังสีเขียว ที่กำหนดให้สร้างได้เฉพาะบ้านจัดสรร ส่วนอาคารสูงนั้นสร้างไม่ได้

ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ไม่สามารถจะสร้างคอนโดได้ขณะที่ราคาที่ดินที่ซื้อขายกันก็พุ่งขึ้นสูง เมื่อที่ดินใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ก็ไม่คุ้มที่จะลงทุน ผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางก็ไม่สามารถอยู่อาศัยในเมืองได้

ขณะที่ ม.ร.ว.เปรมศิริ เกษมสันต์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวว่า การเพิ่มข้อกำหนดความกว้างของถนนในร่างผังเมืองใหม่ เพื่อต้องการไม่ให้ถนนซอยที่แคบๆ มีจำนวนอาคารพักอาศัยที่มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความแออัด และมีปัญหาการจราจรภายในถนนหรือซอยขนาดเล็ก

ทั้งนี้ในร่างผังเมืองรวม กทม. จะกำหนดให้สร้างอาคารที่พักอาศัยรวมได้บนถนน หรือซอยที่มีขนาดความกว้าง 12 เมตร 16 เมตร และ 30 เมตรจากปัจจุบันที่กำหนดให้สร้างได้บนถนนหรือซอยที่มีขนาดกว้าง 10 เมตร 16 เมตร และ 30 เมตร แต่ถ้าจะสร้างบนถนนกว้าง 10 เมตรจะต้องมีระยะถอยร่นเพิ่มอีก 1 เมตรสำหรับการขยายถนนในอนาคต

ข้อมูลเพิ่มเติม สำนักผังเมือง กทม.